คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้

พฤหัส ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๔๑
นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการดำเนินงานโครงการสำคัญตามแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ภาค ในส่วนของโครงการพัฒนาเกษตรกร ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) ซึ่งดำเนินงานโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดภัยภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ 1.การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากทุเรียน ได้แก่ ทุเรียนสเปรด น้ำพริกกุ้งเสียบทุเรียนกรอบ และสแนคบาร์ทุเรียน เป็นต้น 2.แปลงสาธิตการนำ วทน. มาปรับใช้ในแปลงปลูกทุเรียน โอกาสนี้ ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. นักวิจัย วว. และหน่วยงานในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2562 ณ จังหวัดชุมพร

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. กล่าวว่า ภารกิจในการตรวจติดตามของคณะผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ในครั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์โครงการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินงานเพื่อยกกระดับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและใกล้เคียงเป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) ที่สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะกับยุคสมัยใช้ในการลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและใกล้เคียงเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgri Enterpreneur) ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใช้สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผลและเพื่อสนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (Inno Agri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgri village) ที่มีความสามารถในการนำ วทน. มาใช้เพิ่มผลิตภาพการผลิตทุเรียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ที่เน้นสร้างทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชน

ผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ มีดังนี้ 1.เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรไฮเทค 1,100 ราย

2. เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ๒๐๐ ราย 3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา/ยกระดับด้วย วทน. ๒๐ ชิ้น 4.ชุมชนต้นแบบการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า 3 แห่ง และ 5.ดำเนินการจัดทำสื่อองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตร

ทั้งนี้ ในการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชุมพรพบว่า เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ตั้งแต่การให้น้ำ การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูง และเกษตรกรมีข้อจำกัดในการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาดของผลิตผลในพื้นที่จังหวัดชุมพร

ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว วว.และพันธมิตรคือสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีแนวทางนำ วทน. เข้าไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น อุปกรณ์วัดความชื้นในดินอย่างง่าย เพื่อปรับระยะเวลาการให้น้ำที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้อุปกรณ์ปอกทุเรียนในการแปรรูปผลผลิต เพื่อลดระยะเวลาในการจัดการผลผลิต เป็นต้น

จากการลงดำเนินงานในพื้นที่ วว.มีข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในระดับพื้นที่ โดยการพัฒนาวิธีการในกระบวนการผลิตทุเรียนด้วย วทน. ให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่/เกษตรกรที่สนใจในการผลิตทุเรียน พรีเมี่ยม และในระดับนโยบายโดยการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำความรู้ความเข้าใจและอุปกรณ์ในการนำ วทน. เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตทุเรียน เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงต่อการผลิตทุเรียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ