นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพของประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจัดงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ เป็นงานที่ใหญ่ที่สุด โดยมีบริษัทมากกว่า 60 บริษัท โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากปี 2560 ซึ่งครอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค
นายแพทย์ประพนธ์ กล่าวต่อว่า"จากการร่วมมือของบริษัทไทยหลายแห่ง แสดงให้เห็นว่าการแสดงสินค้ามีความสำคัญอย่างมาก เป็นก้าวสำคัญไปเพื่อสู่ตลาดทั้งในประเทศและในภูมิภาค รวมถึงได้แสดงความสามารถของคนไทยด้วย"
ด้าน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวต่อว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากในการกลับมาครั้งนี้ เพราะเราจะได้แบ่งปันเป้าหมายและให้ความสำคัญกับคุณค่าร่วมกัน เช่น การจัดงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ โดยสนช. มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศไทยและช่วยนักพัฒนาธุรกิจด้านนวัตกรรมจำนวนมากให้บรรลุเป้าหมายของตนด้วยบริการ เช่น โครงการบ่มเพาะ การเร่งอัตราการเติบโตสำหรับส่งเสริมศักยภาพด้านนวัตกรรม รวมถึงกองทุนต่างๆ สนช.ยังช่วยให้นักประดิษฐ์ไทยได้รับการยอมรับจากนานชาติ เพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ และการเติบโตของตลาดในประเทศและภูมิภาค
สนช. จะจัดแสดงสินค้าที่กำลังเป็นเทรนด์ที่ร้อนแรงที่สุดด้านวิทยาศาสตร์กาแรพทย์ เช่น การพิมพ์ขาเทียม 3 มิติ, Wearable Technology และ Telemedicine และอีกส่วนหน่วยงานที่เข้าร่วมกับสนช. คือศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) นำเสนอภาคส่วนด้านชีววิทยาศาสตร์ที่กำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งและกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตอุปกรณ์การแทพย์และสุขภาพ (MEDIC) โดยจะรวมถึงผู้ผลิตน้ำยางรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งได้แก่บริษัท ศรีตรัง โกลฟส์ดร.พันธุ์อาจ กล่าวสรุป
คุณกนกพร ดำรงกุล ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB)กล่าวว่า TCEB ได้ให้การสนับสนุนงานครั้งนี้ ในการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ธุรกิจ MICE เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ MICE เข้ามาในประเทศถึง1.25 ล้านคน ในปี พ.ศ.2561 ก่อให้เกิดเงินเข้าประเทศ9.5 หมื่นล้านบาท โดยการแสดงสินค้าในครั้งนี้ มีจำนวน 1,000ราย จาก 60 ประเทศ และแสดงผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000รายการ ซึ่งครอบคลุมไปถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพที่เปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนาด้านการแพทย์ อุปกรร์วินิจฉัยโรค ระบบารเฝ้าระวังผู้ป่วย วัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ และโซลูชั่นสำหรับการดูแลสุขภาพแบบดิจิตอลในราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้งานแสดงสินค้าจะนำเสนอพาวิเลียนระดับนานาชาติและกลุ่มประเทศ21 ประเทศ รวมถึงประเทศ บราซิล เดนมาร์ก ฮ่องกง อินโดนีเซียและอิสราเอล ที่พึ่งเข้าร่วม
มร.แกรน๊อต ริงลิ่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเมสเซ่ดุสเซลดอร์ฟเอเชียจำกัด (Messe Duesseldorf Asia) กล่าวว่า ภาคธุรกิจการแพทย์และการดูแลสุขภาพของไทยมีขนาดเติบโตขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านความซับซ้อนที่มากขึ้นและมีขนาดใหญ่ ในระยะเวลาสองทศวรรษ Messe Duesseldorf Asia เติบโตเป็นอย่างมากและมีความภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนเล็กๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางกาแรพทย์และการดูแลสุขภาพในประเทศไทย โดยการจัดงานครั้งแรกมีผู้ร่วมแสดงสินค้าเพียง 177 รายเท่านั้น และปัจจุบันได้เพิ่มมากถึงจำนวน 1,000 ราย ทำให้ให้การจัดนิทรรศการครั้งนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เราเคยจัดมา
มร.แกรน๊อต กล่าวต่อว่า ในระยะเวลาสามวันนับจากนี้ เราหวังว่าจะได้รับการต้อนรับผู้เข้าชมงานจำนวน 12,000คน จากหลายภาคส่วนในธุรกิจการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ซึ่งร้อยละ 40 จากต่างชาติ และสิ่งพิสูจน์ว่าเรามีความสนใจและมีภาพลักษณ์ดึงดูดต่อนานาชาติในการจัดนิทรรศการแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าครั้งจะร่วมต้อนรับตัวแทนจากต่างประเทศ ประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น พม่า ไต้หวันและเวียดนาม อีกทั้งหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป้นตัวแทนจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน องค์กรและหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพต่างๆ อีกด้วย
ความสำเร็จของงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ ไม่ได้สร้างจากการแสดงสินค้าเท่านั้นแต่ยังเกิดจากการเป็นแพลตฟอร์ม ที่เป็นตัวเลือกด้านการจัดซื้อและความรู้ด้านต่างๆ โดยร่วมมือภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในปีนี้มีการกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ 4thAdvanced Rehab Technology Conference (ARTeC), WT I Wearable Technologies Conference 2019 ASIA, Hospital CIO Forum, Nursing and Health Literacy for NCD Management, Healthcare Innovation for Ageing Society Conference และอื่นๆ มร.แกรน๊อต กล่าวสรุป
ความท้าทายของอุตสาหกรรมเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ 2019
พาวิเลียนการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน การจัดการกับปัญหาท้าทายการแพทย์ที่เร่งด่วนที่สุดของประเทศไทย ในการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ และการเพิ่มขึ้นของกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) ในการจัดงานครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในการนำเสนอพาวิเลี่ยนการดูแลสุขภาพระดับชุมชนจากแนวคิด ในการรวบรวมผู้มีส่วนได้เสียจากภาคการดูแลสุภาพภาคส่วนต่างๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าจะนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวินิจฉัยโรค ปัญหาประดิษฐ์ Telemedicine และอุปกรณ์สวมใส่ ซึ่งต้องเตรียมรับมือกับความต้องการของระบบการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะประชากรผู้สูงอายุและอัตราของโรคNCDs ที่สูงขึ้น
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สัดส่วนของประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เป็นอันดับหนึ่งซึ่งสูงสุดในภูมิภาค นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าภายในปี2597 สัดส่วนของประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีจำนวนสูงกว่าภูมิภาคอื่นอย่างยุโรปและสหรัฐอเมริกา สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยคาดว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการของการดูแลสุขภาพในประเทศ อีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า และกระทรวงสาธารณสุขประมาณการณ์ว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นถึง2.28 แสนล้านบาท หรือร้อย 2.8 ของจีดีพี
สตาร์ทอัพพาร์คในงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์
การเตรียมตัวรองรับระบบนิเวศผู้ประกอบการที่จะเกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ชีวภาพและนวักตรรมทางการแพทย์และสุขภาพในประเทศไทย และในภูมิภาคซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นสำหรับธุรกิจสตาร์อัพด้านนวัตกรรม การดูแลสุขภาพผู้สูงวัย และธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการแพทย์ ภายในงานมีบริษัทสตาร์ทอัพด้านการแพทย์เข้าร่วมทั้งหมด 11 บริษัท จากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวันและประเทศไทย ที่จะเข้าร่วมแสดงสินค้าครั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้ได้พบกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ ผู้มีอิทธิพลในแวดวงอุตสาหกรรมและผู้ซื้อบริษัทเหล่านี้จะร่วมแสดงสินค้านวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีโซลูชั่นการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสำหรับการปลูกถ่ายกระดูก การใช้ระบบซอฟท์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อลดเวลาการวินิจฉัยโรคและปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ การใช้เทคโนโลยี one-stop e-platform เพื่อค้นหาและนัดหมายบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์