สกสว. ร่วมกับ สอวช. ระดม 200 ผู้ทรงคุณวุฒิภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ผ่าแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนด 7 ประเด็นสำคัญขับเคลื่อนประเทศ

พฤหัส ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๑๔
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทบทวนร่างแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ปี 2563 – 2565 ณ ห้อง Grand Ballroom ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค ดินแดง กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิ 17 สาขาจากภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กว่า 200 ท่าน มาร่วมหารือ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา สกว. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ใหม่ภายใต้ชื่อ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม ขับเคลื่อน ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ของประเทศ โดยมีหน้าที่ดำเนินการที่สำคัญคือ การจัดทำแผนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ตลอดจนทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. โดยมีกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกองทุนที่ทำให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้ในลักษณะ Block Grant และ Multiyear จัดสรรงบประมาณให้กับแผนงานริเริ่มสำคัญขนาดใหญ่ ด้านการวิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนานวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนากำลังคน และพัฒนาระบบ ววน. ในภาพประเทศ โดยทำงานร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. ทั้งนี้ การทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทด้านการวิจัยและนวัตกรรม แผน 12 และแผนปฏิรูปต่างๆ ในการทำแผนที่สมบูรณ์นั้น จะต้องศึกษาข้อมูล ทำ Foresight และสร้างการมีส่วนร่วมกับหลายภาคส่วนถึงระดับพื้นที่ ในการประชุมวันนี้ทั้ง 2 หน่วยงาน จึงเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ประมาณ 200 ท่านมาช่วยกันพิจารณา จัดลำดับความสำคัญเหตุการณ์เพื่อกำหนดประเด็น เป้าหมาย และแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ของสาขาต่าง ๆ 17 สาขา ครอบคลุมใน 7 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1.คนไทยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.การสร้างความเข้มแข็งเชิงพื้นที่และความมั่นคง 3.สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 4.สังคมเท่าเทียมและคุณภาพชีวิต 5.นวัตกรรมอุตสาหกรรม 6.โครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม และ 7.ระบบนิเวศการพัฒนาประเทศ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปใช้จัดทำร่างแผนด้าน ววน. เพื่อให้หน่วยงานในระบบ ววน. จัดเตรียมแผนปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกัน มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันของแผน อววน. คือ การพัฒนาคนและสถาบันความรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวในตอนหนึ่งของการบรรยายเรื่อง "แผน ววน. สู่การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต" ว่า การตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นการปฏิรูปที่สำคัญทั้งด้านการปฏิรูปนโยบาย ปฏิรูปงบประมาณ และปฏิรูประบบระเบียบด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยใน พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการตั้งกระทรวง อว. มีการปฏิรูปเชิงกลไกที่สำคัญที่เป็นแนวทางใหม่ๆ ทั้งด้านการอุดมศึกษา และ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ที่สามารถหยิบยกมาใช้เป็นแนวทางใหม่ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดมาตรการ เพื่อให้เกิดการนำความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างหรือการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ การจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย การศึกษาตลอดชีวิตทั้งสำหรับคนวัยเรียนและวัยทำงาน การให้สถาบันการอุดมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ใกล้คียงที่ตั้งของมหาวิทยาลัย หรือพื้นที่อื่น ตลอดจนการปรับระบบงบประมาณการอุดมศึกษาให้มีความคล่องตัว ส่วนด้าน ววน. ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่ให้หน่วยงานของรัฐบาลสามารถสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ภาคเอกชนได้ เปิดโอกาสให้ผู้สร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรมเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงสภานโยบายอาจเสนอให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ ตราพระราชกฤษฎีกา เพื่อยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติ กฎหมายจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐมาบังคับใช้กับการจัดซื้อจัดจ้าง ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริม ววน. เป็นต้น ซึ่งกลไกต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำมาประกอบกับการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ประเทศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายเปิดให้มีความคล่องตัวในการทำงานในฐานะหน่วยงานดำเนินงานก็ต้องใช้โอกาสที่ได้รับอย่างมีความรับผิดชอบด้วย

"การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. ถือเป็นแผนระดับ 3 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท ที่เป็นแผนระดับ 1 และประเด็นเร่งด่วนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สภานโยบายฯ พ.ร.บ.การอุดมศึกษา และ พ.ร.บ.ส่งเสริม ววน. ที่ถือเป็นแผนระดับ 2 โดยในการดำเนินการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้าน อววน. ระยะแรก สอวช. ได้ทำงานร่วมกับ สกสว. ในการกำหนด 7 ประเด็นสำคัญ ที่ตอบโจทย์ 4 แพลตฟอร์ม ด้าน อววน. เพื่อการพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล คือ 1. Grand Challenge แก้โจทย์สำคัญของสังคม 2. Competitiveness ขีดความสามารถทางการแข่งขัน 3. Area-Based การพัฒนาเชิงพื้นที่ และ 4. การสร้างคนและสร้างความเข้มแข็งสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้มีการแยกกลุ่มระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ร่างแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2563 - 2565 เป็นแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน สามารถชี้ทิศทางการพัฒนา ววน.ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ ววน. เป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลมั่นคง และเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิมีส่วนร่วมในการร่างแผน และมีความเข้าใจเป้าหมาย และแนวทางของแผนด้าน ววน. ฉบับใหม่ ตลอดจนสามารถช่วยกลั่นกรองข้อเสนอของแผนปฏิบัติการ ววน. ของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดร.กิติพงค์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ