ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ Vice President - CTO - Innovation and Technology ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า "ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ (R&D to Commercialization) ภายใต้การทำงานแบบ Open Collaboration ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เราสามารถผลักดันสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA: High Value Added Products and Services) เพื่อตอบโจทย์ตลาดทั้งในและต่างประเทศ บนฐานงานวิจัยขั้นสูง ผ่านกระบวนการวิจัยพัฒนา และมีรูปแบบการบริหารจัดการโครงการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development) เช่น SCG(TM) HDPE H112PC เม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนคอมพาวนด์สีดำ คิดค้นและผลิตด้วยเทคโนโลยีของเอสซีจีที่ได้รับการจดสิทธิบัตร มีคุณสมบัติที่เหนือกว่ามาตรฐานท่อ PE100 ทั่วไป และ SMX(TM) Technology เทคโนโลยีการผลิตพอลิเมอร์ที่เอสซีจีคิดค้นขึ้นเพื่อผลิตเม็ดพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเกรดพิเศษที่มีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกให้บางลงแต่ยังคงความแข็งแรง นำไปผลิตได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ และเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น
โดยในปี 2561 ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี จดสิทธิบัตรรวม 180 สิทธิบัตร ซึ่งเป็นสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 2,480 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53 ของงบวิจัยและพัฒนาทั้งหมดของเอสซีจี และคิดเป็นร้อยละ 1.1 ของรายได้จากการขายของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
นอกจากนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมุ่งให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น ซึ่งรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านสังคม ประเภทหน่วยงานจากภาคเอกชน ที่ได้รับในครั้งนี้ มาจากผลงาน "ต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย" หรือ ไซโคลนิก (Zyclonic(TM)) โดยร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาโซลูชันด้านระบบสุขาภิบาลโลก ช่วยยกระดับสุขอนามัยที่ยั่งยืนเพื่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่ห่างไกล และในพื้นที่สาธารณะที่ประสบปัญหาด้านสุขอนามัยจากการขาดแคลนห้องน้ำและระบบบำบัดที่เหมาะสม โดยมีจุดเด่นที่ระบบบำบัดกากของเสียที่สามารถฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียแบบครบวงจร แยกน้ำและกากของเสียออกจากกันได้ร้อยละ 100 โดยไม่ปล่อยของเสียออกสู่ระบบระบายน้ำและแม่น้ำลำคลอง จึงช่วยลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อ สามารถหมุนเวียนน้ำที่ใช้ในระบบกลับมาใช้ได้อีก และยังนำกากของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในลักษณะสารปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรได้"
"สำหรับต้นแบบระบบสุขาปลอดเชื้อแห่งแรกในไทย หรือ ไซโคลนิก (Zyclonic(TM)) นี้ เอสซีจียังร่วมมือกับองค์กรระดับโลกในอุตสาหกรรมสุขาภิบาล เพื่อนำสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะไปสู่ประชากรโลกอีกราวร้อยละ 40 (2.5 พันล้านคน) ที่ยังขาดแคลนระบบสุขาภิบาลที่สะอาดปลอดภัย" ดร.สุรชา กล่าวทิ้งท้าย
ผู้สนใจสามารถติดตามเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ที่ http://www.scgchemicals.com/allaroundplastics และสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของเอสซีจีได้ที่ http://scgnewschannel.com / Facebook: scgnewschannel / Twitter: @scgnewschannel หรือ Line@: @scgnewschannel