ทรีนีตี้ คาด SET Index เดือนกันยายน 62 แกว่งตัวไปตามปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ

จันทร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๕:๑๑
ทรีนีตี้ คาด SET Index เดือนกันยายน 62 แกว่งตัวไปตามปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ โดยประเมินกรอบแนวรับแรกที่ 1,600 จุด และแนวรับสำคัญที่ 1,570 จุด ส่วนกรอบแนวต้านสำคัญอยู่ที่บริเวณ 1,680-1,700 จุด กลยุทธ์การลงทุนแนะจัดสรรพอร์ตหุ้นด้วยสูตร 80:20 ต่อไป

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยว่า SET Index ในเดือนกันยายน 2562 คาดการณ์ว่าจะแกว่งตัวไปตามปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ โดยประเมินกรอบแนวรับแรกไว้ที่ 1,600 จุด และแนวรับสำคัญไว้ที่ 1,570 จุด ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยในแง่ของValuation ในทางกลับกัน กรอบแนวต้านสำคัญอยู่ที่บริเวณ 1,680-1,700 จุด ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่า Forward PE กรณีดีสุดที่ 15 เท่า ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำนักลงทุนถือหุ้นในส่วนเดิม ส่วนเงินสดในส่วนที่เหลือ แนะนำถือเพื่อรอสะสมหุ้นที่บริเวณแนวรับ ในสภาวะที่ความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกยังคงมีอยู่

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในเดือนนี้ ประกอบด้วย 1.พัฒนาการของประเด็นสงครามการค้า หลังทั้งจีนและสหรัฐฯเริ่มต้นเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มเติมต่อกันบางส่วนแล้วในวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการค้าขายสินค้าระหว่างกันในตลาดโลก แต่ในแง่ของตลาดทุนนั้นประเมินเป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้แล้ว จึงแนะนำให้จับตาท่าทีของทั้ง 2 ฝ่ายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเจรจาการค้ารอบใหม่ รวมไปถึงท่าทีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต่อผลการประชุม Fed ในช่วงกลางเดือนนี้

2. พัฒนาการของความชัน Yield curve ทั่วโลก โดยเฉพาะของสหรัฐฯและไทย โดยจะต้องติดตามว่าส่วนต่าง Bond yield รุ่นอายุ 10 ปีเทียบ 2 ปีของสหรัฐฯ จะสามารถขึ้นมายืนเป็นบวกได้หรือไม่ ส่วนทางฝั่งของประเทศไทยที่ล่าสุดส่วนต่างนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำใกล้ 0% นั้น หากในช่วงถัดไปมีการปรับตัวลงมาติดลบ คาดจะเป็นการสร้างแรงกดดันให้กนง.ต้องมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตได้เช่นกัน

3.การประชุมธนาคารกลางสำคัญต่างๆ เริ่มตั้งแต่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 12 กันยายน ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit facility) ลงจากระดับ -0.4% เป็น -0.5% การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 17-18 กันยายน ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 2.00-2.25% เป็น 1.75-2.00% การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในวันที่ 18-19 กันยายน ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม -0.1% แต่อาจมีการออกมาตรการผ่อนคลายรูปแบบอื่น และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันที่ 25 กันยายน ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 1.5%

หากผลการประชุมของธนาคารกลางต่างๆเหล่านี้ออกมาสอดคล้องกับสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้ มองจะไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นมากนัก แต่หากผลที่ออกมาดีหรือแย่กว่าตลาดคาด ประเมินว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดผันผวนได้ ด้วยเหตุนี้ จึงแนะนำนักลงทุนจัดสรรน้ำหนักการลงทุนหุ้นด้วยสูตร 80:20 ต่อไป โดยน้ำหนัก 80% จัดสรรไปยังหุ้นกลุ่ม Domestic (BJC, CPALL, ADVANC, INTUCH, BCH, BEM, RATCH, EASTW, VGI, S11, THANI, AMANAH, REIT & IFF) และน้ำหนักอีก 20% จัดสรรไปยังหุ้นกลุ่ม Cyclical (IVL, PTTEP)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ