ดร.ธมล เสรีวงศ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (มูลนิธิฯ) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ปกครองเอาใจใส่ดูแลเด็กพิเศษอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา จึงรับรู้อารมณ์ความรู้สึก ปัญหาและความต้องการของบุตรหลานเป็นอย่างดี พ่อแม่ ผู้ปกครองแต่ละคนแต่ละครอบครัวจะมีประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกัน บางครอบครัวประสบความสำเร็จในการพัฒนาเด็กพิเศษ บางครอบครัวยังหาทางออกไม่ได้ จึงเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเข้าใจผิดในหลาย ๆด้าน เช่น ความจำเป็นในการพบจิตแพทย์ การใช้ยารักษา การปรับพฤติกรรม การควบคุมอารมณ์ การฝึกทักษะชีวิตในการดูแลตัวเองในสังคมที่พลิกผันต้องฝึกลูกหลาน แค่ไหน อย่างไร
มูลนิธิฯ จึงมองถึงปัญหาเหล่านี้ลำร้อมที่จะสร้างความเข้าใจ เพื่อให้ตระหนักรู้ เรียนรู้ เข้าใจปัญหา และเตรียมแนวทางแก้ไข โดยเชิญ นพ.นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ อดีตหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์แพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมบรรยายในหัวข้อ "เด็กพิเศษเป็นโรคทางจิตจริงหรือ..และยามีความจำเป็นจริงไหม" และ ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง อาจารย์นักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมบรรยายในหัวข้อ "ใช่หรือที่กิจกรรมบำบัดต้องคู่กับเด็กพิเศษ" โดยมี น.ส.สวิตตา นาคะนคร พิธีกรรายการสถานีความคิด ช่อง NBT เป็นผู้ดำเนินรายการ
"มูลนิธิฯ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานเสวนา วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2562 เวลา 13.00 น. – 16.00 น. ณ ศูนย์ทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมู่บ้านชวนชื่นฟลอร่าวิลล์ สี่แยกบางคูวัด ปทุมธานี ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน 300 บาท นอกจากนี้ภายในงานยังสามารถร่วมซื้อสินค้าในโครงการธุรกิจวัยใส เป็นสินค้าใหม่ที่ได้รับการบริจาคและสนับสนุน มาจากชมรมแม่บ้านประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เด็กพิเศษ มีงานทำ หาเลี้ยงตนเอง อยู่อย่างพอเพียง เครียงคู่สังคม รายได้ทั้งหมดมอบให้ มูลนิธิบ้านเรียนชวนชื่น (เพื่อเด็กพิเศษ) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 08-0447-7916 หรือ [email protected]" เลขานุการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กล่าว
***เกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งขึ้น
1. เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ขาดทุนทรัพย์ได้เข้ารับการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคบ หรือสูงสุดตามศักยภาพของผู้เรียน
2. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้เด็กพิเศษในการประกอบอาชีพ
3. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของบ้านเรียนชวนชื่น(เพื่อเด็กพิเศษ)
4. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การการศุลอื่น ๆ เพื่อเพื่อสาธารณประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด