จับตาตัวแปรการลงทุนลดความกังวลวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่

ศุกร์ ๑๓ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๒๒
จีเอ็มไอ เอดจ์ ประเมินสัญญาณเตือนเศรษฐกิจ Inverted yield curve หากเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน คงไม่ส่งผลต่อการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ คาดธนาคารกลางทั่วโลกลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยพยุงปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก ส่วนราคาทองปรับตัวลดลงแค่สัญญาณทางเทคนิค

นายณพวีร์ พุกกะมาน ผู้บริหารส่วนภูมิภาค จีเอ็มไอ เอดจ์ บริษัทหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินจากประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า วันที่ 11 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 18 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 ในเชิงเศรษฐกิจและการลงทุน ถือว่าเหตุการณ์นั้นเป็นหนึ่งในต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของโลกนั่นคือ Subprime Crisis เนื่องจากหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ตัดสินใจลดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้เกิดฟองสบู่ในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับต่ำ ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง CDS สุดท้ายทำให้ตลาดการลงทุนทั่วโลกล่มสลายในช่วงปี 2550-2551

จากวิกฤตครั้งนั้นได้ผ่านมาแล้วเกินสิบปี คำถามคือวิกฤตครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นหรือยังและนักลงทุนต้องเตรียมตัวอย่างไร จากการเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในขณะนี้ ประเด็นที่นักลงทุนต่างจับตาเป็นพิเศษก็คือเรื่อง Inverted yield curve เพราะจากสถิติเดิมได้บอกว่าทุกครั้งที่เกิดขึ้นมักจะเป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่จากสถิติก็บอกว่าจะต้องเกิดปรากฎการณ์ Inverted yield curve ติดต่อกันเป็นเวลานานถึงจะมีวิกฤตเกิดขึ้น โดยสถิติระบุว่าเคยเกิดขึ้นสั้นที่สุดคือ 9 เดือน เราต้องจับตาดูว่าปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นยาวนานเพียงใด หากจบลงเร็วเศรษฐกิจโลกอาจจะเป็นเพียงแค่ชะลอตัวแต่ไม่ถึงกับวิกฤต

อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือการตัดสินใจของธนาคารกลางทั่วโลก โดย FED จะมีการประชุมวันที่ 17-18 กันยายน นี้ ส่วน ECB ประชุมวันที่ 12 กันยายน และ BOJ ประชุม 19 กันยายน ประเด็นเรื่องของการลดดอกเบี้ยและการผ่อนคลายทางการเงิน หากยังคงลดดอกเบี้ยและผ่อนคลายทางการเงิน สินทรัพย์เสี่ยงอย่าง หุ้น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ จะยังคงปรับตัวขึ้นต่อได้

กล่าวโดยสรุปคือ ในระยะนี้ยังไม่เห็นแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือการเงินรอบใหม่ แนะนำว่าอย่าให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากจนเกินไป เพราะคำว่าวิกฤตมักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวเสมอ สำหรับนักลงทุนที่เป็นสายเทคนิคคงต้องให้ความสำคัญกับกราฟราคาที่เกิดขึ้น เพราะราคาในกราฟได้รวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข่าว เหตุการณ์ และอารมณ์ของตลาด

"ระยะสั้นสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น ดัชนี Dow Jones กำลังจะกลับมาทำนิวไฮอีกครั้ง แต่ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเป็นฟองสบู่เพราะดัชนีที่ปรับตัวขึ้นมาจากหุ้นในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตอย่างกลุ่มเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นจริง หุ้นกลุ่ม Healthcare มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอจากสถิติย้อนหลัง โดยจะปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดและจะ Outperform ตลาดหลังวิกฤต"

ขณะที่ราคาทองคำช่วงนี้ปรับตัวลงมาหลุดระดับ 1,500 เหรียญ เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องของสงครามการค้ามีน้อยลง ในทางเทคนิคหากราคาไม่ต่ำกว่า 1,450 เหรียญ ซึ่งเป็นราคาที่ Breakout ขึ้นมาได้ แนวโน้มหลักของทองคำจะยังไม่ใช่ขาลง อาจจะเคลื่อนไหวออกข้างไปก่อนเพื่อรอข่าวหรือเหตุการณ์ที่จะสนับสนุนราคาต่อไป แนวรับระยะสั้นจะอยู่ที่ 1,473 เหรียญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๘ SME D Bank ผนึกกำลัง Student Care ติดปีกรับเทรนด์การศึกษายุคใหม่ เผยความสำเร็จร่วมลงทุนทะลุ 1,500 ลบ. ต่อยอดพาเอสเอ็มอีสู่ตลาดหลักทรัพย์ 5
๑๖:๒๕ GDH จัดเสิร์ฟความเข้มข้นรับต้นปี!! เปิดตัวภาพยนตร์ แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ รา
๑๖:๕๕ สตาร์บัคส์ ร่วมกับ LINE MAN ยกระดับ ประสบการณ์สตาร์บัคส์ ไปอีกขั้น ให้สมาชิก Starbucks(R) Rewards สามารถสะสมดาวได้แล้วผ่าน LINE
๑๖:๒๐ JMART - JMT มุ่งเป้าปี 2568 เติบโตต่อเนื่อง JMT กลับมาเติบโตตามเป้าหมาย พร้อมดันแผน New S-Curve CommerceTech และ
๑๖:๓๖ เปิดลิสต์ 7 อาหารช่วยชะลอวัย
๑๖:๔๗ ส. ขอนแก่น คว้ารางวัล BRONZE ประเภท Brand Experience Communication แคมเปญการตลาดแห่งปี แกล้มได้ทุกเรื่องเล่า จากเวที Marketing Award of Thailand
๑๖:๒๑ เนสท์เล่ ต่อยอดความสำเร็จ ภารกิจพิชิตสุขภาพดี สนับสนุนกทม. ในโครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงานข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร
๑๖:๑๖ กรุงไทยคว้ารางวัลใหญ่ระดับภูมิภาค International Innovation Awards 2024 ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมการเงินยั่งยืน
๑๖:๔๖ ไทยพาณิชย์ตอกย้ำธนาคารยอดเยี่ยมเพื่อลูกค้าเอสเอ็มอี กวาด 7 รางวัล จากเวทีชั้นนำในปี 2024 พร้อมดูแลลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน
๑๖:๕๑ ปตท. คว้าอันดับ 1 มูลค่าแบรนด์สูงสุดในไทย 4 ปีซ้อน สะท้อนความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน