สัญญาณปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในกระทบเศรษฐกิจ สถานการณ์สงครามการค้าดีขึ้นระยะสั้น

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๘
ปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสงครามการค้าจีนสหรัฐฯปรับตัวในทิศทางดีขึ้น การเจรจามีความคืบหน้าเลื่อนการขึ้นกำแพงภาษีออกไปก่อน แต่การยุติลงของการกีดกันทางการค้าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันและยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลลบต่อระบบการค้าโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป คาดธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ปลายเดือนตุลาคม กดดันให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ได้

หวั่นปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในเพิ่มขึ้นกระทบความเชื่อมั่นของภาคการลงทุนและภาคการบริโภค การสร้างวาทกรรมเกลียดชังและแบ่งแยกคนไทยกระทบต่อบรรยากาศการเจรจาหารือถกแถลงเพื่อสร้างประชาธิปไตยผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปประเทศให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

15.00 น. 13 ต.ค. 2562 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประเมินว่า ปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสงครามการค้าจีนสหรัฐฯล่าสุดปรับตัวในทิศทางดีขึ้นบ้าง การเจรจามีความคืบหน้าเลื่อนการขึ้นกำแพงภาษีออกไปก่อน แต่การยุติลงของการกีดกันทางการค้าจะไม่เกิดขึ้นในเร็ววันและยังมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลลบต่อระบบการค้าโลกและการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป สหรัฐมีกำหนดเพิ่มการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 30% ในวันที่ 15 ต.ค. จากเดิมที่ระดับ 25% และมีกำหนดเก็บภาษี 15% ต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 1.6 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 15 ธ.ค. โดยมีการเลื่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม สงครามทางการค้าและประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าไฮเทค รวมทั้ง การขัดแย้งกรณีฮ่องกงจะยังคงยืดเยื้อและสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกต่อไป

สหรัฐอเมริกายังอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบจีนในการเจรจาทางการค้า เพราะจีนต้องพึ่งพิงสหรัฐฯมากกว่าสหรัฐฯพึ่งพิงจีนในทางการค้ามีผลวิจัยบ่งชี้ว่าหากสงครามทางการค้ายืดเยื้อต่อไป สหรัฐฯจะเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5-10% ของจีดีพี แต่จีนจะเสียหายมากถึง 25-30% ของจีดีพี และ เงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆยังถือในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯมากกว่า 65-70% และยังคาดการณ์ว่า ดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงเป็นเงินสกุลหลักของระบบการเงินโลกไปอีกนาน ขณะที่เงินหยวนเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงแค่ 1-3% เท่านั้น ส่วนจีนมีข้อได้เปรียบ คือ มีฐานะทางการคลังที่ดีกว่าสหรัฐฯมากและสามารถนำมาตรการทางการคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่หากได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสงครามทางการค้า และจีนมียุทธศาสตร์ชัดเจนในการขยายบทบาทในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าประเทศโดยเฉพาะผ่านนโยบาย one belt one roadและมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการเป็นผู้นำในเทคโนโลยีแห่งอนาคต มีแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 2025 และแผนAI2030 การที่สหรัฐฯขึ้นบัญชีดำบริษัทไฮเทคของจีนโดยกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มน้อย หรือ NBA ถูกบอยคอยจากจีนเป็นผลจากการให้สัมภาษณ์สนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกง ล้วนเห็นแนวโน้มอย่างชัดเจนว่าได้มีการนำเอาประเด็นสิทธิมนุษยชนและประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวพันกับการตอบโต้กันทางเศรษฐกิจมากขึ้น นโยบายกำกับการใช้ Big Data กลุ่มชาติตะวันตกจะมีฐานคิดเรื่องการคุ้มครองเจ้าของ Data คือประชาชนมากกว่าจีน กลุ่มประเทศในยุโรปได้ออกกฎหมาย General Data Protection Regulation ขณะที่หลายคนวิตกกังวลว่า ในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยม รัฐบาลอาจร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการกำกับควบคุมเสรีภาพของประชาชน การที่รัฐบาลร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลก็อาจจะมีประโยชน์มากในการนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่างๆโดยต้องอยู่บนหลักการเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ อย่างเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Facial Recognition) สามารถตรวจจับคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว

ในเรื่องทิศทางดอกเบี้ยโลกนั้น คาดธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ปลายเดือนตุลาคม กดดันให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกได้ ธุรกิจส่งออกจึงต้องทำประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน ขณะเดียวกันการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มขึ้นอีกเป็นโอกาสของการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการลงทุน

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงภายนอกจากเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

ส่วน ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองในประเทศเราสามารถควบคุมได้หากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามกฎหมาย ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรม เคารพหลักการประชาธิปไตย ยึดความปรองดองสมานฉันท์ ไม่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรู มองความหลากหลายทางความคิดเป็นเรื่องปรกติ เสรีภาพทางวิชาการและสื่อมวลชนที่มีการใช้อย่างรับผิดชอบจะทำให้เกิดภูมิปัญญาในการหาทางออกให้ประเทศ ควรเปิดกว้างให้สังคมสามารถถกเถียงกันได้ด้วยเหตุผลในทุกเรื่อง

ดร. อนุสรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "หวั่นปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองภายในเพิ่มขึ้น หวั่นการสร้างสถานการณ์ สร้างวิกฤติเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ สภาวะดังกล่าวจะกระทบความเชื่อมั่นของภาคการลงทุนและภาคการบริโภค และอาจนำประเทศไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ การสร้างวาทกรรมเกลียดชังและแบ่งแยกคนไทยกระทบต่อบรรยากาศการเจรจาหารือถกแถลงเพื่อสร้างประชาธิปไตยผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันสร้างความปรองดองสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปประเทศให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น และ จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ