สคร.10 อุบลฯ เตือนชาวนา ระวังป่วยโรคไข้ฉี่หนู และโรคเนื้อเน่า

ศุกร์ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๔๒
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธานี เตือนเกษตรกรชาวนา มีความเสี่ยงป่วยโรคไข้ฉี่หนู และโรคเนื้อเน่า เนื่องจากต้องเดินลุยน้ำในแปลงนาที่มักจะมีน้ำขังเฉอะแฉะเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ แนะหากมีอาการ ผิวหนังบวมแดงร้อน มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะปวดน่องหรือโคนขา ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

นายแพทย์ดนัย เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้ เข้าสู่ฤดูการทำนา เกษตรกรที่ต้องเดินลุยน้ำในแปลงนาที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ จากบาดแผลที่เท้า หรือขาได้ง่าย โดยเฉพาะเลปโตสไปโรสิสหรือโรคไข้ฉี่หนู และโรคเนื้อเน่า ที่กำลังเป็นข่าวในขณะนี้

นายแพทย์ดนัย กล่าวต่ออีกว่า โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเชื้อจะอยู่ในฉี่ของสัตว์ โดยเฉพาะหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลัก ทั้งหนูนา หนูป่า หนูบ้าน หนูท่อ รวมทั้งสัตว์อื่นๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข สุกร เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน เยื่อบุของตา จมูก ปาก หรือผิวหนังปกติที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ซึ่งเชื้อจะปนเปื้อนอยู่ตามแอ่งน้ำหรือพื้นดินที่เป็นดินโคลนชื้นแฉะ หากได้รับเชื้อจะมีอาการไข้สูงทันที ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะที่น่องและโคนขาจะปวดมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และตาแดง เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำย่ำโคลนให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพราะหากรักษาล่าช้า อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ไตวาย ตับวาย เลือดออกในปอด และทำให้เสียชีวิตได้

ส่วนอาการของโรคเนื้อเน่า ส่วนใหญ่จะมีผิวหนังบวมแดงร้อน ถ้าเชื้อลงลึกกินทั้งชั้นผิวหนังจะพบตุ่มพุพอง และค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีม่วง และถ้าเนื้อตายจะกลายเป็นสีดำ บางรายอาจจะต้องตัดขา หรืออาจจะมีการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ไข้สูง และทำให้เสียชีวิตได้

ทั้งนี้ขอให้เกษตรกร และผู้ที่จำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำขังเฉอะแฉะ ปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนที่ชื้นแฉะ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ ป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำหรือดินโดยตรง 2.หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ และอาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังจากเสร็จจากการทำงานหรือลุยน้ำ 3.หลีกเลี่ยงการลงแช่น้ำที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมทั้งการใช้แหล่งน้ำร่วมกับสัตว์ เช่น โค กระบือ 4.ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หากต้องเก็บไว้ขอให้ปิดอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิดเพื่อไม่ให้หนูมาปัสสาวะรดได้ และ 5.กำจัดขยะให้ถูกต้องไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
๐๙:๐๐ ก้อย-นัตตี้-ดรีม ชีเสิร์ฟความฮอตแบบไม่พัก รับบทพรีเซ็นเตอร์ชุดชั้นในวาโก้ โชว์ความเนียนยืนหนึ่งระดับตัวมัม!
๐๙:๐๐ เจาะลึกคีย์เทคโนโลยี AI ฝีมือคนไทย บนแอปสินเชื่อ มันนี่ทันเดอร์ พลังขับเคลื่อนสำคัญที่ อบาคัส ดิจิทัล
๐๘:๑๓ เปิดความปัง มั่งมีรับปีใหม่ กับ แมคโดนัลด์ 'มั่งมีเบอร์เกอร์ x MY MELODY' ยกขบวนความน่ารัก MY MELODY กับแพ็กเกจจิงและ กระเป๋า Tote Bag
๐๘:๑๑ ถอดรหัสความสำเร็จ Fundao แบรนด์กระเป๋าไทยของผู้หญิงยุคใหม่ กับสถิติยอดขายช่วงแคมเปญเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง
๐๘:๐๐ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!