นายแมท สมิธ หัวหน้าด้านสถาปัตยกรรม ระดับโลก บริษัท ไอเอฟเอส เปิดเผยว่า วันนี้ไอเอฟเอสมีความภูมิใจอย่างมากที่ไอดีซีระบุ ในการคำนวณมูลค่าทางธุรกิจที่ได้มาจากการใช้ซอฟต์แวร์องค์กรของไอเอฟเอส พบว่าลูกค้าของไอเอฟเอสโดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น 18% และสามารถบรรลุถึงจุดคุ้มทุนของการลงทุนได้ภายในเวลาเพียง 15 เดือน
การประเมินในครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำร่วมกับบรรดาองค์กรที่มีรายได้ระดับพันล้านดอลลาร์จากการดำเนินงานทั่วโลกในอุตสาหกรรมการผลิต วิศวกรรมและการก่อสร้าง พลังงานและสาธารณูปโภคพื้นฐาน อากาศยานและกลาโหม และการบริการ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุดนั้นจะต้องมีความสามารถในด้าน:
- ตระหนักถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน: 47% ของมูลค่าโดยรวมที่ประสบความสำเร็จ
- สร้างรายได้สูงขึ้น*: 43% ของมูลค่าโดยรวมที่ประสบความสำเร็จ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ใช้: 10% ของมูลค่าโดยรวมที่ประสบความสำเร็จ
นอกจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น 18% แล้ว กลุ่มลูกค้ายังระบุด้วยว่า:
- ทำงานเสร็จตามคำสั่งได้มากขึ้น 28%
- จัดส่งตามคำสั่งซื้อ/ผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น 14%
- รอบงบประมาณเร็วขึ้น 21%
นายแมท กล่าวต่อว่า งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่เจาะลึกถึงวิธีที่ลูกค้าตระหนักถึงมูลค่าทางธุรกิจและติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่ไอเอฟเอสได้รับฟังมาจากทุกที่ในตลาด การให้ทางเลือกกับลูกค้าในสิ่งที่พวกเขาซื้อ รวมถึงวิธีการนำไปใช้และการบริหารจัดการ ทำให้ไอเอฟเอสสามารถช่วยลูกค้าให้รับรู้ถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มผลประโยชน์ทางการเงินและประสิทธิภาพในการผลิตได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมรายอื่นๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาบรรดาลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ลูกค้าไอเอฟเอสโดยเฉลี่ยจะมีช่วงเวลาของการหักลบกลบหนี้จากการลงทุน (Amortization) คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม กล่าวคือใช้เวลาเพียงแค่ 15 เดือนเท่านั้นในการคืนทุน และงานวิจัยอิสระชิ้นนี้ช่วยตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไอเอฟเอสมีฐานที่มั่นในตลาดที่เหนือกว่า
ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยของไอดีซียังช่วยขจัดเรื่องที่มักเข้าใจกันผิดว่า ระบบการบริหารจัดการบริการภาคสนาม (FSM) การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) และการบริหารจัดการสินทรัพย์องค์กร (EAM) จะสร้างได้เฉพาะมูลค่าในรูปแบบของประสิทธิภาพในการดำเนินงานเท่านั้น อาทิ การประหยัดเวลา การใช้งานทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการลดความผิดพลาด ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีข้อดีอีกหลายประการจากข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่า ผลการดำเนินงานของทีมขายดีขึ้น สามารถยื่นประมูลหรือเสนอราคาให้กับองค์กรธุรกิจได้มากขึ้น ปรับปรุงดัชนีชี้วัดความภักดีของลูกค้า (NPS) ได้ดีขึ้น บรรลุข้อตกลงได้มากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าไว้ได้นานยิ่งกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนช่วยเพิ่มรายได้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรอย่างเห็นได้ชัด
"ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับอุปสรรคหลายอย่าง ทั้งจากบรรดาคู่แข่ง ลูกค้า และวิสัยทัศน์ที่บังคับให้ต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น พวกเขากำลังมองหาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นดิจิทัล เพื่อรับมือกับความท้าทายในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมของตัวเอง และที่สำคัญกว่านั้นคือช่วยขยายธุรกิจเพื่อสร้างช่องทางรายได้ใหม่ๆ ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานทั่วทั้งองค์กร" นายแมท กล่าว
*รายงานของไอดีซีเรื่อง The Business Value of IFS Enterprise Application Solutions with Industry-Specific Use Cases ( มูลค่าทางธุรกิจของโซลูชัน IFS Enterprise Application พร้อมกรณีศึกษาการ ใช้งานเฉพาะอุตสาหกรรม) ณ เดือนสิงหาคม 2019 ได้รับการสนับสนุนการดำเนินการวิจัยจาก บริษัท ไอเอฟเอส