Super Poll ความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทย

จันทร์ ๓๐ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๐:๕๐
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,046 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน – 27 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า

เงินเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนมีความสุข แต่ความสุขของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเพียงอย่างเดียว เพราะจากการศึกษาวิจัยความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่าง กลางปี 2550 กับ กลางปี 2562 ช่วงระยะเวลาครบ 12 ปีพอดี พบการเปลี่ยนแปลงความสุขของประชาชนคนไทยที่น่าพิจารณาหลายปัจจัย โดยพบว่า ความสุขของคนไทยที่ได้คะแนนสูงสุด เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน คือ ความสุขในครอบครัว ได้ 7.02 คะแนน รองลงมาอันดับสอง ได้แก่ สุขภาพกาย ได้ 6.86 คะแนน อันดับสามได้แก่ สภาพที่พักอาศัย ไฟฟ้า คมนาคม ถนนหนทาง น้ำประปา ได้ 6.75 คะแนน อันดับสี่ ได้แก่ สุขภาพใจ ได้ 6.69 คะแนน และอันดับห้า ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ คนอยู่กับป่าได้ ประชาชนปลูกไม้มีค่าขายได้ ได้ 6.47 คะแนน

อย่างไรก็ตาม ความสุขที่วัดได้คะแนน 3 อันดับสุดท้ายได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศ การค้าเสรีที่ได้เพียง 4.87 คะแนน อันดับรองสุดท้ายได้แก่ ธรรมาภิบาล บริหารประเทศ ได้เพียง 5.32 คะแนน และ ความปลอดภัยทางถนน ได้เท่ากันคือ ได้เพียง 5.32 คะแนน โดยมีความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทยโดยรวมเท่ากับ 6.47 คะแนนถือว่าค่อนข้างมีความสุข

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบความสุขของประชาชนย้อนหลังไป 12 ปีที่ผ่านมา คือช่วงกลางปี 2550 กับ ช่วงกลางปี 2562 พบประเด็นที่น่าสนใจคือ มีปัจจัยความสุขชุมชน ความสุขประเทศไทยหลายตัวเพิ่มขึ้นอันดับหนึ่งได้แก่ สภาพที่พักอาศัย ไฟฟ้า คมนาคม ถนนหนทาง น้ำประปา เพิ่มขึ้น + 3.67 จาก 3.08 ในช่วงกลางปี 2550 มาอยู่ที่ 6.75 ในช่วงกลางปีนี้ อันดับสองได้แก่ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ คนอยู่กับป่าได้ ประชาชนปลูกไม้มีค่าขายได้ ทำคนมีความสุขเพิ่มขึ้น + 1.68 จาก 4.79 ในช่วงกลางปี 2550 มาอยู่ที่ 6.47 ในช่วงกลางปีนี้ และอันดับสามคือ ธรรมภิบาล บริหารประเทศ เพิ่มขึ้น + 1.58 จาก 3.74 ในช่วงกลางปี 2550 มาอยู่ที่ 5.32 ในช่วงกลางปีนี้

ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้ชีวิตพอเพียงของประชาชนลดลงมากสุด คือ – 1.07 จาก 7.41 ในช่วงกลางปี 2550 มาอยู่ที่ 6.34 ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การค้าเสรี ที่ประชาชนยังคงมีความสุขต่ำสุด คือ 4.87 คะแนนในช่วงกลางปีนี้ แต่ก็เพิ่มขึ้นจาก 3.60 ที่เคยสำรวจพบในช่วงกลางปี 2550 หรือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการวัดความสุขของประชาชนครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เงินหรือเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญแต่ประชาชนยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ทำให้มีความสุขอีกหลายด้านและกระแสที่กำลังทำลายความสุขของประชาชนในขณะนี้อาจทำให้ประชาชนจำนวนมากรู้สึกแย่ แต่เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วพบว่า สถานการณ์บ้านเมืองและความสุขของประชาชนหลายด้านกลับเห็นได้ชัดว่าดีขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ