นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ด้วยกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โลกจึงต้องการเครื่องมือหรือระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาด เข้ามาเป็นตัวช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยล่าสุดบริษัทฯได้จัดงาน Thai GIS User Conference 2019 หรือ TUC 2019 เป็นการนำเทคโนโลยี GIS ไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อมุ่งขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน ฝ่าคลื่น Digital Disruption ซึ่ง Geospatial Infrastructure (จีโอสปาเชียล อินฟราสตรัคเจอร์) ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศ พื้นฐานการพัฒนาประเทศรอบด้าน ตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งจะมีในเรื่องของ Smart City, Indoor Positioning and Mapping เช่น การใช้โดรนเพื่อการทำแผนที่ภายในอาคาร แผนที่ภูมิประเทศ อุโมงค์ ถ้ำ หรือในช่องต่าง ๆ ซึ่งเริ่มมีให้เห็นในต่างประเทศ และ Data creation, maintenance and management หรือการบูรณาการข้อมูลทางเศรษฐกิจ และข้อมูลทางสารสนเทศ ที่ล้วนจะเข้ามามีผลต่อทุกภาคอุตสาหกรรมต่อไปจากนี้
"ในปัจจุบัน เทรนด์การพัฒนาประเทศในภาพรวมจะโฟกัสไปที่ Geospatial Infrastructure หรือระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศ เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีระบบ GIS หรือระบบภูมิสารสนเทศ เข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะนำเอาข้อมูลพื้นที่ ตำแหน่งสถานที่ตั้ง มาซ้อนลงบนแผนที่และภาพ ทำให้มองเห็นข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานแผนที่ งานภาพ งานภาคสนาม งานวิเคราะห์ ไปจนถึงงาน Data Science หรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นการนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนามาเป็น Dashboard การแสดงผล ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการระบบการตอบสนองที่รวดเร็วพร้อมใช้งาน สามารถนำเทคโนโลยี GIS ผนวกกับโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การคมนาคม การสื่อสารโครงข่ายโทรคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณสุข ประกอบไปด้วยชั้นข้อมูลสำคัญเช่น ขอบเขตการปกครอง เส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ พื้นที่ป่า ภาพถ่ายดาวเทียม อาคารและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น" นางสาวธนพรกล่าว
นางสาวธนพรกล่าวเพิ่มเติมว่า อีเอสอาร์ไอได้พัฒนาโซลูชันของ ArcGIS เพื่อให้ผู้ใช้งานนำไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการทำงานภายในองค์กร ตั้งแต่การวางแผน วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจและลงมือทำงานอย่างเป็นระบบ ถูกต้องและแม่นยำ มีการเชื่อมโยงและแสดงผลแบบเรียลไทม์ โดยใช้ข้อมูลพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระบบไว้ด้วยกัน และสามารถตอบสนองผู้ใช้งานที่หลากหลาย สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน location หรือแผนที่ในแบบง่าย ๆ พร้อมใช้ เพื่อทำแผนที่ออนไลน์หรือการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง (location analytics) สามารถใช้ ArcGIS ที่มาพร้อมกับแอปพลิเคชันพร้อมใช้งานหลายรูปแบบตามความต้องการใช้งานได้แก่
Survey 123 สำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม ที่สามารถระบุตำแหน่งพร้อมรูปภาพประกอบ หรือ Tracker for ArcGIS สำหรับติดตามงานภาคสนาม และ Quick Capture ที่ช่วยให้เก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้นแค่เพียงคลิกเดียว
ArcGIS Desktop สำหรับนัก GIS มืออาชีพ เป็นการปฏิวัติการทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ถูกออกแบบให้มีหน้าจอการทำงานที่สามารถแสดงในรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ บนหน้าจอเดียวกัน เพิ่มความสะดวกสบายกับผู้ใช้งานมากขึ้น และสามารถแชร์ข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทันที
ArcGIS Notebooks ที่รวบรวมความสามารถของ ArcGIS Enterprise และ Jupyter Notebook เข้าด้วยกัน โดยเราสามารถใช้ภาษา Python ร่วมกับ Library ของ ArcGIS แสดงผลลัพธ์ แบบ Interactive Map ได้ทันที ทั้งแบบแผนที่ กราฟและ data frame ควบคู่กันได้ สำหรับนักพัฒนาหรือ Developer
Experience Builder เครื่องมือตัวใหม่ในการสร้าง Web application ผู้ใช้งานสามารถออกแบบรูปแบบเว็บได้เอง ผ่าน web browser อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเขียน code ให้ยุ่งยาก รวมถึง StoryMaps นำเสนอเรื่องราว ในรูปแบบแผนที่เข้าใจง่าย สามารถเพิ่มรูปภาพ วิดีโอ สื่อมัลติมีเดียอื่น ๆ นำไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอเรื่องราวที่เข้าใจง่ายขึ้น
Geo-enable System ที่โซลูชันพร้อมใช้งานสำหรับการทำงานในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบในตัวเอง เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถสื่อระหว่างผู้ใช้งานในหน่วยงานและประชาชน แอปพลิเคชันวิเคราะห์ข้อมูลตำแหน่งที่ทำงานร่วมกับข้อมูลประชากร วิถีการใช้ชีวิตเพื่อใช้วางแผนธุรกิจการตั้งร้านค้าหรือสาขา แอปพลิเคชันในการออกแบบวางผังเมือง เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นในทุกระดับ ทั้งในระดับเมือง ภูมิภาค และประเทศ
ค้นพบศักยภาพของเทคโนโลยี GIS เพื่อใช้ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ได้ที่ www.esrith.com