ผลกระทบเงินหยวนอ่อนค่าและการกลับตัวทางนโยบายเศรษฐกิจของจีน

อังคาร ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๓๓
ผลกระทบเงินหยวนอ่อนค่าและการกลับตัวทางนโยบายเศรษฐกิจของจีนรับมือสงครามการค้าส่งผลอย่างมีนัยยสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย เสนอให้มียุทธศาสตร์ทางการค้าเพื่อรับมือความท้าทายดังกล่าว

15.00 น. 12 ส.ค. พ.ศ. 2562 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ผลกระทบเงินหยวนอ่อนค่าและการกลับตัว (U-turn) ของนโยบายเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลอย่างมีนัยยสำคัญทั้งบวกและลบต่อเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยและตลาดการเงินทั่วโลก การอ่อนตัวของเงินหยวนสะท้อนการชะลอตัวของการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงของจีนในระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นการบริหารจัดการให้เงินหยวนอ่อนค่าลง และ ธนาคารกลางของจีนได้ทะยอยปรับลดค่าเงินหยวนลงมาตามลำดับอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเงินทุนไหลออกจากประเทศจีนหรือการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการกลับตัว (U-turn) ทางนโยบายเศรษฐกิจจีนเพื่อรับมือกับผลกระทบจากสงครามทางการค้าจีนสหรัฐฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2556 ธนาคารกลางของจีนได้ปรับค่าเงินหยวนแข็งค่ามาโดยตลอด การปรับค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงถึง 3 ครั้ง ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยล่าสุดมีการปรับค่า midpoint reference มาอยู่ที่ 7.0211 หยวนต่อดอลลาร์ การเจตนาให้ค่าเงินอ่อนค่าลงเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าสามารถมองได้ว่า จีนกำลังบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เพื่อตอบโต้การขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เงินหยวนอ่อนค่าลงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเอเชียที่มีระดับการเปิดประเทศสูงและพึ่งพาการส่งออก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางลบเพิ่มเติมต่อภาคส่งออก ภาคการท่องเที่ยวและภาคการลงทุนโดยเฉพาะการไหลออกมาลงทุนของกลุ่มทุนข้ามชาติจีนจะลดลง การลงทุนของกลุ่มทุนจีนในอีอีซีอาจไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ จีนมีความจำเป็นในการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ให้ต่ำกว่าเป้าหมายมากเกินไป การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การเติบโตของสหรัฐอเมริกามีผลต่อเศรษฐกิจโลกประมาณ 17-20% ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะมีสาเหตุจากผลกระทบจากสงครามการค้าและมีต้นตอมาจากประเทศสหรัฐฯและจีน ข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศของจีนมีข้อจำกัดจากปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในระบบสถาบันการเงิน พร้อมกับ การขยายการลงทุนในโครงการต่างๆจำนวนมากของรัฐวิสาหกิจในช่วงที่ผ่านมาและมีการลงทุนส่วนเกินอยู่จำนวนมาก การกดให้เงินหยวนอ่อนค่าลงเพื่อสนับสนุนการส่งออก คือ ทางออกของจีน แต่จะสร้างปัญหาให้กับหลายประเทศที่เป็นคู่แข่งทางการค้า และ กระตุ้นให้หลายประเทศแข่งขันกันลดค่าเงิน สิ่งนี้จะกดดันให้การขยายตัวของการค้าโลกลดลงอีก เงินหยวนอ่อนค่าจะทำให้เงินทุนจำนวนหนึ่งเคลื่อนย้ายไปถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ ภาวะดังกล่าวจะกดดันให้สหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เงินหยวนและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเป็นผลทั้งปฏิกิริยาของตลาดการเงินโลกและเป้าหมายทางนโยบายการเงิน ภาวะดังกล่าวจะทำให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของโลกไม่มีเสถียรภาพ กระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินของบางประเทศได้ เศรษฐกิจของหลายประเทศจะมีความเปราะบางและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ในที่สุด เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยและปัญหาเศรษฐกิจอาจบานปลายเนื่องจากหลายประเทศไม่ได้มีพื้นที่นโยบายเพียงพอที่จะรับมือโดยเฉพาะประเทศที่มีฐานะทางการคลังอ่อนแอและมีหนี้สาธารณะในระดับสูง

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยต้องชะลอการเพิ่มกำลังการผลิตส่วนเกิน ทบทวนการลงทุนและการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐโดยเฉพาะการจัดซื้อที่ไม่ใช่ความจำเป็นเร่งด่วน การลงทุนหรือผลิตเกินความต้องการภายในประเทศและอุปสงค์ของตลาดโลกจะสร้างปัญหาฟองสบู่ในอนาคตจากการลงทุน ต้องปรับการลงทุนหรือการผลิตอย่างเหมาะสมเพื่อปรับสมดุลให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน การขาดความสมดุลจะนำมาสู่ความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและความซับซ้อนต่อการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในอนาคต การส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยบรรเทาผลกระทบของปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจในอนาคตได้ระดับหนึ่ง การกระตุ้นการบริโภค การเพิ่มและการกระจายรายได้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในช่วงนี้

ดร. อนุสรณ์ เสนอให้ไทยมียุทธศาสตร์การค้าเพิ่มเติมที่จะสามารถรับมือความท้าทายสงครามการค้า และสงครามค่าเงินเริ่มต้นด้วย ยุทธศาสตร์การค้าที่ต้องผลิตสินค้าให้ตรงกับอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมส่งออกใหม่ ยุทธศาสตร์การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ ยุทธศาสตร์การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการทางออนไลน์ด้วย Platform ของตัวเอง และ การสร้าง Brand ในระดับประเทศที่ SME สามารถใช้ประโยชน์ได้ ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐให้เอื้อต่อการประกอบธุรกรรมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้ง ปรับจำนวนพิกัดอัตราภาษีศุลกากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการค้า

ดร. อนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การลงทุนจากกลุ่มทุนจีนมายังอาเซียนและไทยเพื่อเลี่ยงผลกระทบสงครามการค้าจีนสหรัฐฯเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งกำเนิดสินค้าและกติกาด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีที่เข้มงวดน้อยกว่าจำเป็นที่ประเทศผู้รับการลงทุนอย่างไทยต้องคัดเลือกโครงการด้วยความละเอียดรอบคอบและละเอียดอ่อนเพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาการกีดกันทางการค้าต่อประเทศไทยในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ
๑๖:๑๘ ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเปิดจองซื้อหุ้นกู้ชุดใหม่รับปีมะเส็ง ตอบโจทย์นักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง
๑๖:๒๕ วัน แบงค็อก เตรียมเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์ศักราชใหม่สุดยิ่งใหญ่
๑๖:๐๖ EXIM BANK โชว์ศักยภาพ SFI แห่งแรกได้รับมาตรฐานสากล ISO 14064-1:2018 เดินหน้าบทบาท Green Development Bank
๑๖:๑๙ ซานตาคลอส ฟลายอิ้ง ส่งความสุขในเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๑๖:๔๓ Spacely AI คว้ารางวัลที่สาม ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของ SketchUp
๑๖:๓๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทุ่มกว่า 1.6 ล้าน มอบความห่วงใย ร่วมฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังจากน้ำท่วมใหญ่
๑๖:๒๑ NRF เปิดตัว Mini C สาขาใหม่ในสหราชอาณาจักร ตอกย้ำกลยุทธ์ค้าปลีกแบบ Hub and Spoke ยอดขายทะลุเป้า พร้อมกระแสรีวิว 5 ดาวจากลูกค้า
๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย