Super Poll คุณธรรมในโซเชียลมีเดีย

ศุกร์ ๑๓ กันยายน ๒๐๑๙ ๐๙:๑๐
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง คุณธรรมในโซเชียลมีเดีย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,224 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระหว่าง 1 - 12 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.5 ระบุ นักการเมืองคือต้นตอปัญหาคุณธรรมที่ควรปรับปรุงตัวเร่งด่วน รองลงมาคือ ร้อยละ 53.1 คนในวงการบันเทิง ร้อยละ 52.8 ระบุ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 49.8 ระบุ คนในครอบครัว ร้อยละ 45.9 ระบุ คนในสถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ ร้อยละ 23.5 คนในกลุ่มวัฒนธรรม ประเพณี และร้อยละ 17.8 คนในกลุ่มศาสนา เช่น พระ เณร ชี คนปฏิบัติธรรม เป็นต้น

ผอ.ซูเปอร์โพล เป็นห่วงที่พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.4 ระบุปัญหาคุณธรรมในโซเชียลมีเดียคือ พูดจาหยาบคาย ไม่ให้เกียรติกัน กร่าง ทำตัวแย่ ร้อยละ 50.3 ระบุ หลอกลวง ร้อยละ 45.2 ระบุ สร้างความขัดแย้ง ร้อยละ 44.6 ระบุ ความสัมพันธ์เสื่อมถอย และร้อยละ 43.2 ระบุเกิดการเลียนแบบในทางที่ผิด

ที่น่าพิจารณาคือ 5 อันดับแรกข้อเสนอแนะพัฒนาคุณธรรมในโซเชียลมีเดีย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.0 ระบุ มีสติ กลั่นกรองข้อมูล เรื่องราว ไม่ทำตามกระแสโซเชียลมีเดีย รองลงมาคือร้อยละ 48.7 ระบุ ทุกฝ่ายใช้โซเชียลมีเดีย ด้วยความรับผิดชอบ กล้าทำ กล้ารับ ร้อยละ 42.9 ระบุ มีวินัยในการใช้ เคารพกฎกติกา ร้อยละ 39.2 ระบุ คิดถึงผลกระทบและประโยชน์ส่วนรวม และร้อยละ 36.4 ระบุ มีน้ำใจดีต่อกัน ตามลำดับ

ผอ.ศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า บุคคลสาธารณะโดยเฉพาะนักการเมืองมีอิทธิพลต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงเสนอให้ก่อนทำหน้าที่ในสัปปายะสถานรัฐสภาแห่งใหม่ ควรมีการตั้งสติสมาธิทุกครั้งก่อนเริ่มประชุมและมีระฆังสติไว้คอยให้ระลึกตนเสมอว่า แต่ละคนกำลังทำงานด้วยสติไม่ใช้อารมณ์ครอบงำและเมื่อแต่ละท่านเป็นผู้ทรงเกียรติแล้วจึงเสนอประธานสภาฯ ให้ยกย่องเชิดชูพฤติกรรมที่ควรค่าแก่การชื่นชมจุดประกายกระแสแห่งคุณธรรมของนักการเมืองให้เกิดขึ้นในรัฐสภาแห่งนี้

"คนในวงการบันเทิงควรช่วยกันคืนกำไรให้สังคมด้วยจิตสาธารณะมากกว่าการรังแกสังคม ส่วนข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ครูอาจารย์ ควรเป็นจุดเปลี่ยนเป็นแบบอย่างที่ดี ควรพักก่อนโพสต์ให้เป็นนิสัย ก่อนจะกดโพสต์ลงสาธารณะ ควรพักในที่ส่วนตัวสักระยะก่อน เพื่อกลับไปอ่านอย่างมีสติค่อยยืนยันโพสต์ ปรับพลังลบเป็นพลังบวกคือ บริหารสมองส่วนคิดจัดการอารมณ์ของตนเองจนเป็นพฤติกรรมที่ดี" รศ.นพ.สุริยะเดว กล่าว

ในขณะที่ ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุค ซูเปอร์ดิจิตัล อย่างมีสติและรู้จักใช้ประโยชน์เพื่อความดีส่วนรวมและเพื่อตัวเอง แนวทางในการป้องกันปัญหาคือการทำงานร่วมกันใกล้ชิดมากขึ้นผ่านทางโซเชียลมีเดียระหว่างภาครัฐและประชาชนแต่ละคนที่สามารถสื่อสารถึงกันได้โดยตรง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและการอบรมเลี้ยงดูของคนในครอบครัว เพื่อนสนิท คนใกล้ชิด เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องในชุมชนของตนเอง ผลที่ตามมาคือ ทุกคนจะบริหารจัดการกระแสในโซเชียลมีเดียได้ไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่สร้างความเสียหายทำร้ายผู้อื่นในสังคมส่วนรวม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม