ก.เกษตรฯ (แปลงข้าวโพดอัจฉริยะกำจัดหนอนกะทู้)

ศุกร์ ๐๖ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๔๗
ขับเคลื่อนแปลงข้าวโพด : นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรแบบแม่นยำ มาทดสอบใช้ในแปลงเรียนรู้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ฃ

กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวนวัตกรรมไฮเทคโดรนปราบหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ปลอดภัยต่อผู้ใช้ Kick off ณ แปลงเกษตรอัจฉริยะ จ.นครสวรรค์ ลดการใช้แรงงาน ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายบุญมี แท่นงาม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ ให้การต้อนรับ นายสมพงษ์ ทองช่วย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กล่าวรายงาน และเกษตรกรกว่า 200 เข้าร่วม ว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยสถานการณ์การผลิตในปี 2561 พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561-2562 พบว่า มีความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ มากถึง 8.25 ล้านตัน

สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในครั้งนี้ ดำเนินงานในพื้นที่ขอนายอำนาจ เอี่ยมสุภา สมาชิก ศพก. ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ โดยเปรียบเทียบกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมของเกษตรกร กับกรรมวิธีการผลิตแบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะต่างๆ รวมถึงการทำการเกษตรแบบแม่นยำ มาทดสอบใช้ในแปลงเรียนรู้ ครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการผลิตพืช ตั้งแต่ 1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ด้วยการคลุกสารเคมีป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด 2. การเก็บตัวอย่างดินเพื่อจัดทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน สำหรับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินตามความต้องการของพืช 3. การปรับระดับดินด้วย Laser Land leveler และการเตรียมดินโดยใช้แทรคเตอร์ติดตั้งระบบพวงมาลัยอัตโนมัติ นำร่องด้วยระบบ GPS 4. การปลูกด้วยระบบนิวเมติก ที่ให้จำนวนต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นจากการปลูกปกติ 69% 5. การสำรวจความต้องการธาตุอาหารของพืช (ไนโตรเจน) ด้วยเครื่อง CropSpec (เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น) และ 6. การพ่นสารเคมีกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยโดรน ซึ่งมีความปลอดภัยต่อเกษตรกร ประหยัดเวลาการพ่นสารลง 95% และประหยัดการใช้น้ำในการผสมปุ๋ย 95% เมื่อเทียบกับวิธีปกติ เป็นต้น ตลอดจนการใช้ sensor ตรวจวัดสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจากแปลงจะถูกรวบรวม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา Big Data Platform ด้านการเกษตรอัจฉริยะ ที่สามารถประมวลผลข้อมูลผ่านระบบ internet เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการทำเกษตรกรรมได้อย่างแม่นยำ ผ่าน Application ต่างๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมกับการเกษตรของประเทศไทย และนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่ได้รับการทดสอบจากแปลงเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ 6 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และสับปะรด พร้อมทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดทำ Big Data ด้านเกษตรอัจฉริยะ พร้อมกันนี้ ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการ Startup ด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรอัจฉริยะที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ในราคาย่อมเยาว์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับพี่น้องเกษตรกร ตลอดจนมุ่งหวังให้เกษตรกรได้รับความรู้ เกิดแนวคิด และได้เห็นประจักษ์ ถึงประโยชน์ของการทำเกษตรอัจฉริยะ และสามารถตัดสินใจที่จะเลือกนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ไปใช้ โดยเน้นการรวมกลุ่มเกษตร เพื่อให้สามารถมีกำลังในการจัดหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ได้

"งานในวันนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ ศูนย์วิจัยพืชไร่ โดย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร รวมทั้ง หน่วยงานพันธมิตร และผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและเครื่องจักรกลต่างๆ มาใช้ในแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จัดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดการสูญเสียผลผลิต และลดการใช้แรงงาน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการในรูปแบบประชารัฐ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ร่วมสนับสนุนดำเนินการกับหน่วยงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่นำมาใช้ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของเกษตรกร พร้อมทั้งเก็บข้อมูลด้านต้นทุน การดำเนินการในการทำเกษตรอัจฉริยะเทียบกับการดำเนินการตามวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าในการดำเนินการ" นางสาววราภรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ