เชิญชวนร้านหนังสือทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการชุมชนนักอ่าน ปั้นคุณค่านักอ่านที่ดีสร้างรากฐานให้ประเทศ

จันทร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๒๑
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ดึงร้านหนังสือทั่วประเทศ ทำ "โครงการชุมชนการอ่านในร้านหนังสืออิสระ" หวังกระตุ้นให้เกิดกลุ่ม นักอ่านที่เชื่อมโยงจนช่วยกันสร้างรากฐานการอ่านที่ดีให้กับประเทศ

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 ณ จามจุรีสแควร์ นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมกับ นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมกับได้รับความร่วมมือจาก นายทรงยศ สามกษัตริย์ กรรมการผู้จัดการ ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย เป็นภาคีเครือข่ายหนังสือในโครงการ ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว "โครงการชุมชนการอ่านในร้านหนังสืออิสระ" ขึ้น เพื่อส่งเสริมหรือเผยแพร่สื่อหนังสือที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เข้าถึงเด็กเยาวชน รวมถึงคนหลากหลายวัยในชุมชนได้ ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นผู้ให้การสนับสนุน ด้วยเล็งเห็นว่า ร้านหนังสือเป็นแหล่งรวมตัวของผู้สนใจหนังสือที่ดีในระดับหนึ่ง จึงควรสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในกลุ่มนักอ่านที่หลากหลาย และการสร้างสรรค์ชุมชนการอ่านให้เกิดขึ้น อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการผลิตหนังสือปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะหนังสือที่มีเนื้อหาส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและความมั่นคง ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ การเรียน ทักษะการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่จำเป็นต้องร่วมมือช่วยกันปลูกฝังสิ่งดีงาม และเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ประเทศในอนาคต

โครงการฯ ดังกล่าว จึงได้เชิญชวนให้ร้านหนังสือ 50 ร้านค้าทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการ โดยมีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ จะต้องเป็นร้านหนังสือที่มีพื้นที่ในร้านหรือพื้นที่ในชุมชนสำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านได้ต่อเนื่อง อย่างน้อย 4 ครั้ง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่พัฒนาชุมชนการอ่าน มีการจัดชั้นวางหนังสือน่าอ่านที่ "ปลอดภัยและสร้างสรรค์" ที่ได้รับโหวตจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5-10 เล่ม คนในชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย ตั้งแต่ 20-30 คน พร้อมทั้งให้ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินผลความ พึงพอใจของโครงการด้วย เมื่อร้านฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่กำหนด จะได้รับมอบเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ เพื่อส่งเสริมร้านหนังสือให้สามารถเติบโตเป็นกลไกสำคัญในธุรกิจหนังสือ

สำหรับลักษณะกิจกรรมที่โครงการจะร่วมทำกับร้านฯ มีด้วยกัน 4 แบบกิจกรรม กิจกรรมแรกคือ "เลือกอ่านแบบนักเขียนคนดัง" สำหรับนักอ่านบุคคลทั่วไปและกลุ่มนักอ่านวัย 18 ปีขึ้นไป กิจกรรมที่ 2 คือ "มหัศจรรย์หนังสือเด็กปลอดภัยและสร้างสรรค์" สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย 3-6 ปี กิจกรรมที่ 3 คือ"เรื่องนี้มัน(ส์) ต้องโดน" สำหรับเด็กนักอ่านมัธยมศึกษา วัย 12-18 ปี และครูบรรณารักษ์หรือจัดร่วมกับโรงเรียนในชุมชน กิจกรรมสุดท้าย คือ "สนุกกับบทเรียนผ่านสื่อการเรียนรู้สร้างสรรค์" สำหรับผู้ปกครองและเด็กประถมวัย 6-12 ขวบ โดยผู้ร่วมงานในแต่ละกิจกรรมจะร่วมกันโหวตหนังสือน่าอ่านที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งหมด 5 เรื่อง ที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มนักอ่าน และเป็นหนังสือที่มีในร้าน

"เราคาดหวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนและคนหลากหลายวัยในชุมชน เห็นคุณค่าของการเลือกสรรการอ่านหนังสืออย่างสมเหตุสมผล และตระหนักถึงการเลือกอ่านหนังสือที่คิดว่ามีความปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เหมาะสมในการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาตนเอง และหวังให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 1 ปี เกิดกลุ่มนักอ่านที่เชื่อมโยงกันจนช่วยสร้างรากฐานการอ่านที่ดีให้กับประเทศไทยได้" นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ นายกสมาคมฯ กล่าว

แต่ละกิจกรรมจะมีไฮไลท์เด่นและเป็นเนื้อหาเฉพาะที่นำเสนอให้เกิดความน่าสนใจให้ความสนุกสนาน สอดคล้องและเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจุดประกายแนวความคิดสร้างสรรค์และปลูกฝังความคิดรักการอ่าน กิจกรรมแรก จะเชิญชวนนักเขียน นักแปล หรือบรรณาธิการ มาร่วมเสวนาชวนพูดคุยประเด็น ถ่ายทอดไอเดียของหนังสือเล่มดัง และวิธีการเลือกอ่านหนังสือที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าอ่านอะไร อย่างไรบ้างจนเป็นนักเขียนได้ในปัจจุบันนี้ ซึ่งแต่ละท่านจะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกหนังสือที่คิดว่าปลอดภัยและสร้างสรรค์และเหมาะกับตัวเองกิจกรรมที่สอง เชิญนักวิชาการ หรือนักเขียนหนังสือเด็ก ชวนผู้ปกครองมาพูดคุยกันในเรื่อง หลักเกณฑ์ในการเลือกหนังสือเด็กของแต่ละบ้าน และเล่านิทานให้เด็กฟัง ชวนเด็กๆ เล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ และฟังเสียงเด็กๆ ร่วมกันออกความคิดเห็น

ส่วนกิจกรรมที่สาม ชวนพูดคุยเล่นเกม และเล่าเรื่องหนังสือที่น่าสนใจ ชื่นชอบสำหรับกลุ่มวัยนี้ที่ขายดีในร้านหรืออยากแนะนำให้เพื่อนอ่าน เชิญนักเขียน นักแปล วิทยากรจากสำนักพิมพ์ต่างๆ มาเล่าที่มาและความน่าสนุกของหนังสือเล่มนั้นๆ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับ ประสบการณ์การอ่านหนังสือของวัยรุ่น วิธีการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดจากบรรณารักษ์ และร่วมกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่เหมาะสมกับวัยรุ่น

สำหรับกิจกรรมที่สี่ เชิญนักวิชาการ หรือ นักเขียนหนังสือเด็ก หรือผู้ผลิตสื่อความรู้รูปแบบต่างๆ ชวนผู้ปกครองมาร่วมพูดคุยกันเรื่องสื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ ทั้งที่เป็นหนังสือและรูปแบบใหม่ๆ ชวนเด็กๆ พูดคุยเรื่องหลักเกณฑ์ในการเลือกหนังสือให้ตัวเอง พร้อมกับมีกิจกรรม Workshop กับเด็กๆ เช่น กิจกรรม D.I.Y. สอนประดิษฐ์ เล่นบอร์ดเกม ทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ที่เน้นให้ใกล้เคียงกับบทเรียนของเด็กประถม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ