หัวเว่ยประกาศกลยุทธ์การประมวลผล พร้อมเปิดตัว Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก

พฤหัส ๑๙ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๓:๓๑
หัวเว่ยประกาศกลยุทธ์รองรับตลาดคอมพิวติ้ง พร้อมเปิดตัว Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก ในงาน Huawei Connect 2019 Atlas 900 ขุมพลังของการประมวลผล AI จะช่วยทำให้ AI มีความพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ในหลากหลายสาขา

"ตลาดการประมวลผลในอนาคตจะเป็นตลาดที่ใหญ่มาก โดยจะมีมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ" มร. เคน หู รองประธานกรรมการของหัวเว่ย กล่าว "เราจะลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ที่เน้นใน 4 ด้านหลัก เราจะขยายขอบเขตของสถาปัตยกรรมออกไปให้กว้างมากขึ้น ลงทุนในด้านโปรเซสเซอร์สำหรับการใช้งานในทุกรูปแบบ มุ่งมั่นกำหนดขอบเขตธุรกิจให้ชัดเจน และสร้างระบบอีโคซิสเต็มแบบเปิดกว้าง"

กลยุทธ์การประมวลผลของหัวเว่ย

แนวคิดในอุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวติ้งนั้นกำลังพัฒนาจากโมเดลแบบมีกฎที่ตายตัว (Rule-based) มาเป็นแบบเชิงสถิติ ซึ่งเป็นรากฐานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง หัวเว่ยคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า การประมวลผลเชิงสถิติจะกลายมาเป็นกระแสหลัก และการประมวลผลของ AI จะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ของรูปแบบการประมวลผลที่ใช้กันทั่วโลก

เพื่อความสำเร็จในตลาดนี้ กลยุทธ์ของหัวเว่ยจะมุ่งเน้น 4 ด้านดังต่อไปนี้

- นวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรม ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวสถาปัตยกรรม Da Vinci ซึ่งเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ใหม่ ที่ออกแบบมาให้เป็นทรัพยากรในการประมวลผลที่มั่นคงและกว้างขวาง แต่ให้บริการในราคาที่สมเหตุสมผล หัวเว่ยจะยังคงลงทุนด้านการวิจัยพื้นฐานนี้ต่อไป

- การลงทุนในโปรเซสเซอร์ที่รองรับการใช้งานทุกรูปแบบ หัวเว่ยมีโปรเซสเซอร์หลากหลายรูปแบบ เช่น Kunpeng (คุนเผิง) โปรเซสเซอร์สำหรับการประมวลผลอเนกประสงค์, Ascend (แอสเซนด์) โปรเซสเซอร์สำหรับ AI, Kirin (คิริน)โปรเซสเซอร์สำหรับสมาร์ทดีไวซ์ และ Honghu (หงหู) โปรเซสเซอร์สำหรับสมาร์ทสกรีน

- ขอบเขตด้านธุรกิจที่ชัดเจน หัวเว่ยจะไม่ขายโปรเซสเซอร์โดยตรง แต่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้าในรูปแบบของบริการคลาวด์ และส่งให้บริษัทคู่ค้าในรูปแบบของชิ้นส่วนประกอบ เพราะเราให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโซลูชั่นแบบผสานรวม

- สร้างระบบอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้าง ในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะลงทุนงบประมาณอีก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการสร้างนักพัฒนา เพื่อขยายโครงการให้รองรับนักพัฒนาอีก 5 ล้านคน และทำให้บริษัทคู่ค้าของหัวเว่ยทั่วโลกสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นและโซลูชั่นรุ่นใหม่ๆ สำหรับอนาคตข้างหน้า

Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก

Atlas 900 พัฒนาขึ้นจากเทคนิคขั้นสูงซึ่งหัวเว่ยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมประสานพลังของโปรเซสเซอร์ Ascend หลายพันตัว โดย Atlas 900 จะใช้เวลาเพียง 59.8 วินาทีในการเทรน ResNet-50 ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักในการวัดประสิทธิภาพการเทรน AI โดยสถิติใหม่นี้เร็วกว่าสถิติโลกเดิม 10 วินาที

Atlas 900 คือขุมพลังของการประมวลผล AI และจะนำโอกาสใหม่ๆ มาสู่การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ต่าง ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ด้านดาราศาสตร์ การพยากรณ์อากาศ และการขับขี่อัตโนมัติ ไปจนถึงการสำรวจหาน้ำมัน หัวเว่ยยังได้ติดตั้ง Atlas 900 ไว้ในหัวเว่ย คลาวด์ อีกด้วย โดยเป็นบริการแบบคลัสเตอร์ ที่ทำให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเข้าถึงพลังในการประมวลผลแบบพิเศษนี้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น หัวเว่ยได้เสนอบริการต่าง ๆ เหล่านี้ในราคาพิเศษแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

มร. เกา เหวิน สมาชิกสภาวิศกรรรมแห่งชาติจีนและผู้อำนวยการสถาบันเผิงเฉิง ได้กล่าวปาฐกถาในงานนี้ด้วยเช่นกัน มร. เหวิน อธิบายถึงพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบันเผิงเฉิงและการทำงานร่วมกับหัวเว่ยเพื่อสร้างระบบที่รวมซุปเปอร์คอมพิวติ้งและปัญญาประดิษฐ์เครื่องแรกของประเทศจีน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลระดับ Exascale ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มรุ่นใหม่สำหรับงานวิจัยและนวัตกรรม AI พื้นฐาน

มร. เจิ้ง เย่ไหล ประธานบริหาร ของหัวเว่ยคลาวด์ กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ AI ในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อศึกษาจากประสบการณ์ของหัวเว่ยที่ทำโครงการมามากกว่า 500 โครงการ ในอุตสาหกรรมกว่า 10 สาขา มร. เจิ้ง ชี้ให้เห็นถึงอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเปลี่ยนจากการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงแคบสู่การเป็นขับเคลื่อนสำคัญเพื่อการปรับเปลี่ยนบริษัทสู่ยุคดิจิทัล

"นี่เป็นยุคใหม่ของการค้นคว้า" มร. เคน หู กล่าวสรุป "มหาสมุทรแห่งศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดกำลังรอเราอยู่ แต่เราจะข้ามไปไม่ได้หากเรามีเรือเพียงลำเดียว วันนี้เราขอส่งเรือหนึ่งพันลำออกจากฝั่ง ขอให้เราทำงานร่วมกัน คว้าโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ และยกระดับความอัจฉริยะขึ้นไปอีกขั้น"

HUAWEI CONNECT 2019 เป็นงานแฟล็กชิปประจำปีซึ่งหัวเว่ยจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม "Advance Intelligence" ที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2562 หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ สำหรับลูกค้าและพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสำรวจโอกาสใหม่ ๆ ให้โลกอัจฉริยะแห่งอนาคต

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่

https://www.huawei.com/en/press-events/events/huaweiconnect2019ic_medium=hwdc&ic_source=corp_event2_hc2019

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ