นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการเร่งลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยมีโครงการสำคัญที่มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นไปตามแผนสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย งานก่อสร้างปรับปรุงขยายของการประปาส่วนภูมิภาค แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 12 ปี 2560 - 2564 ของการไฟฟ้านครหลวง แผนงานบำรุงรักษาและพัฒนาคุณภาพโครงข่ายเพื่อความมั่นคงของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และแผนงานปรับปรุงท่อเพื่อลดน้ำสูญเสียของการประปานครหลวง เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังมีโครงการสำคัญของรัฐวิสาหกิจที่มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนไม่เป็นไปตามแผนและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
ช่วงนครปฐม – ชุมพร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แผนระยะยาวธุรกิจก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ถึงแม้ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม
ของรัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่ง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 จะได้เพียงร้อยละ 85 ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม
แต่จากแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่ง ในไตรมาส 3 ของปี 2562 คาดว่า รัฐวิสาหกิจจะสามารถ
เบิกจ่ายงบลงทุนได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ซึ่งจะเป็นหนึ่งปัจจัยหนุนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในช่วงของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่