กระทรวงเกษตรฯ ได้ฤกษ์ เปิดตัวแปลงสับปะรดอัจฉริยะ ดันเป็นต้นแบบขยายผลในพื้นที่แปลงใหญ่ ทั่วประเทศ มุ่งเน้นขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมกับการเกษตรของไทย

ศุกร์ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๓๑
นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กล่าวว่า สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องในลำดับต้นๆ ของโลก มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 20,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งในรูปของสับปะรดผลสด สับปะรดแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดเข้มข้น ซึ่งจากการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะได้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ 6 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และสับปะรด พร้อมทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดทำ Big Data ด้านเกษตรอัจฉริยะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจและกำหนดแนวทางการทำเกษตรอัจฉริยะต่อไปในอนาคตตามนโยบายของ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เน้นให้ผลักดันขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปแล้วใน 2 พืช ได้แก่ ข้าว จ.สุพรรณบุรี และ มันสำปะหลัง จ.กำแพงเพชร โดยในวันนี้เป็นการดำเนินการในแปลงสับปะรด ในพื้นที่ของ คุณรุ่งเรือง ไล้รักษา สมาชิกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ 20 ไร่ เพื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีการผลิตของเกษตรกรแบบดั้งเดิม 10 ไร่ และกรรมวิธีการผลิตแบบเกษตรอัจฉริยะอีก 10 ไร่

สำหรับเทคโนโลยี นวัตกรรมที่นำมาใช้ในแปลงต้นแบบนี้ กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และผู้ประกอบการ ได้นำมาใช้ในแปลงเรียนรู้การผลิตสับปะรด จัดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดการสูญเสียผลผลิต อีกทั้งดำเนินการในรูปแบบประชารัฐ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ทั้งเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรแบบแม่นยำ มาทดสอบใช้ในแปลงเรียนรู้ ครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการผลิตพืช ตั้งแต่ การเตรียมหน่อพันธุ์สับปะรดที่ดี การเก็บตัวอย่างดินเพื่อจัดทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน สำหรับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามความต้องการของพืช การเตรียมดินโดยใช้แทรคเตอร์ติดตั้งระบบพวงมาลัยอัตโนมัติ นำร่องด้วยระบบ GPS ต่อพ่วงด้วยไถสิ่วพร้อมพรวนดิน ปลูกโดยใช้แทรคเตอร์ติดตั้งระบบพวงมาลัยอัตโนมัติ นำร่องด้วยระบบ GPS ต่อพ่วงด้วยเครื่องปลูกสับปะรด เป็นต้น ตลอดจนการใช้ sensor ตรวจวัดสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจากแปลงเรียนรู้จะถูกรวบรวม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา Big Data Platform ด้านการเกษตรอัจฉริยะ ที่สามารถประมวลผลข้อมูลผ่านระบบ internet เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการทำเกษตรกรรมได้อย่างแม่นยำ ผ่าน Application ต่างๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมกับการเกษตรของประเทศไทย และนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่ได้รับการทดสอบจากแปลงเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ มุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนและพัฒนาให้เกิดการพัฒนาข้อมูลปริมาณผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกแบบ near real time สำหรับใช้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด เช่น ข้อมูลปริมาณและพื้นที่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ นำร่องใน ๕ ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด ตลอดจนข้อมูลศัตรูพืช (โรคพืชและแมลงศัตรูพืช) เพื่อใช้ในการจัดจำแนกชนิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการคาดการณ์ทิศทางการแพร่กระจายและทราบพื้นที่การระบาด เพื่อการป้องกันกำจัดรวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับการตรวจสอบชนิดของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ที่สำคัญ

"กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งหวังให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดได้รับความรู้ เกิดแนวคิด และได้เห็นประจักษ์ ถึงประโยชน์ของการทำเกษตรอัจฉริยะอย่างแท้จริง และสามารถตัดสินใจที่จะเลือกนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ไปใช้ โดยเน้นในรูปแบบของการรวมกลุ่มเกษตร เพื่อให้สามารถมีกำลังในการจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของเกษตรกร พร้อมเก็บข้อมูลด้านต้นทุน การดำเนินการ ในการทำเกษตรอัจฉริยะเทียบกับการดำเนินการตามวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าในการดำเนินการ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ Startup ด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่ได้รับการสนับสนุน อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้จริงในราคาย่อมเยาว์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพี่น้องเกษตรกร" นางสาววราภรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025