โดยการลงพื้นที่ภาคใต้ครั้งนี้ เอไอเอสและมอ.ได้นำ 5G Use Case และ IoT Device มาทดลอง ทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง บนคลื่นความถี่ 28 GHz เพื่อทดสอบศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ใน 3 คุณสมบัติหลัก คือ ความเร็วที่เหนือระดับไปอีกขั้น, เครือข่ายที่ตอบสนองรวดเร็วและเสถียร (Latency) รวมถึงศักยภาพในการขยายการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ หรือ IoT ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างโมเดลเมืองอัจฉริยะ รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและมีความปลอดภัย โดยมี Use Case เริ่มต้น ประกอบด้วย
นวัตกรรม Mobile Surveillance: นวัตกรรมเพื่อการตรวจตราและรักษาความปลอดภัยจาก Video Analytics และ AI ได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการนำข้อมูลวิดีโอจากกล้องวงจรปิดบนยานพาหนะส่งต่อผ่านเครือข่าย 5G ที่จะสามารถวิเคราะห์ภาพจำแนกวัตถุรอบคันรถ, วิเคราะห์ความพร้อมของผู้ขับขี่ และการแจ้งเตือนความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรม Object Detection: นวัตกรรมจับวัตถุที่เคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างแม่นยำ ผ่าน 5G อาทิ ตรวจจับรถยนต์หรือบุคคลต้องสงสัย โดยข้อมูลจะแสดงผลเรียลไทม์ที่ War Room ของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ตำรวจแจ้งลักษณะบุคคลและรถต้องสงสัยเข้ามา ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยก็จะสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของรถหรือคนร้ายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น
นวัตกรรม EV Autonomous: นวัตกรรมการสื่อสารระหว่างรถ EV ต่อรถ EV ผ่านเครือข่าย 5G ครั้งแรกของไทย (Vehicle to Vehicle communication system) ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง มีความหน่วงต่ำ และระบบมีความเสถียรมาก ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารข้อมูลการขับขี่ ข้อมูลความปลอดภัย และข้อมูลการจราจรไปมาระหว่างกันเองได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้คนขับ ซึ่งจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงป้องกันการจราจรติดขัดในเส้นทาง
จากการทดลอง ทดสอบครั้งนี้ จะทำให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหรรม และผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem เห็นภาพของประโยชน์ของ 5G ในหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาได้มีโอกาสพัฒนา Innovation Idea อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึง ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน