กรมควบคุมโรค สาธารณสุข สานความร่วมมือกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวะมหิดล

พฤหัส ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๐๘
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เยี่ยมชมการดำเนินงานภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและประชุมหารือการประสานความร่วมมือในการเพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาระบบงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยได้นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ มาประยุกต์เชิงบูรณาการ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและช่วยตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ณ ห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรคและภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะช่วยเสริมพลังในการพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ให้เข้มแข็ง ทั้งด้านการศึกษาวิจัย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานทางวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านป้องกันควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน ทั้งตอบสนองการส่งเสริมประเทศไทยก้าวเป็น ฮับการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคอาเซียน

เทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio-Medical Engineering) เป็นวิชาชีพที่มีความต้องการในตลาดสูงทั่วโลกและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2550 มาถึงปัจจุบัน ผลิตวิศวกรชีวการแพทย์ที่มีคุณภาพและความเชี่ยวชาญป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท นานาชาติ และปริญญาเอก นานาชาติ ภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย มีคณะแพทยศาสตร์ ถึง 3 คณะ และมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ถึง 4 แห่ง

รศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก้าวหน้าด้วยการใช้พหุศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงในการวิจัย ออกแบบ พัฒนาผลิตระบบและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างประโยชน์ต่อวงการแพทย์ สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น 1. การเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ การวินิจฉัยโรค และการปรับปรุงการสร้างเครื่องมือทาง การแพทย์ 2. วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา บนพื้นฐานของการใช้โพลิเมอร์นำส่งยารักษาโรคมะเร็งได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การประมวลผลชั้นสูงในการแพทย์ เช่น การพัฒนาระบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของสรีรวิทยาของมนุษย์การแสดงผลภาพและการประมวลผลภาพทางการแพทย์ การจัดระบบประมวลผลแบบคลาวด์ทางการแพทย์ (Medical Cloud Computing) และโทรเวช เป็นต้น และ 4. วิศวกรรมฟื้นฟูและอวัยวะประดิษฐ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม