นายจิมมี่ ซู หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ฟูลเลอร์ตัน มาร์เก็ตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล กลุ่มบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงินระดับโลก เปิดเผยว่า การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ปรับเพิ่มการคาดการณ์สำหรับการเติบโตของสหรัฐในปีนี้ แม้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นขาลง แต่การปรับเพิ่มดังกล่าวถูกมองว่าขัดแย้งกับมุมมองของนักลงทุน (Trader) ในวอลล์สตรีท ซึ่งวางเดิมพันข้างภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกา มากขึ้นเรื่อยๆ และตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของนโยบายจากธนาคารกลางสหรัฐในเวลาเดียวกัน ดังนั้น แม้ว่าหุ้นสหรัฐจะสูงเป็นประวัติการณ์ แต่นักลงทุนก็ไม่แสดงความเชื่อมั่นต่อการเติบโตในประเทศของสหรัฐ ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้นปี แต่ดัชนีรัสเซล (RUSSELL) 2000 ซึ่งมุ่งเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศกลับเพิ่มขึ้นเพียง 16% ในช่วงเวลาดังกล่าว
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ารายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของบริษัทต่างๆ ในตลาดดัชนี S&P 500 นั้นส่วนใหญ่มาจากส่วนอื่นๆของโลก ในขณะที่บริษัทต่างๆ ในตลาดดัชนี Russell 2000 มุ่งเน้นไปที่ตลาดในประเทศเป็นหลัก ตัวเลขราคาดังกล่าวในตลาดหุ้นสหรัฐแสดงให้เห็นว่านักลงทุนมองสภาพเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่สู้ดีนักและขาดความเชื่อมั่นหากราคาหุ้นเป็นดัชนีชี้วัดที่น่าเชื่อถือสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคต
บริษัทขนาดย่อมต่างๆกลายเป็นธุรกิจประเภทที่มุ่งเน้นการเติบโตมากขึ้น ซึ่งราคาหุ้นของธุรกิจเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตในเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างความแม่นยำกว่า เมื่อนักลงทุนไม่มั่นใจในเส้นทางการเติบโตในอนาคต พวกเขามักจะทิ้งหุ้นเหล่านั้นก่อนที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะมาถึง ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐของเฟด นักลงทุนยังไม่เชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯจะสามารถช่วยเศรษฐกิจสหรัฐได้ในขณะนี้
ด้านบริษัทต่างๆใน Russell 200 มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน เมื่อธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 เท่าในปี 2561 ดัชนีรัสเซล 2000 ลดลง 13% ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามความคาดหวังของธนาคารกลางสหรัฐที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ดัชนีรัสเซล 2000 เพียงเพิ่มขึ้น 6% เทียบกับ ดัชนี S&P 500 ที่เพิ่มขึ้น 9% ผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนยังคงตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของนโยบายด้านการเงินแบบผ่อนปรนจากธนาคารกลางสหรัฐ
"ไม่เห็นความก้าวหน้าจากการเจรจาด้านการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่เซี่ยงไฮ้รอบนี้ และดูเหมือนว่ามุมมองในแง่ดีของ G-20 จะจางหายไปในไม่ช้า มีความเป็นไปได้ต่ำมากที่จะเกิดข้อตกลงอย่างรวดเร็วระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่ละฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งในประเด็นสำคัญ เช่น ความต้องการของวอชิงตันในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนและทางปักกิ่งมีการเรียกร้องให้สหรัฐฯยกเลิกภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าของจีนที่ยังคงมีอยู่ ความตึงเครียดทางการค้าจะเป็นตัวชักชวนให้ธนาคารกลางเข้ามาร่วมสมาคมผู้รักนโยบายบรรเทาเศรษฐกิจมากขึ้น" จิมมี่ ซู กล่าว
สำหรับจิมมี่ ซู จะมาร่วมคาดการณ์ตลาดเป็นครั้งแรกในรอบปี ทั้งสำหรับประเทศไทย อาเซียน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รับฟังแนวโน้มตลาดครึ่งปีที่เหลือของ 2562 พร้อม มาริโอ ซิงห์ ที่จะมาแนะนำวิธีการปรับตัวให้กับนักลงทุนเพื่อทำกำไรและอยู่รอดในตลาดขาลง พร้อมกับ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่จะร่วมให้ข้อมูลการพัฒนาเส้นทางการลงทุนของคุณให้พุ่งสู่ระดับสูงสุด ทั้งแนวทางการเรียนรู้วิธีเอาชนะความท้าทายในฐานะนักลงทุน การใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการลงทุนที่มีมูลค่าสูงในตลาดปัจจุบัน ในงาน Bangkok ASEAN Tour 2019 จัดขึ้นวันที่ 3 สิงหาคม 2562 เวลา 13.00. - 17.00น. ณ บางกอก แมรีออท โฮเต็ล สุขุมวิท กรุงเทพฯ