ม.อุบลฯ ยกระดับตลาดสด สู่เมืองแห่งอาหารปลอดภัยของภาคอีสาน

อังคาร ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๔๙
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จับมือหน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน วิจัย 2 ตลาดสดเมืองอุบล ตั้งแต่การวางผัง การควบคุมคุณภาพ และการบริหารจัดการ เพื่อสร้างโมเดลตลาดอาหารปลอดภัย ที่ตอบยุทธศาสตร์ของการเป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัยของภาคอีสาน

"เกษตรอินทรีย์" คือหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ภายใต้วิสัยทัศน์ "ศูนย์กลางความเชื่อมโยงการผลิต การค้าและบริการ ด้านเกษตรอินทรีย์ สุขภาพทางเลือก การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเมืองน่าอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"

ดังนั้น การทำงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการนวัตกรรมการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้ทุนวิจัยท้าทายไทย กลุ่มเรื่อง นวัตกรรมทางความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างให้จังหวัดแห่งนี้เป็นเมืองแห่งอาหารปลอดภัยของภาคอีสาน

"แม้ว่าเราจะมีการศึกษาถึงตลาดของสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ คือตั้งแต่ตัวเกษตกร จนถึงผู้บริโภค แต่เราคิดว่าสิ่งที่น่าจะดำเนินการก่อนก็คือเรื่องของตลาด ที่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญระหว่างต้นน้ำคือผู้ผลิต กับปลายน้ำคือผู้บริโภค" ดร.นรา หัตถสิน อาจารย์จากคณะบริหารศาสตร์ ม.อุบลราชธานี หนึ่งในหัวหน้าโครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการนี้ กล่าวถึงความที่มาของการทำวิจัยครั้งนี้

ดร. นรา กล่าวว่า ภายใต้โครงการนี้มีเป้าหมายร่วมกันคือ การสร้างทำให้เกิดรูปธรรมตลาดอาหารปลอดภัย ในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยงาวิจัยด้านตลาดอาหารปลอดภัย รวม 8 งานวิจัยคือ 1) การศึกษาศักยภาพการผลิตและแปรรูป 2) การพัฒนาระบบบริหารจัดการการตลาดอย่างมีส่วนร่วม 3) กลยุทธ์ด้านการตลาด 4) สถานการณ์ด้านตลาด 5) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่ดี 6) ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ในตลาด 7) ระบบจัดวางสินค้าและการให้บริการ และ 8) ระบบจัดการของเสียและสุขอนามัย โดยมีตลาด ที่ตอบรับเข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้จำนวน 2 แห่งคือ "ตลาดเทศบาล 3" และ "ตลาดดอนกลาง"

"เราต้องการเปรียบเทียบโมเดลของการจัดการ ทั้งตลาดของเทศบาล (ตลาดเทศบาล 3) และตลาดเอกชน (ตลาดดอนกลาง) เพื่อให้สามารถขยายผลไปสู่ตลาดแห่งอื่นๆ คือตลาดเอกชนก็สามารถขยายผลต่อ ตลาดของภาครัฐก็ไปเป็นแนวทางได้" ดร. นรา กล่าว

นายรัฐนันท์ ภัทรธนเศรษฐ์ ผู้บริหารตลาดดอนกลาง กล่าวถึงเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ว่า การได้มาร่วมทำงานกับทีมวิจัยของ ม.อุบล ในครั้งนี้ ทำให้ตนเองได้เห็นถึง ช่องว่างและแนวทางของการยกระดับตลาดเก่าแก่แห่งนี้ให้มีมาตรฐานมากขึ้น ทั้งเรื่องของโครงสร้างต่างๆ รวมถึงถึงวิธีการปฏิบัติในแต่ละจุดแต่ละขั้นตอน และคิดว่านี่คือแนวทางการทำให้ตลาดของเราเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น

"เมื่อเอ่ยถึงอาหารปลอดภัยได้มาตรฐาน หลายคนอาจจะนึกถึงของที่ขายในโมเดิร์นเทรด หรือซุเปอร์สโตร์ แต่งานวิจัยนี้สามารถทำให้ตลาดสดที่มีอยู่ทั่วไป สามารถเป็นตลาดของอาหารปลอดภัยได้เช่นเดียวกัน"

ขณะที่คุณนุชจรินทร์ พุทธองค์รักษา ประธานคณะกรรมการตลาดเทศบาล 3 และเป็นหนึ่งในแม่ค้าของตลาดแห่งนี้ กล่าวเสริมว่า อยากให้ ม.อุบล ประสานงานกับเทศบาล และจังหวัด ทำให้ตลาดเทศบาล 3 มีคุณภาพที่ดีขึ้น และทางกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าก็พร้อมสนับสนุนการทำงานของนักวิจัย

ดร.จริยาภรณ์ อุ่นวงษ์ ผู้จัดการโครงการฯ ให้ข้อมูลเสริมว่า โครงการนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สมทบทุนวิจัยร่วมกับ กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับและเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งระบบ โดยมีการจัดคณะนักวิจัยจากคณะต่างเข้าร่วมโครงการเป็นจำวนมาก ไม่ว่าจะจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริหารศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น นี่คือการทำงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งการได้เรียนรู้แนวทางการจัดการจัดการและบริหารงานวิจัยของ สกสว. ทั้งการหาโจทย์ปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ การกำหนดโจทย์ ระบบสนับสนุน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขณะนี้ทีมวิจัยมีมีข้อมูลสำคัญๆ เกือบครบถ้วนแล้ว ดังนั้นระยะเวลาที่ 6 เดือนต่อจากนี้ จะเป็นการทำงานจริง การปฏิบัติจริง เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำให้เกิดตลาดอาหารปลอดภัยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในแง่ของตัวโครงสร้าง การบริหาร รวมไปถึงการสร้างทัศนคติและการยอมรับต่อแนวทางใหม่นี้ให้กับพ่อค่าแม่ค้าในตลาดทั้งสองแห่ง เพื่อให้ทั้งแนวคิด และวิธีปฏิบัติต่างๆ ได้ถูกนำไปใช้จริง

ด้านนายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จุดเด่นของงานวิจัยนื้คือการทำงานกับคนในพื้นที่ และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่นำข้อมูลและข้อค้นพบมาทบทวนและปรับปรุงการทำวิจัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตนเองมั่นใจว่าผลจากงานวิจัยนี้ จะได้รับการนำไปจริง ทั้งในส่วนของตลาดชองเทศบาล และตลาดของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และขยายผลไปสู่ตลาดอื่นๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version