เพราะการทำวิจัย ต้องเข้าใจความต่าง Qualitative Consumer and Marketing Research: The Asian Perspectives and Practices หนังสือที่ควรอ่านก่อนทำวิจัยผู้บริโภคเอเชีย

อังคาร ๑๐ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๐:๔๙
รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด Sasin School of Management (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และเจ้าของผลงานหนังสือ Qualitative Consumer and Marketing Research: The Asian Perspectives and Practices (งานวิจัยผู้บริโภคเชิงคุณภาพและการวิจัยการตลาด: มุมมองและข้อปฏิบัติในการทำวิจัยในบริบทเอเชีย) กล่าวถึงผลงานเล่มล่าสุดว่า "มีงานวิจัยเชิงคุณภาพมากมายในเอเชีย แต่มีจำนวนน้อยที่จะเน้นเรื่องวิธีการทำงานวิจัยในเอเชีย หนังสือเล่มนี้ พูดถึงความแตกต่างของโลกตะวันตกและเอเชียในเรื่องวิธีการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านทั่วโลกเข้าใจ และสามารถดำเนินการวิจัยผู้บริโภคเชิงคุณภาพในตลาดเอเชียได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

รศ. ดร.กฤตินี กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผู้บริโภคชาวเอเชียมีแบบแผนทางพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การยึดติดกับกับกลุ่มและให้ความสำคัญกับลำดับชั้นทางสังคม ซึ่งในด้านการทำวิจัยนั้น จริงอยู่ผู้บริโภคชาวเอเชียเปิดให้สร้างความสัมพันธ์ได้ไม่ยาก แต่นักวิจัยมักต้องใช้เวลานาน และต้องหาเทคนิคที่เหมาะสมในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับผู้เข้าร่วมการวิจัยมากกว่าในประเทศตะวันตก"

"อยากให้นักวิชาการและผู้ที่สนใจในตลาดผู้บริโภคในเอเชียที่กำลังเติบโต รวมทั้งนิสิตนักศึกษา ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก่อนลงมือทำวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อจะได้ทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคในเอเชีย และสามารถปรับเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพให้เข้ากับตลาดเอเชียได้ (เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง)" รศ.ดร.กฤตินี กล่าว

รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาดที่ศศินทร์ Sasin School of Management (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยสอนหลักสูตร MBA และ Executive MBA และสอนด้านการวิจัยผู้บริโภคและการตลาดเชิงคุณภาพ (ปริญญาเอก) อีกทั้งเป็นผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล รศ.ดร.กฤตินี ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ในด้านการตลาดจาก Kellogg School of Management, Northwestern University มีความสนใจด้านการวิจัย และมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยผู้บริโภคเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง การตลาดการขับเคลื่อน (Social Movement Marketing) และการตลาดเพื่อสังคม ผลงานของ รศ.ดร. กฤตินีได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำหลายแห่ง เช่น Journal of Consumer Research, Journal of Consumer Psychology, Journal of Retailing, Business Horizon, and Journal of Contemporary Ethnography นอกจากนี้ รศ.ดร. กฤตินียังเป็นคอลัมนิสต์ประจำสัปดาห์ของกรุงเทพธุรกิจตั้งแต่ปี 2548 บทความต่างๆของอาจารย์ได้รับการตีพิมพ์รวมเล่ม 4 เล่ม ได้แก่ Merry Marketing การตลาดเพื่อความสุข, Marketing Panorama การตลาดมุมกว้าง, Marketing Magnitude มิติการตลาด, Marketing Spectacles เลนส์การตลาด และยังมีผลงานตำรา Consumption and Marketing: The Asian Perspectives and Practices

ผู้ที่สนใจสามารถหาหนังสือ Marketing Research; The Asian Perspectives and Practices โดยสำนักพิมพ์ Springer ได้ที่เว็บไซต์ของ MacMillan International และที่ร้านหนังสือทั่วไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ