ต้นเดือนหน้ามาแน่! ฝุ่นกระทบกทมฯและปริมณฑลทางตะวันออก ขณะโรคหืดแนวโน้มยังพุ่งเสียชีวิตทะลุสองพัน

ศุกร์ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๐๙
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่โรงแรมสุโกศล พญาไท กรุงเทพฯ สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (Thai Asthma Council, TAC) ได้จัดแถลงข่าวงานประชุมวิชาการประจำปี 2562 และมีเวทีเสวนาในหัวข้อ "โรคหืด ว่าด้วยมิติใหม่การรักษาและรับมือฝุ่นพิษปลายปี"

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันโรคหืดข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดเสียชีวิต 2,200 ราย และมีแนวโน้มรุนแรงทุกปี การจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ เน้นเรื่องการทำแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่อาการรุนแรงให้ง่ายขึ้น และเรื่องของการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในการตรวจวินิจฉัยโรค เพราะซับซ้อน หรืออาการคล้ายกับโรคอื่น วินิจฉัยล่าช้าจนอาการรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะโรคหอบหืดซ่อนเร้น ที่มาด้วยอาการไอเรื้อรัง หรือ "โรคพบร่วม"

พร้อมแนะวิธีการดูแลรักษาคนไข้โรคหืด ต้องดูแลแบบองค์รวม ทั้งการรักษาใช้ยาและไม่ใช้ยา ปัจจุบันจึงประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4Es ที่คิดค้นขึ้นมาคือการให้คนไข้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Eating) อีกส่วนสำคัญคือ สิ่งแวดล้อม (Environment) เลี่ยงสิ่งกระตุ้นและที่สำคัญที่สุดคือ อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ซึ่งความเครียดจะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลได้ทาง Facebook Fanpage "Asthma Talk by Dr.Ann" จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ การดูแลโรคหืดและโรคร่วมอื่นๆที่ส่งผลให้โรคหืดแย่ลง

ด้าน ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงการที่ไทยเข้าสู่ฤดูหนาว ปกติสภาพอากาศหนาว จะมีความกดอากาศสูง ทำให้ภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีโอกาสที่จะมีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่คาดว่าจะมีการเผาจากฝั่งประเทศกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉพาะฝั่งตะวันออก ซึ่งเกิดประจำทุกปี ทั้งนี้ต้องประเมินทิศทางลม และสภาพอากาศร่วมด้วย ผลกระทบของพีเอ็ม 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรง ทำให้การเจ็บป่วยขั้นรุนแรงสูงขึ้นด้วย และหากมองถึงส่วนผลกระทบระยะยาวมากกว่านี้ 10 เท่า ประชาชนจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งเดิมย้อนหลังกลับไป ปัญหาหมอกควันจะเกิดขึ้น 1 – 2 เดือน แต่ปัจจุบันเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 – 5 เดือน ฉะนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหา ด้าน ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ อาจารย์สาขาวิชาเวชเภสัชวิทยาและพิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาลัยมหิดล กล่าวว่า กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการบางโรคได้ แต่ในโรคหืด เนื่องจากกัญชามีปริมาณสารแตกต่างกัน จึงต้องมีแพทย์ควบคุมให้ผู้ป่วยใช้อย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัย จากข้อมูลพื้นฐานของกัญชา ซึ่งมีสารเป็นร้อยชนิด แต่ที่นิยมใช้เยอะที่สุดได้แก่ กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ และนิยมใช้ทางการแพทย์ 2 ชนิด คือ THC และ CBD ควรแยกมองถึงสรรพคุณ การนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าเหมารวมคำว่า "กัญชา"-.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้