จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของฝ่ายรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.82 ระบุว่า รัฐบาลทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ รองลงมา ร้อยละ 28.18 ระบุว่า รัฐบาลขยันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ร้อยละ 23.41 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่แสดงบทบาททางการเมืองแบบเดิม ๆ เช่น ด่ากันไปมา และชอบอ้างประชาชน ร้อยละ 9.32 ระบุว่า รัฐบาลทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง ร้อยละ 8.52 ระบุว่า รัฐบาลชอบใช้อำนาจรัฐในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ร้อยละ 6.85 ระบุว่า รัฐบาลใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน ร้อยละ 5.97 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่แสดงบทบาทใหม่ทางการเมือง ทำงานอย่างมืออาชีพ ร้อยละ 4.78 ระบุว่า รัฐบาลทำงานอย่างรอบครอบ ร้อยละ 3.11 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 0.16 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ยังไม่เห็นผลงานหรือการทำงานที่เด่นชัด จึงต้องให้เวลาอีกระยะนึงเพื่อจะได้เห็นการทำงานที่ชัดเจนกว่านี้
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำงานของฝ่ายค้าน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.50 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้านส่วนใหญ่แสดงบทบาททางการเมืองแบบเดิม ๆ เช่น ด่ากันไปมา และชอบอ้างประชาชน รองลงมา ร้อยละ 23.73 ระบุว่า ฝ่ายค้านขยันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ฝ่ายค้านทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ค้านทุกเรื่องโดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม ร้อยละ 15.68 ระบุว่า ฝ่ายค้านทำงานอย่างรอบครอบ ในการตรวจสอบรัฐบาล ร้อยละ 13.06 ระบุว่า ฝ่ายค้านสนใจแต่จะแก้รัฐธรรมนูญ ขาดการใส่ใจในปัญหาของประชาชน ร้อยละ 10.35 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายค้านส่วนใหญ่แสดงบทบาทใหม่ทางการเมือง ทำงานอย่างมืออาชีพ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า ฝ่ายค้านใส่ใจในปัญหาของประชาชนอยู่เสมอ ร้อยละ 6.21 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 3.42 ระบุว่า ฝ่ายค้านทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง และร้อยละ 0.48 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ยังไม่เห็นผลงานหรือการทำงานที่เด่นชัด จึงต้องให้เวลาอีกระยะนึงเพื่อจะได้เห็นการทำงานที่ชัดเจนกว่านี้
ท้ายที่สุด เมื่อถามความคิดเห็นต่อการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.38 ระบุว่า ฝ่ายค้านทำหน้าที่ได้ดีกว่าฝ่ายรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 25.56 ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านทำหน้าที่ได้ดีพอ ๆ กัน ร้อยละ 25.08 ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านทำหน้าที่ได้แย่พอ ๆ กัน ร้อยละ 17.83 ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลทำหน้าที่ได้ดีกว่าฝ่ายค้าน และร้อยละ 2.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.52 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.03 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.31 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.46 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.00 เป็นเพศชายและเพศหญิง ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ตัวอย่างร้อยละ 6.21 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.52 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.14 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.24 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.89 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.51 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.66 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.11 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.98 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.68 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.46 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 31.29 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.64 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.25 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.93 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.78 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 9.87 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.54 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.68 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.51 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.47 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 19.67 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.19 ไม่ระบุรายได้