วิเคราะห์งบประมาณปี 2563 อาจขาดดุลมากกว่าคาดและขาดยุทธศาสตร์รับมือการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก

จันทร์ ๓๐ กันยายน ๒๐๑๙ ๑๑:๑๑
งบประมาณปี 63 ขาดยุทธศาสตร์ในการรับมือการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบสงครามทางการค้า ยังไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างงบ ทำให้งบลงทุนยังคงอยู่ที่ 20% งบปี 63 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มาก อาจจะเกิดการขาดดุลมากกว่าที่คาดการณ์เพราะเศรษฐกิจอาจขยายตัวต่ำกว่าประมาณการได้ทำให้เก็บภาษีได้น้อย มีการจัดสรรงบกลางสูงเกินไปกว่า 5 แสนล้านทำให้ขาดรายละเอียดเรื่องโครงการการใช้เงินงบประมาณ ตรวจสอบการใช้เงินยากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการถูกหั่นงบมากขณะที่งบกองทัพและความมั่นคงยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ควรเพิ่มงบประมาณทางด้านการศึกษา การวิจัยและสาธารณสุข รวมทั้งควรมีโครงการลงทุนทางด้านการบริหารจัดการน้ำเพิ่มเติม ส่วนในเชิงยุทธศาสตร์ต้องเพิ่มงบทางด้านยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน การเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและความเสมอภาคทางสังคม

10.00 น. 29 ก.ย. 2562 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ตัวเลขงบประมาณปี 2563 พบว่า ยังขาดเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์เชิงรุกในการรับมือกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามทางการค้า ขาดการรับมือความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องมีโครงการหรืองบประมาณเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ งบประมาณจึงไม่ได้ถูกใช้ไปอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อบริหารประเทศแบบมองไปข้างหน้า ไม่ได้มุ่งสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆของประเทศที่เผชิญโดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การลดการผูกขาดเพิ่มการแข่งขัน ปัญหาความถดถอยของความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนความยากลำบากทางเศรษฐกิจและหนี้สินของประชาชนระดับฐานรากและการขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน งบประมาณจำนวนไม่น้อยถูกจัดสรรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าผ่านบัตรสวัสดิการคนจน ใช้วิธีการแจกเงิน มากกว่า มาตรการแบบยั่งยืนในลักษณะสร้างงาน สร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ในระยะยาว งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3,200,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ จำนวน 2,393,120.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 จำนวน 120,463.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.3% และคิดเป็นสัดส่วน 74.7% ส่วนรายจ่ายลงทุน จำนวน 655,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 จำนวน 5,861.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.9% และคิดเป็นสัดส่วน 20.5% ของวงเงินงบประมาณรวม ลดลงจากปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีสัดส่วน 21.6% เห็นได้ว่า งบประมาณปี 63 ก็ไม่ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณ งบลงทุนจึงมีสัดส่วนต่ำเช่นเดียวกับโครงสร้างงบประมาณในหลายทศวรรษที่ผ่านมา การที่ไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณเนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้เอาจริงเอาใจในการปฏิรูประบบราชการและการลดขนาดของหน่วยราชการ ยุบและเลิกหน่วยงานที่ไม่มีภารกิจหรือไม่ค่อยมีความจำเป็นแล้ว งบปี 63 จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มาก เพราะไม่ได้มีโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากทั้งที่ขณะนี้เรากำลังเผชิญปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอยู่ การประมาณการรายได้จากการเก็บภาษีอาจสูงเกินไป อาจจะเกิดการขาดดุลมากกว่าที่คาดการณ์เพราะเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าประมาณการทำให้เก็บภาษีได้น้อย รัฐบาลอาจสามารถจัดเก็บรายได้ประมาณ 2.725 ล้านล้านบาทหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ 3-4% ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระดับดังกล่าว มีการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคโนโลยีเพื่อติดตามให้ผู้ประกอบการเสียภาษีสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและการเข้าสู่ระบบบัญชีเดียวทำให้กรมสรรพากรสามารถเก็บภาษีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดสรรงบกลางสูงเกินไปกว่า 5 แสนล้านทำให้ขาดรายละเอียดเรื่องโครงการการใช้เงินงบประมาณ ตรวจสอบการใช้เงินยากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการถูกปรับลดงบค่อนข้างมาก อย่างหน่วยงานรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ตั้งงบรวมกันที่ 8,684.6 ล้านบาท ลดลงจากเดิม 13.23% ที่น่าสนใจคือสำนักงานเลขาธิการสภา ถูกตัดงบในภาพรวมลงไป 18.47%

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ม. รังสิต กล่าวอีกว่า ขณะที่หน่วยงานของศาล ประกอบด้วย สำนักงานศาลปกครอง, สำนักงานศาลยุติธรรม, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งงบรวมกันที่ 20,234.9 ล้านบาท ลดลงจากเดิม 10.49% ขณะที่น่าสนใจว่าศาลรัฐธรรมนูญกลับได้รับงบเพิ่ม 25.83% กระทรวงกลาโหม ขอตั้งงบ 233,353.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เป็นเงิน 6,226.8 ล้านบาท (คิดเป็น 2.74%) โดยกองทัพบก ได้รับงบ 113,677.4 ล้านบาทมากที่สุด งบประมาณกลาโหมควรเน้นไปที่ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศและความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติจะดีกว่า โดยเฉพาะรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควรเพิ่มงบประมาณทางด้านการศึกษา การวิจัยและสาธารณสุข รวมทั้งควรมีโครงการลงทุนทางด้านการบริหารจัดการน้ำเพิ่มเติม มีมหาวิทยาลัย 53 แห่ง ถูกปรับลดงบประมาณลง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลถูกปรับลดงบสูงสุดมากกว่าพันล้านบาท ส่วนอีก 23 สถาบันถูกลดงบประมาณ ไม่ต่ำกว่าร้อยล้าน กระทรวงอุดมศึกษาควรไปต่อรองไม่ให้มีการปรับลดงบมากเกินไปเพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาขั้นสูงของประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO