สอศ.ร่วมกับภาคีข่ายเครือ จัดศูนย์รักล้อในโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย รองรับนักปั่นรักสุขภาพ

ศุกร์ ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๔๖
ดร.ประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนายชัยรัตน์ เฟื่องฟูลอย ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ"โครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย" ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ มูลนิธิองค์กรเครือข่ายบริการธุรกิจภูมิภาคภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมี ทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย ประธานโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนัก ผู้บริหารสถานศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ดร.ประชาคม จันทรชิต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือ "โครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย"ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสใช้จักรยาน เพื่อให้เกิดกระแสการรักการใส่ใจการดูแลสุขภาพ และสุขภาวะกับประชาชน ซึ่งสอศ. ได้ให้การสนับสนุน เพื่อให้ความยั่งยืนในโครงการฯ ได้จัดตั้ง "ศูนย์รักล้อ" ประจำสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ทั่วทุกภูมิภาค จะเปิดให้บริการในด้านการซ่อมบำรุงจักรยานแก่ประชาชน ได้รู้จักวิธีในการดูแลรักษาและการปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้จักรยาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาส สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนเกิดส่วนร่วมและเกิดการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา นำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ พร้อมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาช่างยนต์ ในการดูแลและซ่อมบำรุงจักรยาน ทำให้นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาศักยภาพและฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญ ได้ฝึกประสบการณ์ตรง เกิดจิตอาสาในการให้บริการ และเกิดประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา และประชาชนด้วย

ดร.ประชาคม กล่าวต่อว่า ศูนย์รักล้อในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นมีจำนวนทั้งสิ้น 23 แห่ง ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งจัดตั้งแล้วจำนวน 16 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์ วิทยาลัยเทคนิคลำปางวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู วิทยาลัยเทคนิคบ้านแพง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส วิทยาลัยเทคนิคเลย วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง และวิทยาลัยเทคนิคลำพูน และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งศูนย์รักล้ออีกจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคชุมพร วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ วิทยาลัยเทคนิคน่าน วิทยาลัยเทคนิคตรัง วิทยาลัยเทคนิคพะเยา และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม เป็นลำดับต่อไป

ทั้งนี้ สอศ. ได้จัดทำหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ ช่างซ่อมบำรุงรถจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ และจัดทำคู่มือการใช้จักรยาน ฐานข้อมูลและเส้นทางการใช้จักรยานทั่วประเทศร่วมกับทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย ประธานโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษา เกิดความเชื่อมั่นกับครู และนักเรียน นักศึกษา ในการนำวิชาความรู้ไปประกอบใช้ และร่วมกันจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมศักยภาพทั้งต่อตัวนักเรียน นักศึกษาเอง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศต่อไป ดร.ประชาคม กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ