ครม. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 37,000 ลบ.

อังคาร ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๑๕
ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เสนอกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 37,000 ล้านบาท ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) เปิดเผยว่า

ที่ประชุม ครม. ได้มีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 37,000 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนแผนด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ครม.

ได้มีมติให้กระทรวงนำส่งแผนดังกล่าวให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาและหาก สศช. เห็นว่าแผนครอบคลุมครบถ้วน ก็สามารถนำมาใช้ได้เลย

"กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ ครม. อนุมัตินั้น ประกอบด้วยโครงการ Flagship 30 เปอร์เซ็นต์ และโครงการปกติอีก 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งครอบคลุมการพัฒนา 4 แพลตฟอร์ม และอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 11,100 ล้านบาท 2. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 5,550 ล้านบาท

3. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 9,250 ล้านบาท 4.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ 7,400 ล้านบาท และ 5. การปฏิรูป อววน. (Reinventing Universities & Research Institutes) 3,700 ล้านบาท ทั้งนี้ งบประมาณดังกล่าวยังไม่รวมงบประมาณในการผลิตนักศึกษา งบประมาณบุคลากรงบประมาณที่หน่วยงานบูรณาการกับเจ้าภาพนอกกระทรวง ซึ่งจะเป็นงบประมาณที่จัดสรรตรงไปที่หน่วยงานโดยไม่ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม" ดร.กิติพงค์ กล่าว

ทั้งนี้ ตัวอย่างของโครงการ Flagship ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อาทิ

1. BCG in Action (Bio-Circular-Green Economy) โดยมีตัวอย่างโครงการ เช่น ระบบเกษตรปลอดภัยมาตรฐานส่งออก แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่จากแมลง Zero-waste นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย Active Ageing นวัตกรรมอาหารฮาลาล และการท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น

2. Tech-based Acceleration Program แพลตฟอร์มที่เร่งการเกิด Innovative Startup และ Tech-based Enterprise

3. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขับเคลื่อนเขตนวัตกรรมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการแข่งขันของอุตสาหกรรมอนาคตซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทนวัตกรรมในพื้นที่จำนวน 90 ราย

มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ 634 โครงการ และมีบุคลากรวิจัยและพัฒนาจำนวน 2,620 คน

4. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมระดับพื้นที่ โดยจะช่วยบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการในภูมิภาค เพื่อกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ (ตามจุดแข็งของแต่ละพื้นที่) เช่น 1) ภาคเหนือ เน้นอาหารอินทรีย์การเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากข้าว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหรรมดิจิทัล 2)ภาคกลาง เน้นชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical) เครื่องมือแพทย์ การบริการ อาหารฟังก์ชั่น และ Smart Materials 3) ภาคอีสาน เน้นปศุสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ อาหารฟังก์ชั่น เทคโนโลยีการผลิต และ 4) ภาคใต้ เน้นอาหารทะเล อาหารฮาลาล นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาง/ปาล์ม ท่องเที่ยว

5. การสร้างแรงบันดาลใจเด็ก เยาวชน ให้เกิดความตื่นตัวและพัฒนาไปสู่การเป็นนวัตกรและผู้ประกอบการในอนาคต ในรูปแบบ Public-Private Partnership รองรับเด็กและเยาวชนปีละ 2,000,000 คน เช่น Futurium Inspirium Planetarium Fab Lab &Co-working Space เป็นต้น

6. Work-integrated Learning เพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)

7. ไทยอารี (Thai Ageing Research & Innovation Platform) มุ่งทำงานเชิงรุกเพื่อตอบโจทย์สังคมสูงวัย สร้างงานวิจัยที่มีผลต่อนโยบายของประเทศ รวมถึงการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต

8. ชุมชนนวัตกรรม เน้นการพัฒนานักขับเคลื่อนชุมชนซึ่งเป็นตัวกลางสนับสนุนให้ชุมชนคิดต่อยอดจากทุนหรือจุดแข็งที่แต่ละพื้นที่มี และช่วยเหลือเชื่อมโยงชุมชนสู่องค์ความรู้แหล่งทุนและตลาด ซึ่งมหาวิทยาลัยท้องถิ่น มูลนิธิตลอดจนหน่วยส่งเสริมของภาครัฐที่กระจายตัวอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันจะเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะเร่งให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นและขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้

9. AI for All โครงการที่เน้นให้ประชาชนเข้าถึงสื่อต่างๆด้วยเทคโนโลยี AI และส่งเสริมให้เกิดแรงงานรวมถึงนวัตกรที่สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีโดยใช้ AI หรือ Machine Learning ได้ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดองค์กรที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตด้วยเทคโนโลยี AI ได้

10. เพิ่มจำนวนผลงานวิจัยที่มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (TRL : Technology Readiness Levels) ที่อยู่ในระดับสูง เช่น TRL 5 – 7 เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของ Tech-Based Enterpriseของประเทศไทยในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย