กพร. วางแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม เน้นประสานข้อมูลรอบด้านทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อความมั่นคงด้านวัตถุดิบอุตสาหกรรมของประเทศ

พฤหัส ๑๒ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๔๖
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ระดมความคิดเห็นจัดทำแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม เน้นบูรณาการด้านข้อมูลทั้งภาครัฐ-เอกชน รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมกกะโปรเจค และเตรียมพร้อมสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบอุตสาหกรรมของประเทศ

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังปาฐกถาพิเศษแนวทางการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0 รองรับเมกกะโปรเจคและแผนการขับเคลื่อนประเทศ ในงานสัมมนาการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0 จัดโดยกองบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรม กพร. ว่า กพร. มีภารกิจสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม ตามบทบาทหน้าที่ของ กพร. และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้มอบหมายให้ กพร. จัดหาวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการสัมมนาในวันนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีทั้งจากภาครัฐและเอกชนร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงแนวนโยบายการบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมของ กพร. ตลอดจนสะท้อนถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขการขาดแคลนวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กพร. จะได้มีการประสานงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนในการก้าวสู่การบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0 ที่มุ่งเน้นการบูรณาการด้านข้อมูลสำหรับการประเมินความต้องการใช้และคุณลักษณะของวัตถุดิบที่เป็นปัจจุบัน การวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และอุปทานเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

"การบริหารจัดการวัตถุดิบอุตสาหกรรมยุค 4.0 ต้องเกิดจากการร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของภาคเอกชนนอกจากต้องเร่งบูรณาการข้อมูลด้านการใช้วัตถุดิบร่วมกันกับภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล การสำรวจแร่ และการวิเคราะห์ประเมินผล มีการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบการทำเหมืองแร่ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และการใช้มาตรฐานด้าน Green factory and Green products เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนของภาครัฐ คือ กพร. จะมุ่งเน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูลวัตถุดิบแร่และวัตถุดิบอุตสาหกรรมร่วมกับการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการ การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการอนุญาตและการกำกับดูแลการประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการจัดหาวัตถุดิบและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ก้าวทันโลกยุคใหม่" นายวิษณุ กล่าว

ทั้งนี้ กพร. ได้จำแนกวัตถุดิบอุตสาหกรรมเป็น 3 ประเภท คือ (1) วัตถุดิบขั้นต้นที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ (Natural Raw Materials) (2) วัตถุดิบทดแทน (Secondary Raw Materials – Recycling) โดยวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภทนี้ จะเป็นวัตถุดิบขั้นต้นที่ป้อนแก่อุตสาหกรรมต้นน้ำของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมายและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างตามเมกกะโปรเจค และ (3) วัตถุดิบขั้นสูง (Advanced Raw Materials) จะเป็นวัตถุดิบที่เกิดจากการพัฒนาภารกิจใหม่ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตวัตถุดิบให้มีคุณภาพสูงตามความต้องการของอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ

สำหรับการจัดหาวัตถุดิบอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศในการพัฒนาโครงการเมกกะโปรเจค ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) ในปี พ.ศ. 2560-2565 คาดว่าจะมีความต้องการใช้หินอุตสาหกรรมในภาพรวมสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแผนอีอีซี ประมาณ 100 ล้านตัน ประกอบด้วยการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางถนน ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำและสนามบิน และระบบโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลความต้องการใช้หินอุตสาหกรรมสำหรับการใช้พื้นฐานของกลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา พบว่า มีประมาณ 25 ล้านตันต่อปี ดังนั้น แหล่งหินอุตสาหกรรมที่มีในปัจจุบันของทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 15 แหล่ง มีปริมาณแร่สำรองประมาณ 340 ล้านต้น จะสามารถรองรับความต้องการในพื้นที่ได้เป็นระยะเวลา 10 ปี

"กพร. ตระหนักดีถึงภารกิจสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบอุตสาหกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในระยะยาว จึงได้มีการเตรียมความพร้อมดำเนินงานนำร่องในการค้นหาแหล่งวัตถุดิบหินอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเติมภายในเขต 3 จังหวัดดังกล่าว จำนวน 3 แหล่ง โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน และกระบวนการพิจารณาอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองได้หรือไม่ต่อไป" นายวิษณุ กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ การสัมมนาในวันนี้ยังได้มีการเปิดมุมมองของผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวแทนภาคประชาชนถึงทัศนคติและแนวคิดที่สร้างสรรค์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งเป็นการประกอบการหลักในการจัดหาวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่ง กพร. ได้มีแนวทางการส่งเสริมการทำเหมืองแร่สมัยใหม่ที่ลดการใช้พลังงานหรือมีการใช้พลังงานทางเลือก มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวางแผนงาน การปฏิบัติงานที่แม่นยำและมีความถูกต้องสูง และเป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม มีการจัดหาแหล่งวัตถุดิบอุตสาหกรรมที่เหมาะสมและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ