นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ทีมบริหารจัดการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยล่าสุดมีแนวโน้มชะลอตัวจากความไม่แน่นอนและปัจจัยลบจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอนทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Geopolitics) โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินอัตราการเติบโต GDP โลกในปี 2562 จะเติบโตชะลอตัวลงเหลือ 3.2% จากเดิมคาดการณ์จะเติบโต 3.3% รวมถึงปัจจัย BREXIT อังกฤษประกาศแยกตัวจากยุโรป โดยยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน นอกจากนี้หลายสำนักวิจัยประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีโอกาสประมาณ 3%+/- จากผลกระทบเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยคาดหวังนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโต
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้อยู่ในภาวะชะลอตัว แต่เป็นที่สังเกตว่าราคาสินทรัพย์เกือบทุกประเภทกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำทำให้การลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์ที่มีการจ่ายเงินปันผลที่สูงมีความน่าสนใจ โดยจากการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้นในกลุ่ม Defensive หรือหุ้นในกลุ่มที่มีค่าความผันผวนต่ำ ยังคงอยู่ระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาว
ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.พรินซิเพิล กล่าวว่า ภายใต้เศรษฐกิจทั่วโลกที่มีความผันผวนสูง เราแนะนำการจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์หรือการลงทุนในหุ้นคุณภาพที่มีผลการดำเนินงานดีอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องในระยะยาว จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของนักลงทุนยังคงเติบโตได้ภายใต้ปัจจัยการลงทุนปัจจุบัน ทีมจัดการลงทุนได้ทำการคัดเลือกกองทุน 'กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์' หรือ Principal Global Brands Fund (PRINCIPAL GBRAND) (Class A: PRINCIPAL GBRAND-A) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ
กองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Master Fund) คือ Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน (Share class Z) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (Feeder Fund) ที่บริหารจัดการโดย Morgan Stanley Investment Management (Ireland) Limited
จุดเด่นด้านกลยุทธ์การลงทุนของ Master Fund ดังกล่าวคือ 1.เน้นลงทุนในหุ้น Defensive เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินที่มีความผันผวน 2. ลงทุนในธุรกิจที่เป็นแบรนด์ระดับโลกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 3. กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีและสม่ำเสมอ และได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจาก Morningstar Ratings 4. บริหารกองทุนโดย Morgan Stanley Investment ที่มีประสบการณ์กว่า 40 ปี นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในกลุ่ม The 1st quartile fund และได้รับรางวัล Equity Manager of the Year 2019
ทั้งนี้ กองทุนหลัก เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประสบผลสำเร็จหรือมีชื่อเสียงประมาณ 20-40 บริษัทคุณภาพ โดยพิจารณาเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลก การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าภายใต้แฟรนไชส์ธุรกิจที่แข็งแกร่งในทุกอุตสาหกรรม และเป็นผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม จุดแกร่งของบริษัทเหล่านี้คือสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ และมีโอกาสเติบโตในระดับที่สมเหตุสมผล มีรายได้ต่อเนื่อง มีงบการเงินที่แข็งแกร่งจากการมีทีมงานบริหารที่มีศักยภาพ อาทิ แบรนด์ Microsoft ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ Software จากประเทศสหรัฐอเมริกา, Phillip Morris ผู้ประกอบธุรกิจผลิตยาสูบในประเทศสหรัฐอเมริกา, Visa ผู้ประกอบธุรกิจระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิคส์เจ้าของ Platform การจ่ายเงินในรูปแบบการ์ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ
ขณะที่ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนหลัก นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (มิถุนายน 2551 ถึง เดือนกรกฎาคม 2562) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.2% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI World Net Index ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.7% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนนับจากต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 22.7% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน MSCI World Net Index ที่ให้ผลตอบแทน 17.6%
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์ Principal Global Brands Fund (PRINCIPAL GBRAND) เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) วันที่ 5-13 กันยายน 2562 กำหนดวงเงินสั่งซื้อขั้นต่ำครั้งละ 5,000 บาท สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถขอหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595 website www.principal.th
Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund ผลการดำเนินงานกองทุนตั้งแต่ 11 มิถุนายน 2551 –
31 กรกฎาคม 2562
Source: Morningstar Data as of Jul 2019
กองทุนรวมดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขออนุมัติจัดตั้ง และจัดการกองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน(Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้/กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศอเมริกา และประเทศอังกฤษ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต