เอสซีบี อบาคัส เผยอินไซต์พัฒนาการ AI บนเวทีเสวนาระดับโลก Bloomberg’s Sooner Than You Think Tech Summit ประเทศสิงคโปร์

พฤหัส ๑๙ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๖:๑๒
ในวันที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI พัฒนาไปรวดเร็วและได้เข้ามาปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของผู้คนเพื่อส่งเสริมให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น พัฒนาการแบบก้าวกระโดดนี้ทำให้มนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ทัน โลกวันนี้จึงตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับอุบัติกาลของเทคโนโลยี AI ว่านี่เป็นสิ่งที่เราต้องอ้าแขนรับหรือหวาดกลัว ภาคธุรกิจและสังคมต้องรับมือกับเทคโนโลยีไปในทิศทางในต่อในอนาคต

ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสซีบี อบาคัส ผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจทางการเงิน ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี AI ในฐานะผู้บริหารหนึ่งเดียวของไทยอีกครั้งบนเวทีเสวนาระดับนานาชาติ "Sooner Than You Think Tech Summit" ซึ่งจัดโดยสำนักข่าวระดับโลกอย่าง Bloomberg ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยได้ร่วมสนทนากับกับนักธุรกิจและนักเทคโนโลยีชั้นนำของเอเชีย อย่าง Soo Boon Koh ผู้ก่อตั้ง iGlobe Partners บริษัท Venture Capital ชั้นนำของสิงคโปร์ และ Steve Leonard ซีอีโอของ SGInnovate องค์กรส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์เพื่อธุรกิจด้าน Deep Tech ของรัฐบาลสิงคโปร์ในประเด็นของเทคโนโลยี AI กับหัวข้อ "Great Leap Forward or Existential Threat"

ดร.สุทธาภา เปิดบทสนทนาสำหรับประเด็นความกังวลว่าเมื่อเทคโนโลยี AI พัฒนาอย่างเต็มที่จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ในทุกด้าน ว่า "AI นั้นยังห่างไกลจากการทำงานได้เปรียบเสมือนสมองมนุษย์มาก แต่เราสามารถเขียนโปรแกรมให้ AI สื่อสารกับมนุษย์ได้เข้าใจง่าย และที่ผ่านมาเทคโนโลยี AI ก็ได้เข้ามาสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ในการเสริมขีดความสามารถของมนุษย์ และจะมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต แต่สิ่งที่ต้องระวังมากกว่าคือเทคโนโลยีที่ทำให้ความสามารถของมนุษย์ด้อยลง เช่น ส่งผลให้ผู้คนทำงานสอดประสานงานกันน้อยลง ทำให้ผู้คนเชื่อมโยงเข้าหากันในระดับอารมณ์ความรู้สึกน้อยลง หรือแม้แต่ทักษะง่าย ๆ อย่างความสามารถในการจดจำทิศทาง แต่เทคโนโลยี AI ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลให้เกิดการสร้างงานใหม่ ๆ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรสู่งานต่าง ๆ ได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น"

AI ยังทำให้เกิดข้อกังวลว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่งานของมนุษย์ ดร.สุทธาภา ให้ความเห็นว่า "เทคโนโลยีไม่เพียงแต่จะเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์สำหรับงานแบบเดิม ๆ เท่านั้น แต่งานที่มีความยากและซับซ้อนซึ่งต้องใช้ทักษะในการประมวลข้อมูล AI ก็สามารถทำแทนได้เช่นกัน สิ่งที่สำคัญคือการจัดสรรโยกย้ายทรัพยากรมนุษย์ไปทำงานในแบบใหม่ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้อาจสร้างช่องว่างของความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีระหว่างธุรกิจที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ในมือและไม่มี แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คงต้องย้อนกลับมาที่การส่งเสริมให้ผู้คนมี "ความรู้ด้านดิจิทัล" (Digital Literacy) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างกว้างขวาง เช่น การค้นข้อมูลออนไลน์ การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ พิจารณาความถูกต้องน่าเชื่อถือของสื่อต่าง ๆ การลงทุนเพื่อสร้าง "ทักษะความรู้ด้านดิจิทัล" (Digital Literacy) เป็นสิ่งสำคัญที่จะลดความเหลื่อมล้ำในยุคดิจิทัล"

เมื่อเทคโนโลยีเริ่มส่งผลใหญ่หลวงต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคน ประเด็นในเรื่องการควบคุมหรือกำกับดูแลให้การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์กับทุกคนอย่างแท้จริงย่อมกลายเป็นสิ่งที่สังคมโลกต้องหาคำตอบ ในเรื่องนี้ ดร.สุทธาภา "AI ก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เริ่มจากการสร้าง "นวัตกรรมใหม่" สู่ "การนำมาใช้ในวงกว้าง" จึงเกิด"ความรับผิดชอบต่อสังคม" หรือการกำหนดกฎระเบียบมาควบคุมดูแล ตัวอย่างหนึ่งคือ รถยนต์ที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 1885 กว่าจะเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต้องใช้เวลาถึง 20 ปี และกว่าจะมีการออกกฎหมายบังคับใช้เข็มขัดนิรภัยก็ผ่านไปแล้วถึง 60 ปี ในกรณีของ AI ก็ตามเส้นทางเดียวกันอย่างรวดเร็ว โดยที่แรงผลักดันจากสังคมจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีขอบเขตรวมถึงภาครัฐที่เข้ามาจับมือกับผู้พัฒนาเทคโนโลยี เพื่อร่วมมือสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย"

และท้ายที่สุด แม้ถึงวันที่พัฒนาการของ AI ไปได้ไกลถึงขีดสุดแล้ว จะมีสิ่งใดอีกที่ AI ยังไม่สามารถเข้ามาทำแทนมนุษย์ได้ "แน่นอนว่า AI ไม่มีทางมีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม อันนี้ถือเป็นความสามารถที่โดดเด่นของมนุษย์ซึ่งหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรไม่สามารถเทียบเท่าได้" ดร.สุทธาภากล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ