เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนจากบริษัทย่อยของหัวเว่ยในสหรัฐฯ ได้พบกับ มร. รุย เปโดร โอลิวิเอรา ตามคำขอพบของ มร. โอลิวิเอรา ในการประชุมครั้งนั้น มร. โอลิวิเอรา ได้นำเสนอดีไซน์กล้องแก่ตัวแทนของหัวเว่ย ซึ่งเขาได้อ้างว่าดีไซน์ดังกล่าวกำลังรอการอนุมัติสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกาอยู่ แต่หัวเว่ยไม่ได้นำดีไซน์ของเขาไปใช้
ในปี 2560 หัวเว่ยได้เริ่มจำหน่ายกล้องพาโนรามา EnVizion 360 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยพนักงานของหัวเว่ยซึ่งไม่เคยทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับงานดีไซน์ของ มร. โอลิวิเอรา เลย กล้องของหัวเว่ยนั้นมีเลนส์ที่ขยายไม่ได้ทั้งสองด้าน โดยออกแบบมาเพื่อการถ่ายภาพพาโนรามา ซึ่งแตกต่างจากกล้องเลนส์เดี่ยวที่ขยายได้ของ มร. โอลิวิเอรา
ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 และต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมีนาคม 2562 มร. โอลิวิเอรา เริ่มส่งอีเมลถึงหัวเว่ย โดยอ้างว่า EnVizion 360 ละเมิดสิทธิบัตรสหรัฐฯ ของเขา ในอีเมลของเขามีข้อความข่มขู่ และกล่าวว่าหากหัวเว่ยไม่จ่ายเงินในจำนวนมหาศาลให้แก่เขา เขาจะนำเรื่องนี้ไปบอกสื่อมวลชนและกดดันหัวเว่ยผ่านช่องทางที่อาศัยการเมือง
หัวเว่ยปฏิเสธคำกล่าวอ้างว่าบริษัทละเมิดสิทธิบัตรโดยสิ้นเชิง และได้แสดงเอกสารเพื่อสนับสนุนการปฏิเสธมา ณ ที่นี้ด้วย (โปรดดูภาพเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทั้งสองชิ้นที่ด้านล่าง) อย่างไรก็ตาม มร. โอลิวิเอรา ยังคงให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่สื่อ โดยหวังที่จะทำลายชื่อเสียงของหัวเว่ย และยังได้พยายามกดดันหัวเว่ยผ่านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอีกด้วย เพื่อให้หัวเว่ยยอมจำนนและจ่ายเงินจำนวนมหาศาลให้แก่เขา
เพื่อปกป้องชื่อเสียง สิทธิ และผลประโยชน์ของบริษัท หัวเว่ยได้ยื่นคำร้องต่อศาลสหรัฐฯ เพื่อประกาศการไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ ของ มร. โอลิวิเอรา ในวันที่ 26 มีนาคม 2562 การร้องเรียนเป็นกระบวนการตามกฎหมายที่บริษัทพึงกระทำ อย่างไรก็ตาม มร. โอลิวิเอรา ปฏิเสธที่จะรับเรื่องร้องเรียนและไม่ปรากฏตัวตามหมายนัดศาล ซึ่งส่งผลให้กระบวนการในศาลล่าช้า
เห็นได้ชัดว่า มร. โอลิวิเอรา กำลังใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ในขณะนี้ เขากำลังพยายามให้ข้อมูลเท็จผ่านสื่อเพื่อฉวยโอกาสจากความตึงเครียดทางการเมือง ณ ตอนนี้ เราไม่ควรส่งเสริมการกระทำในลักษณะนี้ อีกทั้งยังไม่ควรมองว่าการสืบสวนอาชญากรรมโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เป็นเรื่องที่สมควรทำ
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากอิทธิพลทางการเมืองและการทูตเพื่อโน้มน้าวรัฐบาลประเทศอื่นๆ ให้แบนอุปกรณ์จากหัวเว่ย นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังใช้ทุกวิถีทางที่มี อันรวมถึงอำนาจในการบริหารและอำนาจศาล ตลอดจนวิธีที่ไม่ซื่อตรงมากมาย เพื่อขัดขวางการดำเนินธุรกิจที่ราบรื่นของหัวเว่ยและพันธมิตร การกระทำที่ไม่ซื่อตรงเหล่านั้น ได้แก่
- ออกคำสั่งให้ผู้มีอำนาจทางกฎหมาย ทำการข่มขู่ คุกคาม บีบบังคับ หลอกลวง และปุกปั่นพนักงานและอดีตพนักงานของหัวเว่ย ให้ทรยศบริษัทและทำงานให้สหรัฐฯ แทน
- ทำการค้น กักขังหน่วงเหนี่ยว หรือแม้กระทั่งจับกุมพนักงานหัวเว่ย และพันธมิตรของบริษัท
- พยายามล่อให้เกิดการกระทำผิดหรือแสร้งว่าเป็นพนักงานหัวเว่ยเพื่อทำการปลอมแปลงทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนคำกล่าวอ้างที่โจมตีหัวเว่ยซึ่งไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- เริ่มการโจมตีในโลกไซเบอร์เพื่อแทรกซึมเข้ามาในอินทราเน็ตและระบบสารสนเทศภายในของหัวเว่ย
- ส่งเจ้าหน้าที่เอฟบีไอไปที่บ้านของพนักงานหัวเว่ยและกดดันให้พวกเขาเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
- ดำเนินการประสานงานและคบคิดกับบริษัทที่ทำงานร่วมกับหัวเว่ย หรือบริษัทที่มีข้อขัดแย้งทางธุรกิจกับหัวเว่ย เพื่อตั้งข้อกล่าวหาต่อหัวเว่ย ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่พิสูจน์ไม่ได้
? - เริ่มการสืบสวนโดยอิงจากรายงานสื่ออันเป็นเท็จ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อโจมตีบริษัท
- ขุดคดีเก่าๆ ที่ได้รับการพิพากษาไปแล้ว และเลือกที่จะสวบสวนคดีอาชญากรรมหรือยื่นฟ้องหัวเว่ยในคดีอาญา โดยอาศัยคำกล่าวอ้างเรื่องการขโมยเทคโนโลยี
- ขัดขวางการดำเนินธุรกิจและการสื่อสารทางเทคนิคที่เคยเป็นปกติเรียบร้อย โดยใช้วิธีข่มขู่ การปฏิเสธวีซ่า และการยับยั้งการจัดส่งผลิตภัณฑ์ และวิธีอื่นๆ
ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดเพียงข้อเดียวก็คือ หัวเว่ยไม่ได้ครอบครองเทคโนโลยีหลักชิ้นใดที่ละเมิดสิทธิ์ตามที่บริษัทถูกกล่าวหา และที่ผ่านมา ก็ไม่มีคำกล่าวหาใดจากรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ เราขอประณามความพยายามใส่ร้ายป้ายสีโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อลดความน่าเชื่อถือและความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของหัวเว่ย
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการวิจัยและพัฒนา เรามีพนักงานที่ขยันขันแข็งกว่า 180,000 คนทั่วโลก และได้รับความไว้วางใจและการสนับสนุนจากลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพันธมิตรมากมาย
กลุ่มคนเหล่านี้ทำให้บริษัทของเราประสบความสำเร็จ และไม่มีบริษัทใดในโลกที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ผ่านเส้นทางที่อาศัยการโจรกรรม