ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ อพวช.มีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมการที่ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562 (WRO) ในครั้งนี้จึงถือเป็นการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยในด้านอัจฉริยะสมองกล
เพิ่มโอกาสให้เด็กไทยได้ลงมือฝึกหัดใช้ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะผ่านชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ และการหัดเขียนโปรแกรม (Coding) ซึ่งการแข่งขันในปีนี้ อพวช. ได้ส่งนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการตัดสินผู้ชนะในแต่ละประเภทเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับนานาชาติ อีกด้วย"
โดยผลปรากฏว่า มีตัวแทนจากเยาวชนไทยที่ชนะการแข่งขันและได้เป็นตัวแทนไปแข่งขัน ณ เมืองเยอร์ ประเทศฮังการี ดังนี้
- Champ of the Champ -
- อายุไม่เกิน 12 ปี ทีม Organic จาก สถาบันหุ่นยนต์สมุย บอท
- อายุไม่เกิน 15 ปี ทีม TS1 จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
- อายุไม่เกิน 19 ปี ทีม TS2 จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 12 ปี -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทีม OOB จาก สถาบันหุ่นยนต์โรโบมายมีโชค
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม RBC_Patai Udom Suksa จาก โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 15 ปี -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทีม TS1 จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ACL01 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม TS5 จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
- ประเภททั่วไป อายุไม่เกิน 19 ปี -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Don't Give Up จาก โรงเรียนพระทองคำวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม TS2 จาก โรงเรียนเทพมิตรศึกษา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม TOR.4 B จาก โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
- ประเภทความคิดร้างสรรค์ -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (อายุไม่เกิน 12 ปี) ทีม ACEP_Junior จาก โรงเรียนอัสสัมชัญหลักสูตรภาษาอังกฤษ (จ.สมุทรสาคร)
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (อายุไม่เกิน 15 ปี) ทีม T.5 ROBOT-2 จาก โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (อายุไม่เกิน 19 ปี) ทีม KMIDS_Quixotic จาก King Mongkut's International Demonstration School
- ประเภททั่วไป ระดับมหาวิทยาลัย -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Love Father 3000 จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Lucky Robot จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Robo AC An an จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ประเภทหุ่นยนต์เตะฟุตบอล -
- รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ทีม AC_Robot 1 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพฯ)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม SG_Alpha จาก โรงเรียน เซนต์คาเบรียล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม AC_ Robot 2 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ (กรุงเทพฯ)
ผศ.ดร.รวินฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมไทยในหลากหลายมิติ อพวช.จึงเล็งเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า ให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4.0 ของประเทศไทย สู่การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในอนาคตต่อไป