ทีม รร.วิทยาศาสตร์จุราภรณราชวิทยาลัย จ.นครศรีธรรมราชคว้าแชมป์ “THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019”

จันทร์ ๐๙ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๔:๐๙
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดการแข่งขัน "THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019" รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศการประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) และจรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล (Sugar Rocket) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลปรากฏทีมจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุราภรณราชวิทยาลัย จ.นครศรีธรรมราช คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองพร้อมเงินรางวัล และร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศรัสเซีย ต่อไป

นางกรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "การจัดแข่งขัน "THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019" มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผ่านการแข่งขันประดิษฐ์ CANSAT – Rocket ร่วมกัน โดยมีการแข่งขันเมื่อวันที่ 6 – 8 กันยายน 2562 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน นำไปสู่การอยากเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศ โดยทีมชนะเลิศการประดิษฐ์ Cansat (ดาวเทียมขนาดเล็ก) และ Sugar Rocket (จรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล) จะได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติซึ่งจะเป็นบันไดให้กับทีมเยาวชนได้พัฒนาตนเองต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป"

พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) กล่าวว่า "การแข่งขัน "THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019" รอบชิงชนะเลิศ เป็นการบูรณาการความร่วมมืออันดียิ่งของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนของชาติ ในฐานะที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มีจุดกำเนิดในการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง DTI-1, DTI-1G, D2, D9 และ D11A สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศ และการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศสนับสนุนภารกิจฝนหลวง จากการสั่งสมองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ทดสอบ ทดลองกว่า 10 ปี ปัจจุบัน สทป. สามารถพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. ทำการทดสอบภาคพลวัตในระยะยิง 40 กิโลเมตร ได้สำเร็จในห้วงเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรเป็นอย่างสูง นักวิจัยและพัฒนาของ สทป. ได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผ่านการอบรมความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล (Sugar Rocket) และดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) ขึ้นสู่อากาศได้ด้วยตนเอง โดย สทป. มุ่งหวังให้เยาวชนระดับมัธยมปลายที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน ได้รับความรู้ เกิดแรงบันดาลใจ มุ่งมั่นในการประดิษฐ์ คิดค้น ผลงานวิจัย ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมและความมั่นคงของชาติ พัฒนาต่อยอดสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับประเทศ"

โดยผลปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ เป็นของทีม COSMOS จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุราภรณราชวิทยาลัย จ.นครศรีธรรมราช รับเงินรางวัล 10,000 บาท และถ้วยเกียรติยศ พร้อมได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ ประเทศรัสเซีย ต่อไป

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นของ ทีม YSP CANSAT-ROCKET จากโรงเรียนยโสธรพิทยาคม จ.ยโสธร ได้รับเงินรางวัล 7,500 บาท

และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เป็นของ ทีม Economical Satellite Deployment Rocket จากโรงเรียนอัสสัมชัญ จ.กรุงเทพฯ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท

ซึ่งจากความร่วมมือระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ( สทป.) ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมอีกขั้น ในการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนไทย พร้อมมีศักยภาพเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ