Super Poll เทียบ คนไทย คนมาเลเซีย ต่อประโยชน์ที่ได้รับจากงบประมาณประจำปี

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๓๒
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สะท้อนเสียงคนไทย คนมาเลเซีย คิดอย่างไรต่อการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ร่วมกับสำนักวิจัย UCSI POLL มหาวิทยาลัย UCSI ประเทศมาเลเซีย (www.ucsipoll.org) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สะท้อนเสียงคนไทย คนมาเลเซีย คิดอย่างไรต่อการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล จำนวนทั้งสิ้น 1,654 ตัวอย่าง เป็นคนไทย 1,105 ตัวอย่าง และคนมาเลเซีย 549 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระหว่าง 25 กันยายน ถึง 12 ตุลาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา พบว่า

คนไทยที่ระบุการใช้จ่ายงบประมาณปีที่ผ่านมาของรัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือประชาชน น้อยกว่า คนมาเลเซียในทุกหมวดของการใช้จ่ายงบประมาณปีที่ผ่านโดยพบว่า การดูแลสุขภาพ คนไทยร้อยละ 44.1 คนมาเลเซียร้อยละ 85.1 ด้านการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า คนไทยร้อยละ 42.5 คนมาเลเซียร้อยละ 80.9 ด้านคมนาคม คนไทยร้อยละ 34.5 คนมาเลเซียร้อยละ 71.4 ด้านการสร้างงาน คนไทยร้อยละ 34.5 คนมาเลเซียร้อยละ 69.0 ด้านความปลอดภัยในที่สาธารณะ คนไทยร้อยละ 35.4 คนมาเลเซียร้อยละ 63.8 ด้านธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คนไทยร้อยละ 27.4 คนมาเลเซียร้อยละ 62.1

นอกจากนี้ ด้านไฮ เทคโนโลยีสื่อสาร คนไทยร้อยละ 37.9 คนมาเลเซียร้อยละ 59.7 ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล คนไทยร้อยละ 18.9 คนมาเลเซียร้อยละ 51.0 ด้านความสะดวกทำธุรกรรม การเงินการธนาคาร คนไทยร้อยละ 36.5 คนมาเลเซียร้อยละ 50.6 ด้านความสามารถแข่งขันระดับโลก คนไทยร้อยละ 26.7 คนมาเลเซียร้อยละ 42.1 ด้านการหาทางเพิ่มรายได้เข้ารัฐ คนไทยร้อยละ 18.3 คนมาเลเซียร้อยละ 41.9 และด้านนิคมอุตสาหกรรม คนไทยร้อยละ 28.3 คนมาเลเซียร้อยละ 40.6 ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงฐานะการเงินในอีก 12 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 48.5 คิดว่าจะเหมือนเดิม เพียงร้อยละ 18.0 คิดว่าจะดีขึ้น และร้อยละ 33.5 คิดว่าจะแย่ลง

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ประเทศมาเลเซียเพิ่งจะผ่านงบประมาณสำหรับปีหน้าไปได้อย่างเรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา น่าเป็นห่วงก็คือประเทศไทยของเรา โดยมีผลสำรวจคนมาเลเซียถามประชาชนมาก่อนว่าประชาชนคนมาเลเซียเห็นว่าการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลในปีก่อนหน้านี้อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ช่วยเหลือประชาชนและเมื่อมาถามคนไทยบ้างกลับพบว่าคนไทยมีสัดส่วนน้อยกว่าคนมาเลเซียในทุกหมวดของการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับประโยชน์ช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม คนทั้งสองประเทศเห็นตรงกันมากที่สุดคือ การดูแลสุขภาพ และการศึกษา เป็นประโยชน์ที่ได้รับสูงที่สุด

"รัฐบาลไทยน่าจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ตามอันดับไม่แตกต่างจากคนมาเลเซีย คือ สุขภาพและการศึกษามาอันดับต้น ๆ รองลงมาคือ การคมนาคม การสร้างงาน และการประกอบธุรกิจขนาดกลางและเล็ก นอกจากนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของมาเลเซียที่น่าสนใจคือ รัฐบาลเข้าช่วยให้ประชาชนที่เช่าที่พักอาศัยกลายเป็นเจ้าของได้สำหรับบ้านหลังแรก ที่เรียกว่า Rent to Own (RTO) และผลโพลนี้ยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยกลับได้รับประโยชน์จากธุรกิจขนาดกลางและเล็กอันดับท้าย ๆ ตรงกันข้ามกับคนมาเลเซียที่ได้รับประโยชน์มากกว่า ยิ่งการหารายได้เข้ารัฐ คนมาเลเซียจำนวนมากได้ประโยชน์แต่คนไทยมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น จึงน่าจะเป็นโจทย์และเป้าหมายใหม่ (New Goal) ของรัฐบาลไทย" ผศ.ดร.นพดล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ