เปิดข้อเท็จจริง!! เสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน กับโอกาสเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดย นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง รพ.บางมด

อังคาร ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๔๙
จากกรณีข่าว "อย.เรียกคืนเต้านมเทียมซิลิโคนนาเทรล (NATRELLE) เหตุพบเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง" ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในผู้ที่เคยทำการศัลยกรรม ซึ่งเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องนพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง รพ.บางมด และผู้อำนวยการศูนย์สัลยกรรมความงาม รพ.บางมด จึงได้กล่าวสรุปข้อเท็จจริงในประเด็นการเสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน กับ การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด Breast Implant Associated - Anaplastic Large Cell Lymphoma (BIA-ALCL) ซึ่งได้อ้างอิงข้อมูลจาก Food and Drug Administration หรือองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Society of Plastic Surgery : ASPS) ไว้ดังนี้

1. โรค Breast Implant Associated - Anaplastic Large Cell Lymphoma (BIA-ALCL) หรือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเสริมหน้าอกด้วยเต้านมเทียม มักจะเกิดบริเวณรอบ ๆ ถุงซิลิโคน บริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ เต้านม ไม่ได้เกิดบริเวณเต้านมโดยตรง มักจะไม่แพร่กระจายไปในบริเวณอื่น หากตรวจพบเร็ว โอกาสรักษาหายจะมีสูง วิธีการรักษา คือ นำถุงเต้านมเทียมออก และเลาะตัวแคปซูล หรือ เยื่อหุ้มออกทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องตัดเนื้อเต้านมออก

2. โรค BIA-ALCL เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีอุบัติการณ์ต่ำมาก ประมาณ 1:200,000 ราย (0.0003%) ซึ่งพบในผู้ที่เสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน

3. พบครั้งแรกประมาณ 20 ปีก่อน หากนับปริมาณการเสริมเต้านมทั่วโลกช่วง 20 ปีนี้ มีประมาณมากกว่า 10 ล้านคู่ จนถึงปัจจุบัน มีคนเป็นโรคนี้ ทั่วโลก 573 คน ในประเทศไทยมีเพียง 1 คน ซึ่งรักษาหายแล้ว

4. ใน 573 คน ที่เป็นโรค BIA-ALCL ทั่วโลก พบว่ามีถึง 481คน ที่เสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน ผิวขรุขระมาก(Macrotexture, Biocell) ของ Allergan / Natrelle ซึ่งคิดเป็น 83.9% จึงเป็นสาเหตุให้ FDA ระงับการใช้ผลิตภัณฑ์ในรุ่นนี้ และบริษัทรับคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อความปลอดภัย

5. ลักษณะผิวของซิลิโคน จะมีอยู่ 4 ผิว ได้แก่ ผิวเรียบ (Smooth) , ผิวทรายแบบละเอียด (Microtexture) , ผิวทรายแบบหยาบ (Macrotexture) และ Polyurethane

5.1 ผิวเรียบ – ไม่มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL

5.2 ผิวทรายแบบละเอียด (Microtexture) – มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 85,000

5.3 ผิวทรายแบบหยาบ (Macrotexture) - มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 3,200

5.4 Polyurethane - มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 2,800

6. ควรสังเกตอาการ หากเกิดอาการบวม หรือเจ็บที่เต้านม หรือ มีก้อนที่เต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด

7. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นของโรค BIA-ALCL ยังไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่า มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้

7.1 การเสริมด้วยซิลิโคนผิวทรายหยาบ (High Texture)

7.2 มีการติดเชื้อ หรืออักเสบในบริเวณเต้านมเป็นระยะเวลานาน ๆ

7.3 ภูมิภาคอเมริกา และยุโรป มีโอกาสเกิดมากกว่า ทวีปเอเชีย จึงสันนิษฐานว่าเชื้อชาติ พันธุกรรม มีส่วนสำคัญทำให้เกิดโรคนี้

7.4 ระยะเวลา โดยเฉลี่ย8ปีขึ้นไป

8. สำหรับท่านที่เสริมซิลิโคนแล้ว ควรทำอย่างไร

8.1 ไม่ต้องกังวล หรือตื่นตระหนกจนเกินไป เนื่องจากมีอุบัติการณ์น้อยมาก ๆ

8.2 สำหรับโรค BIA-ALCLหากเป็นแล้ว สามารถรักษาหายได้ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ

8.3 ถ้าไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ ไม่แนะนำให้นำซิลิโคนออก

9. ตาม recommendation ของ FDA แนะนำให้ผู้ที่เสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน ควรตรวจ MRI หลังจากเสริมหน้าอกไปแล้ว 3 ปี หลังจากนั้นควรตรวจติดตามด้วย MRI ทุก ๆ 2 ปี

10. ปกติเวลาตรวจมะเร็งเต้านมมักจะใช้การอัลตร้าซาวนด์ และ เมมโมแกรม เป็นหลัก แต่หากต้องการตรวจโรค BIA-ALCLควรตรวจด้วย MRI จะดีกว่า จะดูแคปซูล และต่อมน้ำเหลืองได้ดีกว่า

11. สิ่งที่ควรถามสถานพยาบาล หรือ คลินิก ที่ท่านเสริมหน้าอก

11.1 ถามสถานพยาบาลที่ท่านเสริมหน้าอกมาว่า "เสริมด้วยซิลิโคนผิวแบบไหน"

- ถ้าเป็นผิวเรียบ สบายใจได้ ไม่เกิดโรค BIA-ALCL

- ถ้าเป็นผิวทรายแบบละเอียด ไม่ต้องกังวล เนื่องจากอุบัติการณ์ยังน้อยมาก

- ถ้าเป็นผิวทรายแบบหยาบ หรือเป็นรุ่นที่ทาง FDA เรียกคืน ....ถ้าไม่มีอาการแสดงอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องนำถุงซิลิโคนออก แต่แนะนำให้เฝ้าระวังต่อเนื่อง เช่น การตรวจร่างกายด้วยตนเอง และพบแพทย์ประจำปี, การตรวจด้วย MRI ทุก ๆ 2 ปี , การทำแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวนด์

12. การปฏิบัติสำหรับแพทย์

12.1 แนะนำให้แพทย์หยุดใช้ซิลิโคนผิวทรายแบบหยาบตามรุ่นที่ FDA/อย. เรียกคืน หากมีซิลิโคนค้างอยู่ใน Stock แนะนำให้คืนบริษัท

12.2 แพทย์ควรแนะนำผู้ป่วยที่เสริมหน้าอกไปแล้ว 3 ปี ควรตรวจ MRI และหลังจากนั้นตรวจอย่างต่อเนื่องทุก 2 ปี

12.3 สำหรับแพทย์ที่ตรวจพบว่า คนไข้มีอาการที่สงสัย เช่น มีอาการบวม แนะนำให้เอาน้ำเหลือง และแคปซูลที่อยู่รอบ ๆ นำไปตรวจอย่างละเอียด ว่าเป็นโรคBIA-ALCLหรือไม่ ถ้าไม่พบก็ไม่จำเป็นต้องนำซิลิโคนออก แต่หากพบเชื้อ จะต้องตรวจว่าเชื้อแพร่กระจายไปบริเวณอื่นหรือไม่ และก็นำถุงเต้านมออก เลาะเอาแคปซูลที่หุ้มซิลิโคนทั้งหมดออก

13. กล่าวโดยสรุป ผู้ที่เสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน ข้อมูล ณ ปัจจุบัน มีโอกาสเกิด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (BIA-ALCL) น้อยมากๆ จึงแนะนำให้สังเกตอาการ ตรวจคัดกรองตามปกติ หากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้นำถุงซิลิโคนออก อาการที่ควรสังเกตคือ ก้อนที่เต้านม/รักแร้, เต้านมบวม หรือ ปวด หากตรวจพบควรมาปรึกษาแพทย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version