เชียงใหม่ขยายผลแนวพระราชดำริทั้งจังหวัด เทรนราชการ-ผู้นำชุมชน เรียนหลักการพัฒนาชุมชนแบบ ปิดทองหลังพระ ฟื้นครัวเรือน พัฒนาอาชีพเสริมรายได้ลดรายจ่าย

จันทร์ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๐๑
จังหวัดเชียงใหม่จัดประชุมเชิงปฏิบัติ"การดำเนินงานตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ" มีปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ พัฒนาการ ผู้นำชุมชน 25 อำเภอ กว่า 150 คนเข้าร่วม คาดหวังนำความรู้ไปจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่เกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้ตรงจุดต่อไป

นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อที่จะนำความเจริญผาสุขมาสู่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของประชาชน บนพื้นฐานหลักการทรงงานโดยเฉพาะ หลักการ "ระเบิดจากข้างใน" โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนนำความต้องการของชุมชนมาเป็นโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่

"หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ คาดหวังให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำความรู้ไปใช้ในการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมของชุมชนเอง ที่มีหลักคิดว่าเกิดจากความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง จากฐานข้อมูลที่เป็นจริง เกิดการจัดทำแผนพัฒนาของหมู่บ้าน แผนพัฒนาอำเภอและจังหวัด และเป็นแผนของชุมชนให้หน่วยงานต่างๆวางแผนการส่งเสริมสนับสนุน โดยกลับไปเริ่มดำเนินการได้ทันที" นายชูชีพ ระบุ

ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ในฐานะวิทยากร "การพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ" กล่าวว่า หลักสำคัญในการพัฒนาเชิงพื้นที่ คือทุกฝ่ายต้องมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเป็นอย่างเดียวกัน มีความเชื่อและเข้าใจแนวพระราชดำริ มีทีมงานที่ดีและเก่ง ตลอดจนการมีโครงสร้างและความสัมพันธ์ของหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ที่เหมาะสมชัดเจน รวมถึงมีการบริหารโครงการและกิจกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงโดย ที่สำคัญคือการมีข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องพร้อมใช้งาน

ขณะที่นายสุทัศน์ บานเย็น นายกเทศมนตรีตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม กล่าวถึงหลักการพัฒนาตามแนวปิดทองหลังพระฯ ว่า เป็นแนวการพัฒนาที่มีความยั่งยืน มีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงของชุมชน โดยเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนเพื่อทำให้รู้ปัญหาที่แท้จริงซึ่งจะสามารถนำมาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง และเมื่อนำแนวการพัฒนาไปปรับใช้ ทำให้เกือบทุกครัวเรือนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ลดรายจ่ายครัวเรือน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแนวทฤษฏีใหม่เป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนและสังคมได้จริง

สำหรับเทศบาลตำบลปิงโค้ง พบว่า ชุมชนประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยทุกครัวเรือนต้องซื้อน้ำดื่มเฉลี่ยรวมเป็นเงินประมาณ 6 แสนบาทต่อเดือน ดังนั้น เทศบาลจึงเดินหน้าทำโครงการประปาหมู่บ้านซึ่งจะเก็บค่าน้ำในราคาที่เป็นธรรมและเมื่อมีรายได้จะเป็นกองทุนสำหรับนำมาพัฒนาสร้างและซ่อมระบบประปา โดยในระระยะต่อไป จะดำเนินการทำฝายเก็บน้ำและโครงการธนาคารอาหารชุมชน ซึ่งจะสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ รวมถึงการทำแก๊สชีวภาพจากเศษวัสดุในชุมชน ซึ่งโครงการทั้งหมด จะช่วยลดรายจ่ายครัวเรือนของสมาชิกในชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ