5 สูตรสำเร็จฉบับผู้นำองค์กรระดับโลก ที่จะเปลี่ยน 'คุณ’ ให้เหนือกว่า!!

พฤหัส ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๕๑
คุณเชื่อหรือไม่ "ความขี้สงสัย" คือบ่อเกิดแห่งปัญญา และสามารถเรียกได้ว่าเป็นอุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโต ที่มักจะชอบตั้งคำถามว่า 'ทำไม?' (Why?) หากใครเคยดูการ์ตูนยอดนิยมในอดีตเรื่อง "อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา" ต้องรู้จัก "เจ้าหนูจำไม" เด็กน้อยตัวเล็กที่มีลักษณะนิสัยที่ชอบตั้งคำถามตลอดเวลากับคำพูดติดปากว่า "จำไมล่ะ?" หรือแม้แต่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เจ้าของฉายาไอรอนแมนในชีวิตจริงก็มีอุปนิสัยดังกล่าวเช่นเดียวกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้นนั้นสามารถทำประโยชน์มหาศาลแก่มวลมนุษยชาติ และหากมีใครถาม อีลอน มัสก์ ว่าเขามีเคล็ดลับอย่างไร ถึงสามารถสร้างสรรค์อะไรออกมาได้มากมาย เขาตอบว่ามีอยู่อย่างหนึ่งที่เขาคิดว่าแตกต่างจากคนอื่นคือ เขามี 'ห่วงโซ่ ขี้สงสัย' (Chained Why) อยู่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้เขามีแต้มต่อเมื่อเทียบกับคนทั่วไปในการสร้างสิ่งใหม่ เพราะคำว่า 'ทำไม' จะพาเราไปพบกับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนเร้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มทักษะรอบด้านของตัวเราที่คนอื่นมองข้ามไปและสุดท้ายเส้นทางนี้จะนำพาเราไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า "ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิตอล (Digital Age) อย่างเต็มภาคภูมิ ลองสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเราล้วนเปลี่ยนไปเป็นดิจิตอลทั้งสิ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือแม้ไลฟ์สไตล์ของเราก็ถูกผลกระทบนี้เช่นเดียวกันทำให้การทำธุรกิจต้องปรับทั้งกระบวนทัพทางความคิดและวิธีการในการบริหารจัดการใหม่ตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองทันต่อความต้องการที่หลากหลายและรวดเร็วของลูกค้า และเมื่อธุรกิจเปลี่ยนแนวทาง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดในการขับเคลื่อนองค์กรให้ทันเกม รวมถึงมนุษย์เงินเดือนและเหล่าฟรีแลนซ์ก็ต้องปรับตัว ติดสปีด และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่เพื่อให้ทันกับอัตราการวิ่งของโลก แต่ต้องติดจรวดความรู้ให้ก้าวนำหน้าโลกอยู่ตลอดเวลา"

ซึ่งในวันนี้ SEAC ได้ถอดรหัสสูตรสำเร็จของผู้นำแบรนด์ชั้นนำระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Amazon, Grab, Alibaba, Haier หรือ LinkedIn เป็นต้น ออกเป็น 5 หัวข้อสำคัญ ได้แก่

- New priority 1: Inspiring curiosity

ผู้นำองค์กรต้องเป็นผู้ที่ไม่หยุดสงสัย และกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิดความสงสัย ใคร่รู้ และกระหายที่จะเรียนรู้ในการหาวิธี หรือกลยุทธ์ เพื่อสร้างโอกาสและเส้นทางในการทำธุรกิจ โดยรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้กำจัดอยู่แค่การระดมความคิด (Brainstorm) แต่ผู้นำต้องกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง อาทิ การอ่านและการฟัง ด้วยการเรียนรู้หรือ หาสาระความรู้อื่นๆ นอกจากเนื้อหาของงาน อย่างบทความหรือคอร์สเรียนแบบออนไลน์ เพียงวันละ 8-12 นาทีก็ได้ ลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอเพื่อนใหม่ๆ หรือพัฒนาคอมมิวนิตี้ใหม่ๆ เพราะความเชื่อที่ว่ายิ่งเราได้มีเพื่อนใหม่เยอะๆ เราจะสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้ใหม่ๆ ได้นั้นเอง นอกจากนี้ การเรียนรู้ยังสามารถเกิดได้จากความล้มเหลวที่ผ่านมา หรือการบริหารความเสี่ยง สุดท้ายคือสร้างเป็นวงจรการสงสัยและเพิ่มการเรียนรู้ นั่นคือ ความสำเร็จของผู้นำแบบ Inspiring Curiosity

- New priority 2: Making sense of unlimited information

ผู้นำต้องรู้สึกอยากรู้และวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ตลอด เพื่อหาบทสรุปการทำงานหรือกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจร่วมกันกับทีมงาน หรือคนในองค์กร ซึ่งในทุกครั้งผู้นำองค์กรที่ดีต้องรับข้อมูล หาข้อมูลเพิ่มเติม วิเคราะห์ความสำคัญ กระตุ้นให้คนองค์กรแบ่งปันความคิด เพื่อจุดหมายเดียวกันทั้งองค์กร

- New priority 3: A New relationship with technology

ผู้นำที่ดีต้องมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับเทคโนโลยีใหม่ หมายถึง แม้ปัจจุบันเราอยู่ในช่วง Digital Age ซึ่งเป็นธรรมดาที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมามากมาย จนทำให้หลายๆ องค์กรต้องอัพเกรดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ตลอดเวลา แต่ผู้นำต้องศึกษาและเข้าใจ เพื่อส่งต่อให้คนในองค์กรได้เข้าใจว่าแต่ละเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่อคนให้องค์กรอย่างไร ดังนั้น องค์กรที่ต้องการปรับตัวจึงต้องใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ควบคู่กับเทคโนโลยีเพื่อออกแบบและสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้

- New priority 4: A new relationship with the speed of change

ทุกวันนี้ การทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมีผลวิจัยระบุว่าทุกวันนี้ถ้าเราทำงานเพื่อที่จะได้ผลสำเร็จ เราต้องใช้สปีดที่ไวขึ้นกว่าเดิม 40% เพื่อให้ไปถึงจุดเป้าหมาย ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง นำพาคนในองค์กรให้เกิดการเข้าใจ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา

- New priority 5: Working in a multi-generational workforce

สิ่งที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญอยู่ คือ การผสมของคนหลายเจนเนอเรชั่น โดยเฉพาะเจนเนอเรชั่น ซี (The C generation) ซึ่งไม่ได้ถูกแบ่งหรือจำกัดด้วยเรื่องของอายุแต่ด้วยเรื่องของพฤติกรรมที่ชื่นชอบในการค้นหาข้อมูล และเสพดิจิตอลเป็นชีวิตจิตใจ ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องเข้าใจลักษณะและพฤติกรรมของคนในองค์กรแต่ละเจนเนอเรชั่น ไม่นำตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ต้องปรับทัศนคติ มุมมองความคิด เพื่อให้รู้ว่าแต่ละเจนเนอเรชั่นกำลังคิดอะไร ต้องการอะไร และมีความสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหน

ซึ่งหากนำผลจากการศึกษานี้มาดู จะทำให้เราสามารถถอดรหัสการทำธุรกิจของผู้บริหารชื่อดังได้อย่างเช่น แจ็ค หม่า (Jack Ma) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มอาลีบาบา ผู้นำนักวิเคราะห์ข้อมูลที่ทุกครั้งจะเริ่มต้องจากการรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าในตลาด รวมทั้งเชิญชวนคนเก่งๆ มาทำงานร่วมกัน เพื่อยกระดับสังคมการทำงาน และหารูปแบบผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาดที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด จาง รุ่ย หมิน (Zhang Ruimin) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Haier Group หรือที่เป็นที่รู้จักในฐานะ "ผู้ปฏิวัติตัวตนแห่งไฮเออร์" จากผลงานที่เขาพลิกเกมธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ โดยเน้นการกระตุ้นคนในองค์กรให้เกิดความสงสัยอยากรู้ จนนำไปสู่การศึกษาข้อมูลต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเซตทีมขนาดเล็ก ที่สามารถบริหารการทำงานของตนเองได้ ทำให้เกิดความคล่องตัว เพื่อให้คิดโจทย์และแผนธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Amazon เน้นให้คนในองค์กรเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และเสนอความคิดเห็นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าตลอดเวลา และเช่นเดียวกับผู้ก่อตั้ง LinkedIn อย่าง เรด ฮอฟแมน (Reid Hoffman) ที่สนับสนุนให้คนในองค์กรมีความสุดขั้วทางความคิดที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้คนในองค์กรกระหายการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับการพัฒนาคนในองค์กรนั้น มีผลวิจัยว่าในทุกๆ 4 ปี ความรู้ของคนเราจะถดถอยลง 30% ดังนั้น เราจึงต้องเติมความรู้ หรือสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตขึ้นในระดับมายด์เซต (Mindset) ดร. สิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC กล่าวว่า "ความขี้สงสัยในตัวคุณ คือ ตัวจุดประกายการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ในตัวเรานั้น จำเป็นต้องวางรากฐานระดับมายด์เซต (Mindset) ให้พร้อม โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบอันสำคัญ คือ

- Lifelong Learning Mindset คือ การค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด บางคนเรียนรู้กับโปรแกรมออนไลน์ บางคนต้องเข้าคลาสแชร์ประสบการณ์กับเพื่อนหรืออ่านหนังสือด้วยตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องมี คือ ความกระหายองค์ความรู้ ต้องรู้จัก Reskill และ Upskill

- เราต้องรู้จัก เรียนเพื่อเป็นผู้เรียนที่ดี หรือ Learn to be Learner Mindset นอกจากความสงสัยและต้องการเพิ่มพูนความรู้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เรียนจะสามารถพัฒนามายด์เซต (Mindset) ได้คือ เราต้องรู้จัก 3 สิ่ง คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (Learn) การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา หรือกล้าลบสิ่งเดิมๆ ทิ้งไป (Unlearn) และการเรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ (Relearn)

- เรียนรู้กับความไม่ชัดเจน (Dealing with uncertainty mindset) การเรียนไม่มีรูปแบบที่แน่นอน บางครั้งการเรียนรู้เกิดจากความผิดพลาดล้มเหลว อย่ามองความล้มเหลวเป็นปัญหาให้มองเป็นบทเรียน กล่าวคือ 'ล้มเหลวได้ แต่อย่ายอมแพ้และห้ามกลัวที่จะล้มเหลว' เมื่อเราล้มเหลวจงนำสิ่งนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นสิ่งใหม่

ซึ่งถ้าทั้งผู้นำและคนในองค์กรเกิดความสงสัยและกระหายการเรียนรู้ จนสามารถสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Lifelong learning ecosystem) ได้อย่างครบวงจรแล้ว องค์กรนั้นจะเป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถก้าวข้ามและพัฒนารูปแบบธุรกิจใน ยุคดิจิตอลได้อย่างยั่งยืน

พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning Model) ด้วยราคาสุดพิเศษเพียง 12,000++/คน/ปี ได้แล้ววันนี้ที่ www.yournextu.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version