โอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย เข้าซื้อหุ้นส่วนน้อยที่สำคัญ ของธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

พุธ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๔๘
ผู้ร่วมทุนสนับสนุนการขยายธุรกิจของธนาคารในด้านสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ และด้านดิจิทัล

โอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย ("โอลิมปัส แคปปิตอล" หรือ "โอซีเอ") แถลงในวันนี้ว่า ทางบริษัทได้เข้าทำการซื้อหุ้น 25 เปอร์เซนต์ ของธนาคาร ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) ("ไทยเครดิต" หรือ "ธนาคาร") ซึ่งเป็นธนาคารที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้นำตลาดในด้านการปล่อยสินเชื่อไมโคร ไฟแนนซ์ของประเทศ จากการร่วมทุนครั้งนี้ จะทำให้บริษัทกลายเป็นผู้ลงทุนภายนอกที่ใหญ่ที่สุด และผู้ถือหุ้นปัจจุบันยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด ตัวแทนจากโอลิมปัส แคปปิตอล จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการธนาคาร

ธนาคารได้รับการอนุญาตจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในปี พ.ศ. 2549 ธนาคารมุ่งเน้นการขยายธุรกิจประเภทสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์และสินเชื่อเพื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ด้วยการให้โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด ผู้ประกอบการขนาดเล็ก เจ้าของร้านอาหารรายย่อย รวมถึงอาชีพอิสระที่มีข้อจำกัดและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ธนาคารเป็นผู้นำตลาดสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ในประเทศไทย และเป็นธนาคารที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในประเทศ โดยมีสินเชื่อคงค้างรวมกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารไทยเครดิตฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบการวิเคราะห์สินเชื่อและระบบการติดตามทวงหนี้ และจะมีการเปิดให้บริการกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกส์ (e-wallet) ในครี่งปีหลังของปี พ.ศ. 2562 รวมถึงการเพิ่มบริการทางการเงินในระบบดิจิทัลใหม่ๆ โอซีเอ ได้ทำการเข้าซื้อหุ้นของธนาคารไทยเครดิตฯ จาก โพลาลิส แคปปิตอล ซึ่งบริหารงานโดยกลุ่มบริษัทนอร์ทสตาร์

โอลิมปัส แคปปิตอล เป็นบริษัทลงทุนอิสระระดับภูมิภาคที่ลงทุนในหุ้นบริษัทเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีการลงทุนทั่วทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทยเป็นเวลานานกว่า 20 ปี จากผลงานของโอลิมปัส แคปปิตอล การลงทุนกับภาคบริการทางการเงินครอบคลุมถึงการปล่อยสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์และสินเชื่อเอสเอ็มอี โดยมีสัดส่วนรวมถึง 1 ใน 3 ของเงินลงทุน ทำให้โอซีเอได้พัฒนาธุรกิจที่มีความแตกต่างในอุตสาหรรม มีทีมนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ เครือข่ายที่ปรึกษาอาวุโสที่แข็งแกร่งซึ่งต่างก็เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและมีสัมพันธภาพทั่วทุกภูมิภาค

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไทยเครดิตฯ กล่าวว่า "ธนาคารมีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าไมโครไฟแนนซ์และไมโครเอสเอ็มอีซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก มีความยินดีในการร่วมทุนกับโอลิมปัส แคปปิตอล ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญและผลงานที่สั่งสมมาบวกกับความเชี่ยวชาญของคณะผู้บริหารธนาคาร ผมเชื่อมั่นว่าธนาคารไทยเครดิตฯ จะสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพื่อให้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึงแก่กลุ่มลูกค้าของเรา"

นายโกลาฟ มาลิค กรรมการบริษัทโอลิมปัส แคปปิตอล และผู้บริหารสูงสุดร่วมของกลุ่มบริการทางการเงิน กล่าวว่า "ธนาคารไทยเครดิตฯ ประสบความสำเร็จในการเอาชนะความท้าทายในการให้บริการทางการเงินให้แก่กลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบของประเทศไทยได้ ด้วยการดำเนินธุรกิจที่แตกต่าง โอลิมปัส แคปปิตอล มุ่งเน้นการลงทุนในภาคบริการทางการเงิน ดำเนินธุรกิจด้วยความเชี่ยวชาญและมีผลงานที่โดดเด่นในการสร้างมูลค่าให้แก่บริษัทที่โอลิมปัส แคปปิตอลได้เข้าร่วมทุน ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับเครดิต แอ็กเซส เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทไมโครไฟแนนซ์ที่โอลิมปัส แคปปิตอลได้เข้าร่วมทุน ในการนำเครดิตแอ๊กเซส กราเมีย เข้าตลาดหลักทรัพย์อินเดีย บริษัทมุ่งมั่นที่จะร่วมงานกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และคณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารในการสร้างรากฐานที่มั่นคงและการเติบโตอย่างรวดเร็วแก่ธนาคาร

นายแดเนียล มินซ์ กรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโอลิมปัส แคปปิตอล กล่าวว่า "เราชื่นชมการทำงานของคณะผู้บริหารและการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และมีความเชื่อมั่นว่าธนาคารมีโอกาสทางธุรกิจที่โดดเด่นในการรักษาความเป็นผู้นำตลาด ด้วยการขยายการให้บริการทางการเงินที่ครบวงจร การเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบดิจิทัล การนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเพื่อเพิ่มความพึงพอใจ รวมถึงการลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน เราเชื่อมั่นในกลยุทธ์ของธนาคารที่มีเครือข่ายสาขาสินเชื่อโดยเฉพาะ และการมีข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดร่วมกับบริษัทผู้ริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ"

นายรอย ออกุสตินัส กุนารา กรรมการผู้จัดการธนาคารไทยเครดิตฯ กล่าวว่า "ที่ผ่านมา ธนาคารดำเนินธุรกิจที่แตกต่างได้อย่างโดดเด่น และคาดหวังที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยเงินทุนของโอลิมปัส แคปปิตอล จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์และบริการทางการเงินทั่วไปของโอลิมปัส แคปปิตอล ธนาคารเล็งเห็นโอกาสในความร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหม่ในการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจโดยเฉพาะนวัตกรรมด้านดิจิทัล คณะผู้บริหารระดับสูงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมทุนของโอลิมปัสเพื่อเสริมสร้างความเติบโตในก้าวถัดไปของธนาคาร

ข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยเครดิตฯ มุ่งมั่นภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจในการเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่ให้การสนับสนุนกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศไทย ธนาคารให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อย อาทิ พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด ผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าของร้านอาหารรายย่อย และอาชีพอิสระที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการระดับฐานรากอันเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ไทยเครดิตมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้รับรางวัล Fastest Growing Retail Bank Thailand 2 ปีซ้อนในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 จากนิตยสาร Global Banking and Finance Review ซึ่งเป็นนิตยสารด้านการเงินชั้นนำของประเทศอังกฤษ ปัจจุบันธนาคารมุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการของกล่มลูกค้าและฟินเทคจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการใช้บริการทางการเงินทุกที่ทุกเวลา

ข้อมูลเกี่ยวกับโอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย

โอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย เป็นบริษัทลงทุนอิสระที่ลงทุนในหุ้นบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์การลงทุนในบริษัทเอกชนในภูมิภาคเอเชียมานานกว่า 20 ปี หลังจากการก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2540 โอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย ได้มีการลงทุนกว่า 2.5 พันล้านเหรียญในภาคเอกชนและทุนตราสารหนี้ภาคเอกชนแทนผู้ร่วมทุนในกว่า 65 บริษัททั่วทวีปเอเชีย รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนและเอเชียเหนือ ด้วยบริการทางการเงินซึ่งเป็นส่วนหลักของเงินลงทุน โอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย มีทีมนักลงทุนมืออาชีพและที่ปรึกษาทางการเงินอาวุโสทั้งในสิงคโปร์ ฮ่องกง นิวเดลี เซี่ยงไฮ้และกรุงโซล ผู้ลงทุนของโอลิมปัส แคปปิตอล เอเชีย ประกอบด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญชั้นนำ สถาบันการเงิน สำนักงานครอบครัวและสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐอเมริกา เอเชีย ยุโรปและตะวันออกกลาง

ข้อมูลบางส่วนใน press release เป็นการคาดการณ์ ซึ่งประกอบด้วย projection ทางการเงินและการเติบโตอันเกี่ยวเนื่องกับการวางแผน กลยุทธ์ เป้าหมายและความเชื่อมั่นในธุรกิจและตลาดที่ธุรกิจกำลังดำเนินอยู่ ข้อมูลในรายงานจัดทำตามข้อมูลที่ได้รับและไม่มีข้อกำหนดเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล อาจมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่มีผลกระทบ ความเสี่ยงนี้รวมถึงระดับความต้องการการใช้บริการของตลาด ตลาดที่มีการแข่งขันสูงในธุรกิจบริการประเภทเดียวกัน ภาวะตลาดที่ทำให้ลูกค้าจำกัดการใช้จ่าย ความสามารถในการริเริ่ม จัดหาและดำเนินธุรกิจใหม่และการขยายธุรกิจปัจจุบัน ความสามารถในการชักชวนและการรักษาลูกค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามเป้าหมาย ความผ้นผวนในอัตราแลกเปลี่ยน และภาวะตลาดในอินเดียหรือทั่วโลก และความเสี่ยงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้แต่อาจเกิดขึ้นได้ในธุรกิจประเภทนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ