มข.ปลูกจิตสำนึกนักศึกษา สร้างอาคารลด PM 2.5

พุธ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๔๕
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการประกวดออกแบบแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนรุกขชาติและบริเวณข้างเคียง สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และโครงการออกแบบพัฒนาพื้นที่รอบอาคารศูนย์อาหารและบริการ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้แก่คนรุ่นใหม่ตามแนวคิด อาคารเขียว (Green building) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ชั่วลูกหลาน โดยจัดแสดงผลงานนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกว่า 50 คน ณ อาคารสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา

ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ เผยว่า นักศึกษาชั้นปี 4 -5 ได้เรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเต็มที่แล้ว พร้อมเผชิญโลกความจริง โดยกิจกรรมนี้เป็นความประสงค์ของสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีนโยบายจะปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้นักศึกษามีพื้นที่กิจกรรมได้แก่ อาคารศูนย์อาหารและบริการ องค์การนักศึกษา และสวนรุกขชาติ เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด งานมหาวิทยาลัยชิ้นนี้ จึงเปรียบเสมือนเวทีฝึกงานจริงของนักศึกษา พบลูกค้าจริง พบปัญหาและการทำงานจริง ซึ่งอยู่ภายใต้วิชาการ การออกแบบ โดยรวมทุกศาสตร์สาขาวิชามาประยุกต์ใช้ อาทิ วิศวกรรม สถาปัตย์ ภูมิทัศน์ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

"การออกแบบสถาปัตยกรรม ต้องเน้นเรื่องพื้นที่สีเขียว ประหยัดพลังงานเป็นหลัก เพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้นักศึกษาเมื่อเขาจบไปจะช่วยสร้างสังคมที่ดี โดยเฉพาะฝุ่น PM เป็นเรื่องระดับเมือง ระดับชาติ ตัวอาคารสามารถออกแบบตามหลักกการช่วยบรรเทาได้ประมาณหนึ่ง เช่น พืชสีเขียวช่วยซับฝุ่น พื้นที่คอนกรีตน้อยลดฝุ่นได้ การมองทิศทางลมต้องโกรกตลอดวัน ฝุ่นไม่ขัง สิ่งสำคัญคือนอกจากวงการสถาปัตยกรรมแล้ว ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันจะช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน" ผศ.ดร.ชำนาญ กล่าว

นายอาณัช ธรรมธร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้ได้ใช้ความรู้ทุกรายวิชามาประยุกต์จริง ในพื้นที่จริงและพบความต้องการของลูกค้าจริง โดยเฉพาะสิ่งที่อาจารย์ได้ปลูกฝังการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเป็นอันดับแรก ต่อมาประหยัด ประโยชน์ใช้สอย และความสวยงาม เช่น ฝุ่น PM 2.5 สามารถแก้ไขโดยทำให้อากาศไม่ขัง ลมโกรกภายในอาคาร รอบบริเวณอาคารควรมีไม้เลื้อยซับฝุ่นก่อน ลดพื้นที่คอนกรีตให้น้อยลงเพิ่มพื้นที่สีเขียว จะสามารถลดฝุ่นได้ประมาณหนึ่ง

"ความท้าทายใหม่กับสถาปนิกยุคใหม่ อาจารย์พยายามสอนคือ การเป็น Green building ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องของทุกคนที่อยู่บนโลก ต้องออกแบบอาคารลดใช้พลังงาน เช่นแอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างอื่น เอามาบูรณาการลดใช้พลังงาน อาคารจอดรถไม่จำเป็นต้องใช้แอร์ สิ่งที่เข้ามาในอาคารคือแดด ฉะนั้นเราแทรกแนวพืชพันธุ์เลื้อยไปตามตัวอาคาร เพื่อให้มองเห็นสีเขียวแทรกในตัวอาคาร ซับพอต สร้างความเย็นให้อาคาร ให้รับแสงแต่ไม่รับความร้อนได้ มั่นใจว่าหากเมื่อลงไปปฏิบัติงานจริงจะนำความรู้ตรงนี้ไปใช้ในการรักษโลกแน่นอน" นายอาณัช กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version