วว.จับมือพันธมิตรมุ่งบูรณาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก จัดงานสัมมนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน “Sustainable Packaging for Circular Economy”

พุธ ๑๘ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๐๖
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแหประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย โดยการสนับสนุนจาก Messe (Duesseldorf, Germany) และ Messe (Duesseldorf, Asia) จัดงานสัมมนา เรื่อง "บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน : Sustainable Packaging for Circular Economy" เพื่อถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการบรรจุภัณฑ์จากประเทศสมาชิกในเอเซีย มุ่งสู่การบูรณาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกที่ยั่งยืน ในวันที่ 18 กันยายน 2562 ณ welcome Hall ไบเทค บางนา

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ประธานเปิดงานสัมมนาฯ กล่าวว่า การสัมมนาวิชาการ Sustainable Packaging for Circular Economy หรือ บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ของสหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเซีย (Asian Packaging Federation, APF) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นหน่วยงานด้านการบรรจุภัณฑ์แห่งชาติของแต่ละประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิก รวม 15 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ตุรกี และประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้ วว. โดย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก APF ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา และในปัจจุบัน ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย วว. ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ APF ซึ่งในทุกๆ ปี APF จะจัดการประชุมประจำปี โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

สำหรับปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน 2562 ซึ่งมีกิจกรรม ประกอบด้วย การตัดสินการประกวดและมอบรางวัลบรรจุภัณฑ์ระดับเอเซีย (AsiaStar 2019) การประชุมคณะกรรมการบริหารและสมาชิกสามัญของ 9 ตลอดจนการจัดสัมมนาวิชาการ Asian Packaging Seminar ภายใต้หัวข้อ "Sustainable Packaging for Circular Economy" หรือ "บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน" ซึ่ง วว.ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย จัดขึ้น โดยการสนับสนุนจาก Messe (Duesseldorf, Germany) และ Messe (Duesseldorf, Asia)

ผู้ว่าการ วว. กล่าวต่อว่า การจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ได้รับการตอบรับด้วยดีจากผู้สนใจทั้งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และเกี่ยวเนื่อง โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 195 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการและผู้สนใจจำนวน 45 คน จาก 12 ประเทศ ทั้งในเอเซียและยุโรป และชาวไทยลงทะเบียน 150 คน แบ่งเป็นภาคเอกชนมากกว่า 60 บริษัท และผู้แทนหน่วยราชการและมหาวิทยาลัย จำนวน 90 คน ซึ่งการสัมมนามีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประกอบธุรกิจ ผ่านการบรรยายถ่ายทอดความรู้โดยวิทยากรทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ในหัวข้อต่างๆ อาทิเช่น

- แนวโน้มการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยสร้างสังคมที่ยั่งยืน (Global packaging trends for sustainable society) มองผ่านงานแสดงนิทรรศการบรรจุภัณฑ์ Interpack 2020

- แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน (Interpack 2020-Current trends at the World's leading trade fair for the processing and packaging industries)

- ความพยายามในการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Working toward zero waste) โดยผู้แทนจาก Packaging Council Singapore ถ่ายทอดแนวทางของประเทศสิงคโปร์ ที่พยายามจะลดขยะบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันจะไม่มีพื้นที่เหลือพอในการฝังกลบขยะอีกต่อไปแล้ว

- ปัญหาและแนวทางในการจัดการพลาสติกในทะเล โดย ผู้เชี่ยวชาญจาก Japan Packaging Institute ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันของโลก (Ocean plastics-Big problem and how to deal with)

- กระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนสร้างได้...ด้วยการใช้ที่น้อยลง (Sustainable packaging production with reduction)

- จากงานวิจัยพื้นฐานไปสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพคุณภาพสูง (From research fundamental to innovation of high performance bioplastic products)

- แนวโน้มและการใช้งานบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย (Trends and packaging consumption in Thailand)

"...ความร่วมมือของ วว. กับทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นภารกิจที่เราภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ผ่านการบริหารจัดการด้านบรรจุภัณฑ์ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ ทั้งในแง่การประกอบธุรกิจ และการร่วมสร้างพฤติกรรมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การผลิต การใช้ และวนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบใหม่ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยเป็นประเทศที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ เกิดนวัตกรรมใหม่ และการจ้างงาน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่ยั่งยืน อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมบนโลกของเราต่อไป..." ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวสรุป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอรับบริการด้านบรรจุภัณฑ์จาก วว. ได้ที่ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย โทร. 0 2577 9000, 0 2579 1121-30 ต่อ 3101, 3208 โทรสาร 0 2579 7573 E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม