อาซาฮีมอบ 6 ทุนวิจัยให้ 6 งานวิจัยเด่น มจธ.

จันทร์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๑๘
นักวิจัยไทย 4 สาขาปลื้มได้รับทุนมูลนิธิกระจกอาซาฮี จากประเทศญี่ปุ่น มจธ.เผยทุกงานวิจัยแสดงกึ๋นนักวิจัยไทยที่สร้างคุณประโยชน์ให้ชาติและส่งเสริมความสัมพันธ์ให้สองสถาบัน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิกระจกอาซาฮี (The Asahi Glass Foundation -AF) ประเทศญี่ปุ่นติดต่อกันมาแล้วปีนี้เป็นปีที่ 8 ซึ่งถือเป็นทุนวิจัยที่ให้ความสำคัญกับวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยในปี 2562 มีนักวิจัย มจธ. ได้รับทุน จำนวน 6 คน รวมทุนที่ได้รับจำนวน 5 ล้านเยน หรือประมาณ 1,445,000 บาท

สาขาวัสดุศาสตร์ จำนวน 2 ท่าน คือ ดร.สุรเชษฐ์ กาฬสินธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ wearable electronic sensor ผู้ใช้สวมใส่อุปกรณ์บนผิวหนังเพื่อตรวจวัดฮอร์โมน ความดัน การเต้นของหัวใจหรือโรคต่างๆ ผ่านเหงื่อหรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนผิวหนัง และ ผศ.ดร.สมพิศ วันวงษ์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ได้รับทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนาวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์จากผ้าใยธรรมชาติของไทยเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานชนิดไตรโบอิเล็กทริกส์นาโนเจเนอเรเตอร์ เพื่อศึกษาเทคนิคทางเคมีเพื่อปรับปรุงพื้นผิวของผ้าใยสับปะรด ผ้าใยกัญชง และผ้าไหมของไทย ให้มีสมบัติเป็นขั้วบวก ขั้วลบ และมีสมบัติการนำไฟฟ้าที่ต่างกัน พร้อมทั้งศึกษาเทคนิคการประกอบผ้าใยธรรมชาติเป็นวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์ชนิดไตรโบอิเล็กทริกส์นาโนเจเนอเรเตอร์ (textile-based triboelectric nanogenerator) ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อได้รับแรงกระทบจากสิ่งแวดล้อม เช่น การกด การสัมผัส และการเคลื่อนไหวร่างกาย องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัยด้านวัสดุสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวมใส่ (wearable textile) เพื่อตรวจจับสัญญาณด้านการแพทย์ (biomedical sensor) การทหารและการออกกำลังกาย (fitness tracker)

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผู้ได้รับทุน คือ ผศ.ดร.ธีรพันธ์ เหล่าเมตตาจิตต์ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี งานวิจัยเรื่อง กลไกการตอบสนองภายในเซลล์ตับต่อการได้รับอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ (nano-TiO2) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ร่วมมือกับ ดร.มนฤดี เลี้ยงรักษา นักวิจัยจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยอนุภาค nano-TiO2 พบได้ในผลิตภัณฑ์เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ยาสีฟัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถสะสมอยู่ภายในเซลล์ตับ งานวิจัยนี้จะทำการสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษากลไกการทำงานของเซลล์ที่ตอบสนองต่อการได้รับอนุภาคดังกล่าว เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์

สาขาสารสนเทศและระบบอัตโนมัติ คือ ดร.ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการพัฒนางานวิจัยเรื่อง ระบบส่งเสริมการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นการสร้างแพลตฟอร์มช่วยดูแลและส่งเสริมการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ทั้งบนเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ สามารถตรวจสอบการพัฒนาของกล้ามเนื้อแขนระหว่างการกายภาพบำบัด โดยแพลตฟอร์มนี้จะสอนท่าการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง และบันทึกผลของการกายภาพผ่านเซนเซอร์ที่วัดการทำงานของกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับทราบถึงผลการกายภาพบำบัดในแต่ละครั้งและทราบถึงแนวโน้มของพัฒนาการของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วย รวมถึงสามารถแจ้งผลไปยังแพทย์และญาติของผู้ป่วยได้ทำให้สามารถติดตามผลของการกายภาพบำบัดได้ตลอดเวลา

สาขาสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ท่าน คือคุณธนานันท์ โชติประเสริฐคุณ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ได้ทุนในการพัฒนางานวิจัยเรื่อง สถานภาพและการแพร่กระจายของนกยูงในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาสถานภาพ การกระจายและประชากรของนกยูงในพื้นที่จ.พะเยา การศึกษานี้จะช่วยให้ทราบจำนวนที่แน่นอนของนกยูง เพื่อนำไปสู่การจัดการดูแลสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเกษตรกรในพื้นที่กับประชากรนกยูง และคุณอูเดย์ พิมเพิล บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบติดตามป่าชายเลนอัตโนมัติโดยใช้คุณลักษณะการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อม จะแสดงข้อมูลการการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลนที่แม่นยำด้วยเทคโนโลยีติดตามป่าชายเลน โดยมีต้นทุนที่ถูกลง ถือเป็นระบบตรวจสอบแรกๆ ที่จะแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยสิ่งแวดล้อมและป่าชายเลน และเป็นขั้นแรกในการพัฒนาต้นแบบสำหรับเครือข่ายสังเกตการณ์ป่าชายเลนทั่วประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ