- ม.ค. ๒๕๖๘ ร่างผังเมืองรวม กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) บูรณาการแก้ไขปัญหาทุกด้าน
- ม.ค. ๒๕๖๘ กทม.ชี้แจงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงการสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย
- ม.ค. ๒๕๖๘ ปรับแผนเตรียมพร้อมประกาศใช้ผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกทม. เปิดเผยตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าว แนวคิดการย้ายเมืองหลวง เนื่องจากตัวแปร สภาพแวดล้อม ประชากร การพัฒนาเมืองการทรุดตัวของพื้นดิน ส่งผลให้เมืองเปลี่ยนแปลงไปว่าร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่ดำเนินการภายใต้หลักการเมืองกระชับ (Compact City) ได้ส่งเสริมการพัฒนาเมืองภายในพื้นที่กรอบถนนวงแหวนถนนรัชดาภิเษกให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความหนาแน่นสูง สอดคล้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการเดินทางส่วนในพื้นที่รอบนอกที่ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึง การสัญจรไม่สะดวกได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม นอกจากนี้ในร่างผังเมืองรวมดังกล่าวได้วางระบบผังเมืองเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม โดยจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว ได้แก่ โครงการขุดลอกคลอง ปรับปรุงคลอง ขุดคลองลัด ก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์เพื่อการระบายน้ำ จัดหาพื้นที่แก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำ จัดทำแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูโภคเพื่อช่วยระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ จัดทำแผนผังแสดงพื้นที่แก้มลิง รวมถึงวางมาตรการทางผังเมือง เช่น ทุกอาคารหรือโครงการที่จะก่อสร้างใหม่ จะต้องจัดหาพื้นที่โล่งที่น้ำสามารถซึมผ่านได้และปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยระบายน้ำฝนลงสู่ชั้นดินหรือการจูงใจให้ภาคเอกชนหรือทุกคนสามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยอาคารของตนได้หากช่วยเมืองจัดทำพื้นที่หน่วงน้ำหรือแก้มลิงในแปลงที่ดิน อย่างไรก็ตาม กทม.มีเป้าหมายการพัฒนาเมืองให้เป็นมหานครที่อยู่สะดวกสบาย โดยส่งเสริมการพัฒนาเมืองควบคู่กับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากกว่ารถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อลดความแออัดสอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายของการพัฒนาประเทศต่อไป