เร่งพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดิน หวังแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้งในชุมชนอย่างเป็นระบบ

พฤหัส ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๑๐
สทนช. มอบกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดทำหลักเกณฑ์มาตรฐานธนาคารน้ำใต้ดิน เร่งพัฒนาน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ บริหารจัดการน้ำหลาก กักเก็บน้ำต้นทุนใช้หน้าแล้ง ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภคให้กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบ หวังกระจายครอบคลุมทุกท้องถิ่น สอดรับกับแผนแม่บทน้ำฯ 20 ปี

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ถึงแนวทางการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาน้ำบาดาล ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ว่า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเป็นนโยบายที่รัฐบาลประกาศชัดเจนว่าต้องให้ทุกชุมชนทุกหมู่บ้านเข้าถึง ซึ่งสถานการณ์น้ำต้นทุนในแหล่งน้ำผิวดินปัจจุบัน พบว่า หลายพื้นที่ไม่สามารถจัดหาน้ำผิวดินได้ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่บ้านห่างไกลการเข้าถึงแหล่งน้ำ ดังนั้น น้ำบาดาลถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภค การสร้างความมั่นคงทางการผลิตทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้น้ำบาดาลรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝน โดยให้น้ำซึมลงสู่ด้านล่างโดยอาศัยเทคนิคทางวิชาการที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่น โดยได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจัดทำมาตรฐานการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินที่ชัดเจน ทั้งจุดรับน้ำเข้ารวมถึงจุดเชื่อมต่อ

สำหรับเงื่อนไขในการพิจารณาก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินแยกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1.มีความชัดเจนในเชิงพื้นที่โดยมีการศึกษาความพร้อมตามหลักทางธรณีวิทยาแล้วว่าพัฒนาได้ โดยเบื้องต้นมี 3 พื้นที่ที่มีความพร้อม ได้แก่ บริเวณพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 500 แห่ง และพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง รวมจำนวน 30 แห่ง 2.พื้นที่อาจจะมีความพร้อมแต่ยังต้องศึกษาให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นตามหลักวิชาการ และ 3.มีข้อมูลผลการศึกษาชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดินได้ ก็ต้องมีการเผยแพร่ให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน

"การพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดิน แม้ว่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านมลพิษและคุณภาพน้ำ เนื่องจากบางพื้นที่สามารถจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินได้ แต่เพื่อช่วยชะลอหรือรองรับน้ำหลากเพียงอย่างเดียว แต่ไม่สามารถนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะต้องกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจน โดยร่างหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน และทำเป็นแผนหลักการพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดินทั้งประเทศ และต้องนำผลศึกษาวิจัย รวมทั้งนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสำรวจความเหมาะสมของชั้นดิน และจัดหมวดหมู่การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินตามหลักวิชาการให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทน้ำฯ 20 ปี โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในอนาคตด้วย" ดร.สมเกียรติ กล่าว

สำหรับแผนงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) (Master Plan) ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา/ขยายเขตระบบประปา/เพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน จำนวน 614 หมู่บ้าน และการพัฒนาน้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียน จำนวน 4,015 แห่ง ปริมาณน้ำ 88 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 366,700 ครัวเรือน ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีเป้าหมายในการจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน จำนวน 31,222 แห่ง ปริมาณน้ำ 858 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับประโยชน์ 1,555,790 ไร่ และการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/ระบบส่งน้ำใหม่ จำนวน 236 แห่ง ปริมาณน้ำ 196 ล้าน ลบ.ม. และด้านที่ 6 การบริหารจัดการ โดยมีแผนงานในการปรับปรุงกฎหมายทรัพยากรน้ำบาดาล การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติทรัพยากรน้ำบาดาล 20 ปี การติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลในองค์กรรวม การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจและระบบสนับสนุนการวางแผนการพัฒนาการใช้ประโยชน์ การศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำบาดาล รวมทั้งการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การรับรู้และประชาสัมพันธ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลให้กับประชาชน โดยในปี 61-62 มีผลดำเนินงานตามแผนแม่บทน้ำฯ ดังนี้ ด้านที่ 1 การจัดการน้ำ อุปโภคบริโภค สามารถพัฒนา ขยายเขต และเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 44 แห่ง และการพัฒนาน้ำดื่มสะอาดให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม จำนวน 1,004 แห่ง และด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต สามารถจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน ปริมาณน้ำ 72.44 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 102,130 ไร่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว