"รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องตัดเต้านม" ผศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยแพทย์ด้านมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า

ศุกร์ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๔๐
มะเร็งเต้านมยังคงเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก และน่าทุกข์ใจแค่ไหน ถ้าหากเราต้องเสียหน้าอกไปให้กับมะเร็ง ทำไมเราจะต้องรอให้ตัวเองเป็นเสียก่อนแล้วจึงค่อยรักษา ทั้งๆ ที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองหามะเร็งให้พบตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีให้มีโอกาสหายและรอดชีวิตสูง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้คลำพบก้อน หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ทำให้พบหินปูนหรือก้อนขนาดเล็กที่คลำไม่เจอ ซึ่งจะทำให้ตรวจเจอพบมะเร็งในระยะแรกได้ และในเดือนตุลาคมทั่วโลกร่วมใจกันรณรงค์ป้องกันภัยร้ายจากมะเร็งเต้านม

ผศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยแพทย์ด้านมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ความสำคัญเพราะมะเร็งเต้านมในระยะแรกไม่มีอาการ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยจะทำให้สามารถพบความผิดปกติในระยะแรกได้ การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมเป็นเทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูง สามารถเห็นจุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขนาดเล็ก ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติของเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม ซึ่งสามารถบอกความแตกต่างขององค์ประกอบเนื้อเยื่อได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อเต้านมปกติ เป็นถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ หากพบว่าเป็นก้อนเนื้อ อัลตร้าซาวด์จะช่วยบอกว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ และช่วยเพิ่มความสามารในการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมในผู้ป่วยที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่นได้ แต่อย่างไรก็ตามอัลตร้าซาวด์จะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้

ดังนั้นการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมควบคู่กันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก นำไปสู่การวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไปนอกจากนี้ หากมีการตรวจพบในระยะแรก สามารถเก็บเต้านมไว้ได้ ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมดทุกราย โดยใช้วิธีทางศัลยกรรมตกแต่งเข้ามาช่วยในการตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก โดยออกแบบบาดแผล และกะเกณฑ์ปริมาณเนื้อเยื่อเต้านมบริเวณที่จะผ่าตัดออก เพื่อป้องกันไม่ให้เต้านมเกิดการเสียรูปทรง หรือบิดเบี้ยวหลังผ่าตัด

หรือในบางรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกหมดก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันทีด้วยการใช้เต้านมเทียม หรือการใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง โดยเนื้อเยื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลแทรกซ้อนน้อย การรักษานี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่เหมือนเต้านมจริงทั้งด้านรูปร่างและลักษณะ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ภายหลังตัดเต้านมออกทั้งเต้าสามารถทำในคราวเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 4-6 ชม. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ