มูลนิธิที่อยู่อาศัย จัดการประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ณ ประเทศไทย

อังคาร ๐๓ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๕๕
ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำและผู้ที่อยู่ในกลุ่มชายขอบจะมีโอกาสปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้อย่างไร

แนวทางในการปรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การทำงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ สามารถแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยได้อย่างไร

ประเด็นเหล่านี้จะเป็นประเด็นที่ใช้ในการร่วมอภิปรายในการประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16-19 กันยายน 2562 ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย ฟอรัมนี้จัดขึ้นโดยองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล และพันธมิตร โดยงานนี้จะรวบรวมผู้นำวงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัย และนักคิดรุ่นใหม่ในวงการธุรกิจที่อยู่อาศัย ภายใต้หัวข้อ "การร่วมมือเพื่อช่วยเหลือผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย" ซึ่งเป็นประเด็นที่จะดึงดูดผู้เกี่ยวข้องจากหลากหลายภาคส่วนมาร่วมค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่พักอาศัยไม่เพียงพอและย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ

ฟอรัมนี้มีจุดประสงค์ในการอภิปรายให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ การสร้างและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรที่มีความสามารถในการส่งผลกระทบในเชิงบวกและผลักดันความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำ การรับรู้และดำเนินการเกี่ยวกับความสำคัญของที่พักพิงในฐานะตัวขับเคลื่อนของการรวมความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และการส่งเสริมผู้นำและผู้เกี่ยวข้องด้วยนวัตกรรมและโครงการบ้านจัดสรรที่มีผลกระทบสูงผ่านการแบ่งปันแนวทางในการปฏิบัติที่ดีที่สุด

"การประชุมวิชาการด้านที่อยู่อาศัยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นั้นเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในประเด็นด้านที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรการเงินระดับฐานรากที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย" คุณอรุนา โลกัส ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งก่อน และ ผู้จัดการบริษัท Micro Housing and Enterprise Development LOLC Finance สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกา กล่าว นอกจากนี้ เธอยังกล่าวเสริมว่า "การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ฉันสามารถรวบรวมความรู้และความคิดจากการประชุมนำไปต่อยอดได้ โดยการนำไปใช้ในบริบทท้องถิ่นได้อีกด้วย"

การประชุมที่ผ่านมายังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อยอดและปฏิบัติจริงทั่วประเทศโดยเฉพาะแคมเปญ "Sensitise 2 Sanitise" ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแคมเปญที่มูลนิธิที่อยู่อาศัย อินเดีย ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลอีก 15 แห่งจากภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน การร่วมมือกันครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมซึ่งได้มาจากการประชุมด้านที่อยู่อาศัย ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จัดขึ้นในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียอีกด้วย

ความสำเร็จที่เกิดจากการร่วมมือกันนั้นสามารถช่วยเหลือประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยผ่านแนวทางที่มีความยั่งยืนและหลักฐานเชิงประจักษ์

โดยการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมมากกว่า 400 คน นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมของเยาวชนและหลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการเสริมสร้างความมั่นคงของที่ดินเพื่อการฟื้นฟูจากภัยพิบัติจัดโดยมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล ร่วมกับมหาวิทยาลัย ITC-University of Twente ที่มากไปกว่านั้น จะมีการให้รางวัลนวัตกรรมการแก้ปัญหาทันสมัยที่นำไปสู่บ้านเมืองปลอดภัยยืดหยุ่นและยั่งยืน การประชุมครั้งนี้ยังมีการแทรกและแสดงตัวอย่างที่อยู่อาศัยที่ประสบความสำเร็จในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภัยพิบัติความยืดหยุ่นและการพัฒนาชุมชน โครงการและความคิดริเริ่มจากการประชุมครั้งนี้ได้ผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้วจากองค์กรต่างๆ และขยายขอบเขตการปฏิบัติไปในระดับภูมิภาค

คุณทิม โล้ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย กล่าวว่า "งานของมูลนิธิที่อยู่อาศัยยึดหลักการ "'Through shelter, we empower" ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและราคาไม่แพงนั้นเป็นพื้นฐานในการช่วยให้มนุษย์มีความแข็งแกร่ง มั่นคง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ พวกเขาต้องการที่อยู่อาศัยในการสร้างชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับตนเองและครอบครัว สิ่งที่ดีไปกว่าการระดมอาสาสมัครและสร้างบ้านที่อยู่อาศัย คือการสร้างผลกระทบที่แท้จริง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับโลกที่ทุกคนมีที่อยู่อาศัยที่คุณภาพดี"

"การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมากของ Habitat ที่มีจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้นำในการสร้างการรับรู้ที่อยู่อาศัยในฐานะที่เป็นรากฐานที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคเพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี รวมไปถึงมีความมั่นคงทางการเงิน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนกี่ยวข้องทุกภาคส่วน"

ฟอรัมการเคหะแห่งเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 7 ได้รับการสนับสนุนโดย Ananda Development, Hilti Foundation, HMTX Industries และ Bloomberg พันธมิตรอื่นๆ ได้แก่ UN-Habitat Cities Alliance สภากาชาดระหว่างประเทศและสภาเสี้ยววงเดือนแดง World Bank Arup และมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version