เปิดรับบทคัดย่อ “วิจัยแก้ปัญหาสุขภาพคนข้ามชาติ”

จันทร์ ๐๙ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๕๗
ช่องว่างทางสุขภาพของประชากรข้ามชาติ 'ความจริงกับสิ่งที่รับรู้' จากปัญหาสู่ทางออกด้วยการขับเคลื่อนทางวิชาการ พร้อมชวนคนไทยส่งบทคัดย่อ "วิจัยแก้ปัญหาสุขภาพคนข้ามชาติ"

แม้ว่าปัจจุบันจะมีทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศ และมติต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อการปกป้องสิทธิทั้งของผู้ลี้ภัย และประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2560-2561) ประเทศไทยได้มีการจัดระเบียบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวโดยกระทรวงแรงงาน ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายโดยเฉพาะแรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) สามารถเข้าสู่กระบวนการทำงานได้อย่างถูกกฎหมายและได้รับการคุ้มครองทางสุขภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายต่างๆ ในระบบสุขภาพยังคงมีอยู่ จากรายงานการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เช่น การทบทวนกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันสุขภาพสำหรับประชากรข้ามชาติ และการจัดระบบและคาดการณ์งบประมาณเพื่อชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ในภาวะวิกฤต สำหรับบุคคลต่างด้าวและผู้ติดตามที่ตกหล่นจากการประกันสุขภาพในประเทศไทย พบว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรข้ามชาติยังเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางของประเทศในด้านการบริหารจัดการหลักประกันสุขภาพของประชากรข้ามชาติอย่างมีเอกภาพ และการมีกลไกทางการเงินการคลังรองรับอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่จะต้องมีการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบและแนวทางในการพัฒนาที่สมเหตุผลต่อไป

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงระหว่างภาคีสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก พ.ศ.2560-2664 (Letter of Agreement among Organization participation in the WHO-RTG Country Strategy : CCS) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการยกระดับการดูแลสุขภาพให้แก่ประชากรข้ามชาติและกลุ่มเปราะบาง ผ่านยุทธศาสตร์การทำงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.การสร้างและจัดการองค์ความรู้ 2.การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และ 3.การสร้างเสริมศักยภาพเชิงองค์กรและเครือข่ายการทำงาน จึงได้กำหนดจัดประชุมวิชาการระดับชาติด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติครั้งที่ 1 ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานที่ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับประชากรข้ามชาติในประเด็นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อประโยชน์ในการสังเคราะห์งานวิจัยในภาพรวมของประเทศ

ทั้งนี้ เปิดรับบทคัดย่อเพื่อคัดเลือกสำหรับการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ภายในงาน ภายใต้แนวคิด "สุขภาพคนข้ามชาติ : ความจริงกับสิ่งที่รับรู้" โดยเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพ ผลลัพธ์สุขภาพของ (1) แรงงานข้ามชาติ (2) เด็กข้ามชาติ (3) ชนชาติพันธุ์ และ (4) การจัดระบบประกันสุขภาพสำหรับประชากรข้ามชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้ผลงานวิจัยในการขับเคลื่อนและการตัดสินใจเชิงนโยบายผ่านกลไกต่างๆ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการยกระดับองค์ความรู้ด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติระหว่างสถาบันที่ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับประชากรข้ามชาติในประเด็นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในปี 2562 และต่อไปในอนาคต

ผู้สนใจสามารถส่งบทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย และสาระสำคัญของการศึกษา โดยให้ระบุคำว่า "Migrant Health 2019" ไว้หน้าชื่อบทคัดย่อ โดยส่งได้ทางอีเมล์ [email protected] หรือ [email protected] ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 กันยายน 2562 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hsri.or.th/researcher/notice/activity/detail/11996

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version