แบนสารพิษ 3 วัตถุอันตราย...ยังไม่จบต้องลุ้นต่อ!!!

พุธ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๔๑
กรณีความคืบหน้าเกี่ยวกับการแบนวัตถุอันตรายร้ายแรงทั้ง 3 ชนิด คือ ไกลโฟเซต พาราควอต และคลอไพรีควอท เป็นที่แน่ชัดว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ของคุณอนุทิน ชาญวีรกุล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของคุณวราวุฒิ ศิลปอาชา รวมถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน ต่างก็ไม่เอาด้วยกับสารพิษเหล่านี้ ล่าสุด...มีการเชิญองค์กรทั้ง 4 ฝ่ายมาพูดคุย ได้แก่ ภาครัฐ ผู้นำเข้า ผู้บริโภค และเกษตรกร ได้มติออกมา 9 ต่อ 0 เสียง ให้ยกเลิกการใช้หรือกำหนดสารพิษเหล่านี้ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในระดับหนึ่ง…

ความกังวลจากผลงานกรมวิชาการเกษตรและการรักษาผลประโยชน์ของทุนสารพิษ ที่มีการเล่นแร่แปรธาตุในอดีตก็อดห่วงไม่ได้ว่า จะสำเร็จลุล่วงตลอดรอดฝั่งได้หรือไม่ คงต้องรอให้ คุณมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ผลักดันต่อเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาเห็นชอบด้วยอีกทีหนึ่ง จึงจะสบายใจได้ ซึ่งต้องอย่าลืมว่า...ในท้ายที่สุดแล้ว จะต้องผ่านกระบวนการด่านอรหันต์ทองคำจากคณะกรรมการทั้ง 27 คน (ที่แต่เดิม มี 29 คน) โดยกรรมการทั้ง 27 คนนี้ มาจากหน่วยงานสาธารณสุขเพียง 2 คน ที่ยกมือไม่เห็นด้วย แต่แพ้โหวตตลอดมา เนื่องด้วยหน่วยงานอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่มีข้อมูลและมีประสบการณ์โดยตรง ในอดีตก็ได้แต่รับฟังและเห็นพ้องไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรรมการจากกลุ่มทุนขายสารพิษเท่านั้น

"เรื่องนี้จึงต้องขยายเพื่อให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนทราบว่า สารพิษร้ายแรงเหล่านี้ ประเทศผู้ผลิตเอง ทั้งอังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ ยังห้ามจำหน่ายในประเทศตนเอง"

ตลอด 20 กว่าปีที่ต่อสู้เรื่องเหล่านี้มา ทำให้เข้าใจดีว่า สารพิษร้ายแรงเหล่านี้ มีการนำเข้ามาปีละเกือบ 100,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท นำไปใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา ถูกอาบชโลมห่มดิน ฝนตกชะล้างลงมาสู่เขื่อน ห้วย หนอง คลอง บึง ต่อมาก็ถูกหน่วยงานเทศบาลนำมาผลิตเป็นน้ำประปาให้เราได้ดื่มได้ใช้กัน และมีการค้นพบว่า มารดาที่ดื่มน้ำประปานั้นสามารถนำสารพิษนั้นไปสู่ทารกในครรภ์ด้วย เรื่องนี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่เราควรต้อง "หยุด" และ "เลิก" ได้แล้ว จึงอยากฝากให้สื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยติดตามให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้ได้โดยเร็ว

ส่วนตัวคิดว่า ก่อนที่จะผลักดัน พรบ.เกษตรอินทรีย์ 3 ล้านไร่ ไปสู่ 5 ล้านไร่ และในปัจจุบันที่กำลังทำกันอยู่เกือบ 1 ล้านไร่นั้น (570,000 ไร่) ควรหันมาให้ความสำคัญกับต้นเหตุเสียก่อน... นั่นก็คือ พรบ.วัตถุอันตราย ในส่วนของพรรคการเมืองและ ส.ส. ซึ่งทำหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติแก้ไขกฎหมาย อยากจะเสนอให้มีการแก้ไข พรบ.วัตถุอันตราย โดยให้มีคณะกรรมการที่หลากหลาย มากจากหลายหน่วยงานเพื่อช่วยกันตรวจสอบ โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริง ๆ และมีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมตัดสินใจ มิใช่ปล่อยให้มีเพียงแต่ตัวแทนจากนายทุนสารพิษเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาเรื่องสารพิษทั้ง 3 ชนิดนี้ จะได้ถูกแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเสียที แต่อย่างไรก็ตามเรื่องแบนสารพิษ 3 วัตถุอันตราย...ยังไม่จบแถมมีให้ต้องลุ้นต่อ!!!

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ