สมาคมสถาปนิกสยามฯ เดินหน้าค้านก่อสร้างเทอมินอล 2 จัดแถลงการณ์ "หยุดแผน ทอท. ป่วนสุวรรณภูมิ"

จันทร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๑๘
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) เปิดเผยถึงที่มาของการจัดแถลงการณ์เรื่อง "หยุดแผน ทอท. ป่วนสุวรรณภูมิ" ว่า ก่อนหน้านี้สมาคมฯ ได้ร่วมกับ12 องค์กรวิชาชีพ จับมือถกประเด็นการก่อสร้างเทอมินอล 2" (แปะ) ณ ตำแหน่งนอกพิกัดแผนแม่บท โดยได้เปิดเวทีสาธารณะในหัวข้อ "กะเทาะเปลือกสนามบินสุวรรณภูมิ" ในครั้งนั้นผู้นำจาก 12 องค์กรวิชาชีพได้มีมติเป็นเอกฉันท์คัดค้านข้อเสนอของทอท. ซึ่งทางสมาคมฯ ได้สรุปเหตุผลของการคัดค้านและได้นำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพื่อระงับโครงการดังกล่าว แต่ปรากฎว่าทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ดึงดันที่จะเดินหน้าต่อ ดังนั้นสมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้จัดแถลงการณ์ "หยุดแผนทอท.ป่วนสุวรรณภูมิ" ขึ้น เพื่อต้องการให้ ทอท. หยุดสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง และเรียกร้องให้รัฐบาลพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิม ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว

ทั้งนี้ 12 องค์กรวิชาชีพที่ไม่เห็นด้วยกับแผนการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตามข้อเสนอทอท. ได้แก่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย สมาคมนักผังเมืองไทย สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (แห่งประเทศไทย) องค์กรเอกชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันอาศรมศิลป์

สำหรับสาระสำคัญของแถลงการณ์ "หยุดแผนทอท.ป่วนสุวรรณภูมิ" นั้นมีหัวข้อสำคัญ ๆ ดังนี้

1. ความเดิม

ตามที่ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (พ.ศ. 2553) อนุมัติให้ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยออกแบบก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก ตามแผนแม่บทท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในการขยายสนามบินเพื่อรองรับการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น แต่จนกระทั่งปัจจุบัน ทอท. ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่กลับเบี่ยงเบนโดยมีข้อเสนอให้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในตำแหน่งใหม่ปลาย Concourse A นอกพิกัดแผนแม่บทฯ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ

2. ความเสียหายของชาติที่เกิดจากการไม่ดำเนินการตามแผน

2.1 ความแออัดที่เพิ่มขึ้น (Congestion)

2.2 ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (Cost Increase)

จากความล่าช้าในการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรณภูมิตามมติ ครม. ที่ ทอท. เสนอเป็นต้นเรื่อง ทำให้สนามบินเกิดความแออัด ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้ในขณะนี้ และทำให้งบประมาณในการขยายสนามบินเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งความพยายามเบี่ยงเบนเพื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในตำแหน่งใหม่ปลาย Concourse A นอกพิกัดแผนแม่บทฯ ที่ ทอท. พยายามจะเสนอรัฐบาลนั้น ใช้งบประมาณที่สูงถึง 42,000 ล้านบาท เพราะพื้นที่อาคารมีขนาดใหญ่และเน้นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ขณะที่ประโยชน์ใช้สอยหลักของอาคารจะไม่เกิดประโยชน์ต่อกิจการด้านการเดินทางของผู้โดยสาร การบริหารจัดการจะมีความยุ่งยากเพราะต้องใช้ระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถึง 3 สาย นอกจากนี้ เมื่อพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเต็มศักยภาพแล้วจะทำให้เกิดความแออัดของการจราจรในพื้นที่ของถนนมอเตอร์เวย์ด้านทิศเหนือของสนามบิน

3. ทอท. เบี่ยงเบนให้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในตำแหน่งใหม่ปลาย Concourse A นอกพิกัดแผนแม่บทฯ เป็นการเบี่ยงเบนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ

3.1 ข้อเท็จจริง

3.1.1 ผลกระทบพื้นที่นอกเขตการบิน (Landside) ส่งผลกระทบให้ผู้ที่จะเดินทางมายังอาคารผู้โดยสาร ต้องใช้ถนนมอเตอร์เวย์ ทำให้การจราจรติดขัดไม่เกิดการกระจายตัวที่ดี

3.1.2 ผลกระทบพื้นที่ในเขตการบิน (Airside) พื้นที่หลังอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ตามข้อเสนอของทอท. คับแคบ ทำให้เครื่องบินวิ่งเข้า-ออกหลุมจอดอย่างยากลำบากและสิ้นเปลืองพลังงานเพราะเนื่องจากอาคารฯอยู่ไกลจากทางวิ่ง (Runway 1st - 3rd)

3.1.3 การบริหารจัดการ (Operation)

- อาคารผู้โดยสารใหม่ตามแบบทอท.นั้นเปลี่ยนจากหลุมจอดระยะไกล (Remote Gate) 14 หลุม เป็นหลุมจอดประชิดอาคาร (Contact Gate) 14 หลุม ซึ่งไม่สามารถทำหลุมจอดเพิ่มเติมได้ทำให้อาคารไม่สามารถรองรับผู้โดยสารตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

- เกิดความยุ่งยากในการเดินทางของผู้โดยสารเพราะเนื่องจากการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ตามที่ทอท.เสนอนั้นจะต้องก่อสร้างรถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ถึง 3 สาย เพิ่มความสับสนต่อการเดินทางอีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ทั้งนี้หากทอท.ดำเนินการตามแผนแม่บท ปี 2546 นั้นจะใช้ APM เพียงสายเดียวเท่านั้น

มีข้อเท็จจริงว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการวางผังแม่บทครั้งแรกในปี พ.ศ 2536 ประกอบด้วย รันเวย์ 4 เส้น, อาคารผู้โดยสารหลัก 2 อาคาร (ด้านทิศเหนือและทิศใต้), อาคารเทียบเครื่องบินรอง 2 อาคาร (Satellite Buildings), อาคารจอดรถ 8 หลัง, รถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) 2 สาย ที่ใช้เชื่อมระหว่างอาคารเทียบเครื่องบินรองกับอาคารผู้โดยสารหลักทั้ง 2 อาคาร ซึ่งขณะนั้นสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 100 ล้านคนต่อปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทโดยปรับรูปแบบของอาคารเทียบเครื่องบินรอง 2 อาคาร (Satellite Buildings) จากกากบาทเป็นเส้นตรงและปรับระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับเหลือ 1 สาย อีกทั้งปรับปรุงแบบอาคารผู้โดยสารหลักให้รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 120 ล้านคนต่อปี ซึ่งจวบจนปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นยังคงพัฒนาตามแผนแม่บทปี พ.ศ. 2546 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณออกแบบก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลัก (Ter-1) ด้านทิศตะวันออกวงเงิน 6,780 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น 15 ล้านคนต่อปี ทำให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัจจุบันจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านคนต่อปี ซึ่ง ทอท. ได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ไม่ยอมดำเนินการก่อสร้าง กลับขอเสนอให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ในตำแหน่งใหม่ปลาย Concourse A โดยอ้างเหตุผลว่าการก่อสร้างส่วนต่อขยายนั้นจะมีความยุ่งยากในด้านเทคนิคและดำเนินการได้ยาก ซึ่งองค์กรวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมได้ให้ความเห็นว่าเป็นการเบี่ยงเบนและแสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นการส่อทุจริต และปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มงบประมาณขึ้นจาก 38,000 ล้านบาท เป็น 42,000 ล้านบาท

4. สรุป

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนาม 12 องค์กรวิชาชีพและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เห็นควรเสนอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โปรดพิจารณาสั่งการให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดให้ ทอท.ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2553 และแผนแม่บทท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเดิม ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) แสดงความรับผิดชอบที่ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิล่าช้า ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version